RA-Proceeding Document

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 10 of 98
  • Item
    การให้บริการให้ความรู้และแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรผ่านระบบทางไกล ในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกของศูนย์โรคการนอนหลับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    (2564) เจนจิรา เพ็งแจ่ม; วิสาข์สิริ ตันตระกูล; สมประสงค์ เหลี่ยมสมบัติ; ปรีชา ศรีศักดา; ภาณุวัฒน์ เนียมบาง และคณะ
    โรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันรักษาโดย ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก แต่พบว่าผู้ป่วยมีอัตราการยอมรับและการใช้ เครื่องอย่างต่อเนื่องต่ำ จึงได้จัดทำโครงการปรับความรู้และพฤติกรรมก่อน การใช้เครื่องฯ (CPAP education class) โดยในปี พ.ศ. 2556-2561 มีผู้ป่วย ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,029 คน ผลการศึกษาวิจัยโครงการฯ นี้ พบว่า มีอัตราการยอมรับในการใช้เครื่องสูงในบริบทของผู้ป่วยคนไทย แต่พบปัญหา คือมีผู้ป่วยบางส่วนสนใจ แต่ไม่มีเวลาและมีปัญหาด้านการเดินทาง รวมถึงการ ให้บริการในด้านต่างๆ เช่น บุคลากร สถานที่ เครื่องมือมีจำนวนจำกัด ทำให้ ในปี พ.ศ.2561 ทางศูนย์ฯ ได้พัฒนารูปแบบการให้บริการความรู้ผ่านระบบ ทางไกล เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้รับบริการ ประกอบกับมีเหตุการณ์การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางศูนย์ฯ จึงได้มีการ ผลักดันนาโครงการฯ นี้มาใช้กับผู้รับบริการให้เร็วขึ้น เพื่อให้เข้าถึงการ ให้บริการ โดยให้บริการแบบไร้สัมผัส แต่ยังคงประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงลดภาระการเข้ามาในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
  • Item
    สายดูดถ่วงน้ำหนัก
    (2564) พิชญา หาญคุณากร; Pitchaya Hankunakorn
    การผ่าตัดส่องกล้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะและในโพรงมดลูกจำเป็นต้องใช้สารละลาย 5-20 ลิตร/การผ่าตัดขึ้นอยู่กับหัตการในการเตรียมบริเวณผ่าตัดจะต้องจัดถุงรองรับน้ำขนาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ปล่อยให้ไหลออกมาขณะส่องกล้องผ่าตัดและควรมีระบบการระบายน้ำที่ดี ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ราคาแพง ผ้าปูพร้อมถุงรองน้ำสำเร็จรูปพร้อมรูระบายน้ำออก (1000 บาท/ชิ้น) จึงไม่นิยมนำมาใช้ ในทางปฏิบัติได้ดัดแปลงโดยใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ทำเป็นถุงรอง ระบายน้ำออกจากถุงรองน้าจะใช้สายดูดที่ใช้กับการผ่าตัด (Suction Tube) แต่มักพบปัญหาสายดูดไม่สามารถดูดระบายน้ำออกจากถุงรองน้ำได้ทัน เมื่อผ่านไปสักระยะน้ำในถุงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและล้นออกมาเปียกแฉะบริเวณพื้นที่ผ่าตัด บางครั้งทำให้ถุงเกิดการถ่วงน้ำหนักและหลุดออกจากบริเวณผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการปนเปื้อน/ติดเชื้อ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคหรือเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม อีกทั้งทำให้การตรวจสอบบันทึกปริมาณน้ำเข้าน้ำออก (Intake-Output) จากร่างกายผู้ป่วยคลาดเคลื่อนส่งผลกระทบต่อการประเมินความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงได้ประดิษฐ์ “Weight Suction Tube” (สายดูดถ่วงน้ำหนัก) ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น
  • Item
    ถุงมือมหัศจรรย์เพื่อการผ่าตัดผ่านกล้องเจาะรูเดียว
    (2564) ธารทิพย์ แก้วมณีชัย; ชรินทร์ ก่านหงษ์; Thantip Kaewmaneechai; Charin Kanhong
    การผ่าตัดผ่านกล้องเจาะรูเดียวข้อดีคือ ช่วยลดอาการเจ็บปวดและ ลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด อีกทั้งแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กและ สวยงามส่งผลดีต่อภาวะจิตใจของผู้ป่วย แม้การผ่าตัดผ่านกล้องเจาะรูเดียวมี ข้อดี แต่ปัญหาและอุปสรรคของการผ่าตัดคือ ท่อแทงเจาะสาเร็จรูปผลิตมา จากพลาสติกแข็งและความยาวของ Trocar แต่ละชิ้นสั้น พบปัญหาด้ามและ ปลายเครื่องมือชน/ขัดกันและมีราคาแพงมาก จึงจาเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ผ่าตัดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทาการผ่าตัด ได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น Wonder glove for LESS surgery เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้องเจาะรูเดียว โดยนา ถุงมือปลอดเชื้อมาเป็นตัวกระเปาะท่อแทงเจาะให้มีความยาวเพิ่มขึ้น นิ่มและ ยืดหยุ่นสูงมาทดแทน สามารถเคลื่อนไหวเครื่องมือได้ถึง 360° และไม่พบ ปัญหาเครื่องมือกระทบกันขณะผ่าตัดที่สาคัญราคาของ Wonder glove for LESS surgery มีราคาต่ากว่าท่อแทงเจาะสาเร็จรูป ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่า เวชภัณฑ์นาเข้าท่อแทงเจาะสาเร็จรูปประมาณ 30% อีกด้วย
  • Item
    Safety & Save cost
    (2564) ภัทรพร พรมแดง; กิตติยา เที่ยงจิตร์; ฐิติพันธุ์ จันทเขต; สุรีรัตน์ นิพัทธโสภณ; กนกวรรณ พิมพา
    ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานของร่างกายลดลง จึง จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีน เพิ่มมากขึ้น แต่ขาดการเก็บข้อมูลประวัติวัคซีนที่ผู้ป่วยได้รับอย่างเป็นระบบ ทำให้การทบทวนประวัติวัคซีนทำได้ยาก ใช้เวลานาน เกิดปัญหาผู้ป่วยได้รับ วัคซีนซ้ำซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นโครงการ “Safety & Save cost (วัคซีนสูงวัย ไม่ฉีดซ้ำซ้อน ไม่สิ้นเปลืองเงินทอง สืบค้นทันใจ)” เกิดจากความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ มุ่งผลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีน อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาการได้รับวัคซีนซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น โดย พยาบาลและเภสัชกรร่วมกันทบทวนประวัติวัคซีนของผู้ป่วยคลินิกผู้สูงอายุ ล่วงหน้าก่อนถึงวันตรวจ จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมประวัติการได้รับวัคซีน และ พัฒนา Web Application สำหรับสืบค้นประวัติวัคซีนของผู้ป่วยคลินิก ผู้สูงอายุ จากผลการดำเนินงานพบว่าสามารถลดปัญหาการได้รับวัคซีนซ้ำซ้อน ของผู้ป่วยได้ สามารถลดปัญหาผู้ป่วยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจากการได้รับวัคซีน เกินความจำเป็น ช่วยอำนวยความสะดวกและลดเวลาทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน ในการสืบค้น/ทบทวนประวัติวัคซีนของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
  • Item
    Toomey’s Safety Belt
    (2564) ปิยนันท์ พรรณงาม; วรรณพร ปะปุนไร่; Piyanun Punngam; Wannaporn Papunrai
    การผ่าตัดส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ การผ่าตัดเนื้องอก ในกระเพาะปัสสาวะผ่านกล้อง (Transurethral resection of bladder tumor : TUR-BT) การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง (Transurethral resection of Prostate : TUR-P) เป็นการตัดเอาบางส่วนหรือทั้งหมดของชิ้น เนื้อออกมา โดยวิธีการใช้เครื่องมือผ่าตัดส่องกล้อง ส่องผ่านท่อปัสสาวะ แล้ว ใช้เครื่องมือแบบขดลวดสำหรับตัดและจี้ด้วยไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง ตัด ชิ้นเนื้อออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการดูดเอา ชิ้นเนื้อที่ตัดไว้ออกมาทั้งหมดเพื่อส่งตรวจ ในขั้นตอนการล้างและเก็บเนื้อเยื่อ ออก จะมีการใช้ Toomey syringe (Syringe ที่มีรูเปิดส่วนปลายเป็นรูใหญ่ สาหรับชะล้างและระบายชิ้นเนื้อผ่านเครื่องมือส่องกล้อง ) Toomey syringe ที่มีใช้ในห้องผ่าตัดเป็น Syringe แก้วทั้งหมด ปัญหาที่พบคือพบ Toomey Syringe แตกอยู่ในหีบห่อเมื่อเปิดใช้งาน หาก Toomey syringe ชำรุดหรือ บิ่นอาจสวมกับเครื่องมือส่องกล้องไม่ได้ เนื่องจากพบปัญหา Toomey Syringe แตกบ่อยครั้งในขั้นตอนการบรรจุหีบห่อเครื่องมือเพื่อส่งไปทาให้ ปลอดเชื้อ ผู้จัดทาต้องการพัฒนาขั้นตอนการจัดหีบห่อเครื่องมือให้มีความ แน่นหนาและมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จึงได้ประดิษฐ์ “Toomey’s Safety Belt” (สายรัดนิรภัย) ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา Toomey Syringe แตกใน กระบวนการส่งไปทาให้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลเกิดการกระแทก เป็นสาเหตุให้ Toomey syringe ชารุดหรือแตกและช่วยในการจัดหีบห่อให้ ง่ายขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    EVL Pocket กระเป๋าสะดวก Guide wire สบายเรา
