การมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษา วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 105 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
ญาณาภรณ์ ธารีเทียน การมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษา วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91995
Title
การมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษา วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
Alternative Title(s)
Participation of Mahidol University students in solid waste management : a case study of Salaya campus, Nakhon Pathom province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษาวิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรี จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ multiple regression ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.5 มีอายุระหว่าง 19 ปี ร้อยละ 63.3 มีภูมิลาเนา อยู่ในจังหวัดอื่น ๆ (นนทบุรี นครปฐม ชลบุรี สมุทรปราการ และนครราชสีมา ฯลฯ) ร้อยละ 64.2 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.8 และคณะที่กำลังศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศกรรมศาสตร์ ร้อยละ 45.3 ตามลำดับ ปัจจัยความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.3 ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.6 จากการศึกษาปัจจัยความรู้และความเข้าใจฯ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ควรทำการสำรวจพื้นที่ว่ามีจุดใดบ้างที่นักศึกษามักทิ้งขยะเกลื่อนกลาด เพื่อเพิ่มจำนวนภาชนะรองรับขยะมูลฝอย ภาชนะรองรับขยะควรเป็นแบบแยกประเภทขยะมูลฝอย ทั้งภายในอาคารเรียน และตามจุดต่างๆ จากผลการศึกษาระดับความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย การแปรสภาพขยะด้วยการย่อยสลายทางชีวภาพควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอย ควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์, ให้ข้อมูลข่าวสารในการจัดการขยะมูลฝอย และจัดทำโปสเตอร์ที่เป็นอินโฟกราฟฟิคในการแนะนำวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่เข้าใจง่าย เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
This research aimed to study the participation of Mahidol University students in solid waste management. Factors influencing students' participation in solid ware management were investigated. The problems, barriers, and suggestions towards participation in solid waste management were also explored. Quantitative research method was employed. The target population included 400 bachelor students in Mahidol University. A questionnaire survey was applied as a tool to collect data. The data were analyzed using multiple regression, mean, and standard deviation. Most of the respondents were female (65.5%) and 19 years old (63.3%). 64.2 percent of the respondents were from Nonthaburi, Nakhonpathom, Chonburi, Samutprakarn, and Nakhon Ratchasima Province. Most of the respondents were Buddhist (98.8%) and studying Sciences and Engineering (45.3%). The study results found that the knowledge of respondents regarding solid waste management was moderate (59.3%). The level of participation in solid waste management was moderate (63.6%). The factors significantly related to participation in solid waste management included sex (p-value = 0.05) and knowledge (p-value = 0.01). This research recommended to conduct future study by surveying the areas of solid waste problems in order to place waste containers in those areas. Separate waste containers should be provided in the buildings and over the university. Since the knowledge of solid waste management was moderate, the training on solid waste management and biodegradable transformation process should be offered to the students. The awareness towards solid waste should be raised. The information on solid waste management should be disseminated via info graphic poster. The content in info graphic should be easy to understand in order to enhance effective solid waste management in Mahidol University, Salaya Campus, Nakhonpathom Province.
This research aimed to study the participation of Mahidol University students in solid waste management. Factors influencing students' participation in solid ware management were investigated. The problems, barriers, and suggestions towards participation in solid waste management were also explored. Quantitative research method was employed. The target population included 400 bachelor students in Mahidol University. A questionnaire survey was applied as a tool to collect data. The data were analyzed using multiple regression, mean, and standard deviation. Most of the respondents were female (65.5%) and 19 years old (63.3%). 64.2 percent of the respondents were from Nonthaburi, Nakhonpathom, Chonburi, Samutprakarn, and Nakhon Ratchasima Province. Most of the respondents were Buddhist (98.8%) and studying Sciences and Engineering (45.3%). The study results found that the knowledge of respondents regarding solid waste management was moderate (59.3%). The level of participation in solid waste management was moderate (63.6%). The factors significantly related to participation in solid waste management included sex (p-value = 0.05) and knowledge (p-value = 0.01). This research recommended to conduct future study by surveying the areas of solid waste problems in order to place waste containers in those areas. Separate waste containers should be provided in the buildings and over the university. Since the knowledge of solid waste management was moderate, the training on solid waste management and biodegradable transformation process should be offered to the students. The awareness towards solid waste should be raised. The information on solid waste management should be disseminated via info graphic poster. The content in info graphic should be easy to understand in order to enhance effective solid waste management in Mahidol University, Salaya Campus, Nakhonpathom Province.
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล