The effectiveness enhancement in enforcing financial crime : a case study of witness and evidence measure
Issued Date
2023
Copyright Date
2013
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
viii, 230 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2013
Suggested Citation
Suppakorn Poonyarith The effectiveness enhancement in enforcing financial crime : a case study of witness and evidence measure. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2013. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89525
Title
The effectiveness enhancement in enforcing financial crime : a case study of witness and evidence measure
Alternative Title(s)
การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมการเงิน : กรณีศึกษามาตรการด้านพยานหลักฐาน
Author(s)
Abstract
A study of the Effectiveness of Enforcing Financial Criminal Laws : a case study of witness and evidence measures aims to analyze the meaning, models and nature of the economic crime, (its criminals, and its factors), to study problems and limitations in evidence search and collection regarding financial Crimes; to study measures taken against assets and the financial crime under the anti-money laundering law of Thailand, and to study and analyze approaches to enhance effectiveness in the enforcement of evidence measures against the financial crimes in Thailand. Findings Show that Thailand faces problems and limitations with search and collections of financial crimes evidences, particularly in the cases of cheating, security offence, stock market, public fraud under the criminal code or under ordinance and illmobilized network because they are sophisticate and complicate economic crimes. Technologies were used for offending and concealing evidences while performing organized and transnational crimes which in turned makes it difficult for investigations and interrogations of evidence collections and the prosecutions of criminals. Also, taking action against assets from money laundering at the moment are likely ineffective. Recommendations were: 1) The evidence measure: the conspiracy and confession negotiations for the benefit of evidence collections are necessary. The court should better amend the principles and concepts of the current regulations and laws to admit e - testimony. The Criminal Witness Protection Act BE 2546 (2003), Article 8 could be adopted as special measure for witness protection. 2) The asset measure under the money-laundering law: Anti-Money Laundering Act BE 2542 (1999) Article 3 of the 3rd and the 4th predicate offences should be amended and international cooperation and assistance on criminal cases should be enhanced, and 3) The social measure: "good governance" in the financial institutions should be promoted and well supervised while social control should be applied to prevent financial crimes. Approaches as mentioned above can appropriately be adjusted to meet the Thai Contexts. These measure would be more effective in the enhancement of enforcing financial crime deterrents.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบและลักษณะของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ลักษณะของอาชญากรทางเศรษฐกิจ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการ แสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมการเงิน และศึกษาถึงมาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินกับคดีอาชญากรรม การเงินตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อนำผลจากการศึกษามาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบังคับใช้มาตรการด้านพยานหลักฐานกับคดีอาชญากรรมการเงินของประเทศไทย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาและอุปสรรคในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานใน คดีอาชญากรรมการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทคดีความผิดเกี่ยวกับการทุจริตในสถาบันการเงินคดีความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดีความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาและพระ ราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบ เนื่องจากความผิดประเภทนี้ เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำโดยผู้มีความรู้ความชำนาญ ความผิดมีลักษณะที่ซับซ้อน มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการ กระทำความผิดและปกปิดพยานหลักฐานและกระทำเป็นขบวนการในรูปแบบขององค์กรอาชญากรรมและองค์กรอาชญากรรมข้าม ชาติ ทำให้มีความยากในการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินคดีเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ อีกทั้ง มาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายฟอกเงินในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผลจากการศึกษาวิจัย ได้เสนอแนะ 3 มาตรการสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดีอาชญากรรมการเงิน กล่าวคือ 1) มาตรการด้านพยานหลักฐาน โดยเสนอให้นำมาตรการสมคบ และการต่อรองการรับสารภาพ มาใช้เพื่อ ประโยชน์ในการแสวงหาพยานหลักฐาน การเสนอให้ศาลปรับหลักการและแนวคิดเพื่อรับฟังพยานอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น การ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ในมาตรา 8 กำหนดให้คดีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมการเงิน ให้เป็นประเภทคดีที่สามารถเข้าสู่การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ และ 2) มาตรการด้านทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงิน โดย เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในความผิดมูลฐานที่ 3 และ 4 รวมถึงมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และ 3) มาตรการทางด้าน สังคม โดยส่งเสริมให้สถาบันการเงินดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการนำแนวคิดของ มาตรการควบคุมทางสังคม (Social Control) มาปรับใช้ เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมการเงิน โดยแนวทางดังกล่าว หากสามารถ นำมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จะเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมการเงิน ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมาย รูปแบบและลักษณะของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ลักษณะของอาชญากรทางเศรษฐกิจ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการ แสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมการเงิน และศึกษาถึงมาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินกับคดีอาชญากรรม การเงินตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อนำผลจากการศึกษามาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบังคับใช้มาตรการด้านพยานหลักฐานกับคดีอาชญากรรมการเงินของประเทศไทย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาและอุปสรรคในการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานใน คดีอาชญากรรมการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทคดีความผิดเกี่ยวกับการทุจริตในสถาบันการเงินคดีความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คดีความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาและพระ ราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และความผิดเกี่ยวกับการระดมเครือข่ายโดยมิชอบ เนื่องจากความผิดประเภทนี้ เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำโดยผู้มีความรู้ความชำนาญ ความผิดมีลักษณะที่ซับซ้อน มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการ กระทำความผิดและปกปิดพยานหลักฐานและกระทำเป็นขบวนการในรูปแบบขององค์กรอาชญากรรมและองค์กรอาชญากรรมข้าม ชาติ ทำให้มีความยากในการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินคดีเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ อีกทั้ง มาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายฟอกเงินในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผลจากการศึกษาวิจัย ได้เสนอแนะ 3 มาตรการสำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดีอาชญากรรมการเงิน กล่าวคือ 1) มาตรการด้านพยานหลักฐาน โดยเสนอให้นำมาตรการสมคบ และการต่อรองการรับสารภาพ มาใช้เพื่อ ประโยชน์ในการแสวงหาพยานหลักฐาน การเสนอให้ศาลปรับหลักการและแนวคิดเพื่อรับฟังพยานอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น การ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ในมาตรา 8 กำหนดให้คดีความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมการเงิน ให้เป็นประเภทคดีที่สามารถเข้าสู่การคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ และ 2) มาตรการด้านทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงิน โดย เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในความผิดมูลฐานที่ 3 และ 4 รวมถึงมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และ 3) มาตรการทางด้าน สังคม โดยส่งเสริมให้สถาบันการเงินดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการนำแนวคิดของ มาตรการควบคุมทางสังคม (Social Control) มาปรับใช้ เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมการเงิน โดยแนวทางดังกล่าว หากสามารถ นำมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จะเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมการเงิน ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University