    (2564) สุนิตา เจริญรอย; ระพี พลายศรี; นงนภัส สุริยะชัย; Sunita Charoenroi; Rapee Plysri; Nongnapat Suriyachai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สิริกิติ์
    การผ่าตัดแบบ Endovascular Surgery เป็นการผ่าตัดแบบมีแผล ขนาดเล็กบริเวณขาหนีบเพื่อสอดอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าทางหลอดเลือด เช่น ขดลวดนำ (Guide wire) , Balloon และสายสวนหลอดเลือด (Catheter) ใน ที่นี่จะรวมเรียกว่า Endovascular Catheter ( EVL Catheter) ในทางปฏิบัติ พบว่า แพทย์มีการใช้ EVL Catheter มากกว่าสองชนิดและแตกต่างกันในการ ผ่าตัดแต่ละครั้ง ปัญหาที่พบคือขดลวดนำมีความยาวดีดเด้งได้ง่ายเสี่ยงต่อ การตกหล่นปนเปื้อน (อัตราการร่วงหล่นนอกโต๊ะเครื่องมือ 50%) ทำให้ต้อง เปิดเส้นใหม่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อใช้งานเสร็จจะนำมาเก็บรวมกัน ใน Half sheet หากต้องใช้งานซ้ำทำให้เกิดความสับสนในการหยิบใช้งาน จากปัญหาดังกล่าวผู้ประดิษฐ์จึงคิดค้น “ EVL Pocket ” เพื่อช่วยลดความ เสี่ยงจากการร่วงหล่นปนเปื้อนเชื้อของขดลวดนำอีกทั้งยังช่วยเก็บขดลวดนำ ได้อย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการหยิบใช้งานซ้ำ ลดความสับสนในการจดจำ ขนาดและชนิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติติงานมากยิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    Impact of Quality Improvement Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children
    (2564) ฐิติมา วัฒนเสรีเวช; วรรณิษา ศรีชะนันท์; กุลธิดา พฤกษะวัน; มนสิชา แซ่เซียว; Wannisa Srichanan; Kulthida Phruksawan; Monsicha Saesiao; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี
    โรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP) เป็นโรค ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพบใน 48 ชั่วโมงภายหลังการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ เครื่องช่วยหายใจ การเกิด VAP เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเด็กรักษาตัวใน โรงพยาบาลนานขึ้น ส่งผลให้ความเจ็บป่วยรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุให้ เสียชีวิตได้ เมื่อสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำการเลือกใช้ท่อช่วยหายใจ แบบมีกระเปาะ (endotracheal tubes with cuff) เพื่อลดความเสี่ยงของ การสูดสำลักอาหารลงปอด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ VAP Bundle “WHAPO” ของคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง Aspiration precautions ทาง หอผู้ป่วยจึงได้คิดจัดทำโครงการ “Impact of Quality Improvement Intervention to prevent VAP in Critically Ill Children” ซึ่งเป็นโครงการ ต่อเนื่องจากโครงการ “Oral care: prevent VAP” และการใช้แบบประเมิน “Assessment pediatric critically ills daily before extubation” โดย โครงการระยะนี้เน้นการเลือกใช้ท่อช่วยหายใจชนิดมีกระเปาะและติดตาม ตรวจวัดความดันในกระเปาะ ภายหลังการปฏิบัติพบว่าอัตราการเกิด VAP ลดลง ผลลัพธ์ที่ได้ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กปลอดภัย และเป็นการพัฒนาคุณภาพ ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
  • Thumbnail Image
    Item
    Loop for Hair
