ระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินออนไลน์
dc.contributor.author | ณัฐวัฒน์ อุ่นไพร | en_US |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ เลาะพึ่ง | en_US |
dc.contributor.author | พานุมาศ ทุนฤทธิสา | en_US |
dc.contributor.author | Nattawat Oonprai | en_US |
dc.contributor.author | Somsak Lohphueng | en_US |
dc.contributor.author | Phanumars Thunrittisa | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-30T11:18:25Z | |
dc.date.available | 2022-07-30T11:18:25Z | |
dc.date.created | 2565-07-30 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 63-64 | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในหลายรูปแบบมีแอปพลิเคชันสำหรับอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน หน่วยซ่อมบำรุง งานกายภาพและสิ่งแวดล้อมคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีหน้าที่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบอำนวยความสะดวกประจำอาคารทุกอาคารภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์น้ำล้นบ่อพักน้ำชั้นใต้ดินอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ 60 ปี โดยระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินน้ำล้นนี้เป็นชนิดเสียงกริ่ง แต่เนื่องจากในขณะเกิดเหตุบริเวณดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ จึงเข้าระงับเหตุการณ์ล่าช้าเป็นผลให้มีน้ำท่วมซึมทั่วบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและเอกสารเป็นจำนวนมากทางหน่วยซ่อมบำรุงจึงได้ศึกษาและค้นคว้าระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินชนิดอื่นที่สามารถทราบเหตุการณ์ได้ทีเมื่อเกิดเหตุ และพบว่ามีอุปกรณ์ การแจ้งเตือนที่สามารถแจ้งเตือนมายังแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์สมาร์โฟนได้ จึงได้จัดหาอุปกรณ์พร้อมจัดหาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้ และสำรวจอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉินระบบอื่น ๆ พัฒนาวงจรควบคุมให้สามารถใช้งานการแจ้งเตือนรวมทั้งเขียนโปรแกรมการแจ้งเตือนเพิ่มขึ้น โดยนำร่องที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีก่อน หลังการติดตั้งอุปกรณ์พบว่าเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ อาทิระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน เจ้าหน้าที่หน่วยซ่อมบำรุงทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการรับทราบเหตุการณ์ได้เพื่อที่เข้าระงับเหตุการณ์ได้ทันที แม้ไม่อยู่ในบริเวณอาคารเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นหลังจากการใช้งานระบบมาระยะหนึ่ง ทางหน่วยซ่อมบำรุงได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน จึงได้เลือกแอปพลิเคชัน บลิงค์ (Blynk) มาต่อยอดใช้งานจากเดิมที่มีการแจ้ง เตือนผ่านระบบไลน์เพียงอย่างเดียว โดยแอปพลิเคชันนี้จะสามารถแสดงผลได้หลากหลายตามความเหมาะสมของค่าที่จะน ามาแสดง ทางหน่วยซ่อมบำรุงได้ต่อยอดจากการแจ้งเตือนสำหรับระบบฉุกเฉินมาเป็นการอ่านค่าต่าง ๆ และสถานะของอุปกรณ์นั้น ๆ เช่นกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ระดับน้ำสถานะการทำงานของเครื่องจักร การวัดอุณภูมิภายในตู้แช่แข็งเป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้หลายชนิดเนื่องจากระบบมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือระบบประกอบอาคารรวมถึงเพื ่อการ ประหยัดพลังงานอีกด้วย | en_US |
dc.identifier.uri | https://hdl.handle.net/20.500.14594/72880 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | เหตุฉุกเฉินต่าง ๆ | en_US |
dc.subject | อุปกรณ์แจ้งเตือนออนไลน์ | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชันไลน์ | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชัน Blynk | en_US |
dc.subject | Mahidol Quality Fair | en_US |
dc.title | ระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินออนไลน์ | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |