การฟื้นฟูภาษากับพรมแดนอัตลักษณ์ชอง

dc.contributor.advisorเทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์
dc.contributor.advisorวีรานันท์ ดำรงสกุล
dc.contributor.authorบานชื่น ผกามาศ
dc.date.accessioned2024-01-15T04:07:43Z
dc.date.available2024-01-15T04:07:43Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionวัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการและการตอบสนองของชุมชนต่อการรักษาอัตลักษณ์ความเป็นชอง และเพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูภาษาและการต่อรองของคนชอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยการสำรวจและเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์อย่าง ไม่เป็นทางการกับผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ชาวชองที่ทำงานฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรม และชาวชองในชุมชน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558- เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า ที่ผ่านกลุ่มชาติพันธุ์ชองได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอกตลอดมา ซึ่งทาให้ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ผ่านเครื่องมือทั้ง 5 คือ 1) การใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดี 2) การใช้ข้อมูลทางมานุษยวิทยา 3) การใช้ข้อมูลทางคติชนวิทยา 4) การใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรม 5) การฟื้นฟูภาษา ทั้งห้าเครื่องมือนี้เป็นความพยายามของรัฐที่จะรักษาอัตลักษณ์และกลุ่มชาติพันธุ์ชองไว้ต่อไปผ่านการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ทางผลงานวิชาการ สำหรับการฟื้นฟูภาษาซึ่งเป็นปฏิบัติการและเครื่องมือล่าสุดนั้น ได้ส่งผลกระทบต่ออัตลักษณ์ชองอย่างยิ่ง กล่าวคือ ทำให้ภาษาชองเกิดสัญลักษณ์ใหม่จากเดิมมีเพียงภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน กลายเป็นมีภาษาเขียนถึงสองรูปแบบ คือ 1) ระบบเขียนชองด้วยอักษรไทย (การฟื้นฟูภาษาจากสถาบันวิชาการ) 2) ตัวอักษรชอง (การฟื้นฟูภาษาจากผู้นำท้องถิ่น) การเกิดขึ้นของภาษาเขียนแบบแรกเป็นการทลายพรมแดนทางภาษาชองโดยใช้ภาษาไทยเข้ามาแทรกแซงและทาลายบริบทการใช้งานเดิม ขณะที่การเกิดขึ้นของภาษาเขียนแบบที่สองนั้น นอกจากจะเป็นการเริ่มจากท้องถิ่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้กับภาษาของตนแล้ว ยังเป็นความพยายามที่จะรื้อฟื้นพรมแดนทางภาษากลับคืนมาจากภาษาไทยด้วย
dc.description.abstractThis research had two objectives: 1) to investigate the effort of maintaining the Chong people identity and their responses and 2) to examine the Chong language revitalization and the occurred negotiation. In addition to document research, the research employed qualitative data collection including observation and interviews with relevant government agencies, scholars and the Chong people between October 2015 and December 2016. The results showed that the Chong community has existed as an ethnic group in the Thai Kingdom for years and its image has always been maintained through five tools: 1) The historical and archaeological data, 2) The anthropological data, 3) The stories in folklore, 4) The cultural data, and 5) The language revitalization. These five tools have been applied through government agencies aiming at keeping the Chong identity and leading to the academic related reproduction of the Chong identity. As for the language revitalization, the latest tools, created a great impact on the Chong identity, the Chong language which had only verbal form created two new sets of alphabet and the writing system. These include 1) the writing system utilizing the Thai alphabet developed by a group of university scholars, and 2) a newly created alphabet developed by a local Chong scholar. The first writing system was seen as a trespass of the Thai language upon the Chong language and could even harm the original use of the Chong verbal language. Therefore, in addition to the creation of identity by the local people, the second writing system was also seen as an effort to take the Chong language back from the Thai influence.
dc.format.extent[ก]-ซ, 154 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92792
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- จันทบุรี
dc.subjectชอง -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.subjectภาษาชอง -- การอนุรักษ์และฟื้นฟู
dc.subjectภาษาไทย -- ภาษาถิ่น (จันทบุรี)
dc.subjectอัตลักษณ์
dc.titleการฟื้นฟูภาษากับพรมแดนอัตลักษณ์ชอง
dc.title.alternativeThe Chong language revitalization and the Chong identity boundaries
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd518/5737440.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineวัฒนธรรมศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files