    (2564) รุ่งฤดี แสวงดี; Rungruedee Sawaengdee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    การผ่าตัดทางศัลยกรรมระบบประสาทเป็นการผ่าตัดแขนงหนึ่งของ การผ่าตัดทางศัลยกรรมที่ต้องผ่าตัดบริเวณศีรษะ ในการผ่าตัดนี้มีความจำเป็น ต้องการกำจัดขนด้วย Surgical Clipper เพื่อให้มองเห็นบริเวณผ่าตัดได้ ชัดเจนและลดโอกาสการติดเชื้อบริเวณผ่าตัด ในการปฏิบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการ ผ่าตัดกลุ่มนี้จะได้รับการเตรียมบริเวณผ่าตัด โดยการกำจัดผมในห้องผ่าตัด เนื่องจากเน้นการเตรียมบริเวณผ่าตัดที่มีความจำเพาะในผู้ป่วยแต่ละรายและ มีความสอดคล้องกันในเรื่องบริเวณกำจัดผม การจัดท่า การวางอุปกรณ์ เครื่องมือพิเศษที่ช่วยเสริมในการผ่าตัด การกำจัดขนบริเวณที่ผ่านมา พบว่ามี เศษผมร่วงลงพื้นและมีบางส่วนที่ตกกระจายตามพื้นห้องผ่าตัดต้องใช้เวลาใน การเก็บเศษผม 5-10 นาที และถ้าเก็บเศษผมไม่หมด อาจเกิดโอกาสที่เศษผม บางส่วนตกค้างอยู่บนผ้ารองตัวผู้ป่วยในบริเวณผ่าตัดได้ ดังนั้นทีมผู้ประดิษฐ์ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยรองบริเวณที่กำจัดขน เพื่อลดการเกิดเศษผมตก กระจายบริเวณเตียงผ่าตัดและพื้น หลังจากนำมาทดลองใช้แล้วพบว่าไม่มีเศษ ผมตกกระจายหรือร่วงหล่นบนพื้นห้องผ่าตัด ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้น นวัตกรรม“Loop for Hair” เพื่อใช้รองผมผู้ป่วยที่กำจัดออกซึ่งป้องกันไม่ให้ ผมร่วงหล่นลงพื้นหรือตกค้างบนผ้าในห้องผ่าตัด
  • Thumbnail Image
    Item
    ER ระบบใหม่ ปลอดภัย ทันเวลา
    (2564) ศิวภา บุญกมลสวัสดิ์; โสรวีร์ วนิชกุลพิทักษ์; Sivapa Boongamoneseud; Sivapa Boongamoneswud; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายเภสัชกรรม
    ปัจจุบันการส่งต่อข้อมูลและการแก้ไขปัญหาในใบสั่งยา มีความ ยุ่งยาก และมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งแผนกฉุกเฉินเป็นแผนกที่ ต้องการความรวดเร็ว และทันเวลาภายใน 30 นาที โดยการทำงานที่ผ่านมา ของห้องยา สามารถจัดเตรียมยาได้ทันเวลาภายใน 30 นาที ร้อยละ 78 ซึ่งยัง ไม่บรรลุเป้าหมาย คือร้อยละ 80 จึงเกิดแนวคิดที่จะใช้แบบฟอร์มที่ใช้งาน ร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพ เพื่อประสานการทำงานให้สมบูรณ์ และลด ความผิดพลาดระหว่างการส่งต่องานทั้งกระบวนการ Prescribing , Transcribing , Dispensing และ Administration จึงเกิดการปรับปรุง กระบวนการทำงานโดยมีปัจจัยสำคัญ คือ การใช้แบบฟอร์ม “ใบสั่งยาและ บริหารยาผู้ป่วยแผนกฉุกเฉิน” และปรับเป็น “ระบบ Scan ER” เพื่อส่งต่อ ข้อมูลระหว่างแผนกฉุกเฉินและห้องยา พบว่าทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย ทำ ให้ได้รับยารวดเร็วและทันเวลาภายใน 30 นาทีมากยิ่งขึ้น ตรวจสอบพบปัญหา ในการสั่งใช้ยาได้มากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
  • Thumbnail Image
    Item
    เอี๊ยมกันโป๊
    (2564) นงค์รัก กุลเผือก; เบญจพร โพธิบุตร; Nongruk Kulpeuk; Benjaporn Potibud; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
    เอี๊ยมกันโป๊เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ซึ่งมองเห็น ความสำคัญของผู้ป่วย ในเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยจากการทำ หัตถการเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดของหน่วยหัตถการเฉพาะทาง โดยปัญหาที่ เกิดขึ้นคือผ้าที่ใช้ปิดคลุมหน้าอกผู้ป่วยเกิดการเลื่อนหลุด ทำให้ส่วนของ หน้าอกผู้ป่วยเปิดเผย ซึ่งในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นหญิงผู้ป่วยจะแสดงสีหน้า กังวลอย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ในหน่วยได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิของ ผู้ป่วยที่ว่า “ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้วยความเคารพความเป็นส่วนตัว ศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ ค่านิยม และความเชื่อส่วนบุคคล” และครอบคลุมถึงการ ดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วย ดังนั้นทางหน่วยจึงได้คิดประดิษฐ์ “เอี๊ยมกันโป๊” และนำมาทดลองใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยความ สะดวก และเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