Impact of Quality Improvement Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ฐิติมา วัฒนเสรีเวช, วรรณิษา ศรีชะนันท์, กุลธิดา พฤกษะวัน, มนสิชา แซ่เซียว, Wannisa Srichanan, Kulthida Phruksawan, Monsicha Saesiao (2564). Impact of Quality Improvement Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79969
Title
Impact of Quality Improvement Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children
Other Contributor(s)
Abstract
โรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP) เป็นโรค
ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพบใน 48 ชั่วโมงภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้
เครื่องช่วยหายใจ การเกิด VAP เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเด็กรักษาตัวใน
โรงพยาบาลนานขึ้น ส่งผลให้ความเจ็บป่วยรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุให้
เสียชีวิตได้ เมื่อสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำการเลือกใช้ท่อช่วยหายใจ
แบบมีกระเปาะ (endotracheal tubes with cuff) เพื่อลดความเสี่ยงของ
การสูดสำลักอาหารลงปอด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ VAP Bundle
“WHAPO” ของคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง Aspiration precautions ทาง
หอผู้ป่วยจึงได้คิดจัดทำโครงการ “Impact of Quality Improvement
Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children” ซึ่งเป็นโครงการ
ต่อเนื่องจากโครงการ “Oral care: prevent VAP” และการใช้แบบประเมิน
“Assessment pediatric critically ills daily before extubation” โดย
โครงการระยะนี้เน้นการเลือกใช้ท่อช่วยหายใจชนิดมีกระเปาะและติดตาม
ตรวจวัดความดันในกระเปาะ ภายหลังการปฏิบัติพบว่าอัตราการเกิด VAP
ลดลง ผลลัพธ์ที่ได้ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กปลอดภัย และเป็นการพัฒนาคุณภาพ
ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 168