TM-Proceeding Document

Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/114

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 20 of 150
  • ItemOpen Access
    Stay Alert! No Drug Abuse
    (2564) Patama Tapchaisri; Patchanee Intaracha; ปฐมา เทพชัยศรี; พัชนี อินทราชา
    ยาที่มีความเสี่ยงสูง (high alert drug) หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงที่ อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยเมื่อเกิดการใช้ผิดพลาด แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำ ให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงได้ เป็นกลุ่มยาที่ต้อง ระมัดระวังในการใช้ อนุกรรรมการยาที่มีความเสี่ยงสูงและยาเสพติด คณะ เวชศาสตร์เขตร้อน ได้กำหนดรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาล เวชศาสตร์เขตร้อนไว้จำนวน 13 รายการ ซึ่งยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีแนวทางใน การบริหารยา การตรวจสอบก่อนจ่ายยา กระบวนการให้ยาแก่ผู้ป่วย และการ ติดตามผู้ป่วยหลังจากให้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งผู้จัดทาโครงการนี้ ได้พัฒนาระบบ การบริหารจัดการยาเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนขึ้นใหม่ เพื่อให้ บุคลากรทางการแพทย์มีแนวทางในการบริหารยาที่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้ สามารถลดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดในการใช้ยาได้ จากเดิมพบอุบัติการณ์ ข้อผิดพลาดในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง ประมาณ 3 ครั้งต่อปี ซึ่งพบว่า หลังจากพัฒนาแล้ว อัตราการเกิดอุบัติการณ์ข้อผิดพลาดในการบริหารยากลุ่ม นี้เป็น 0
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินออนไลน์
    (2564) ณัฐวัฒน์ อุ่นไพร; สมศักดิ์ เลาะพึ่ง; พานุมาศ ทุนฤทธิสา; Nattawat Oonprai; Somsak Lohphueng; Phanumars Thunrittisa; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    ในปัจจุบันโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในหลายรูปแบบมีแอปพลิเคชันสำหรับอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน หน่วยซ่อมบำรุง งานกายภาพและสิ่งแวดล้อมคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีหน้าที่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบอำนวยความสะดวกประจำอาคารทุกอาคารภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์น้ำล้นบ่อพักน้ำชั้นใต้ดินอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ 60 ปี โดยระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินน้ำล้นนี้เป็นชนิดเสียงกริ่ง แต่เนื่องจากในขณะเกิดเหตุบริเวณดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ จึงเข้าระงับเหตุการณ์ล่าช้าเป็นผลให้มีน้ำท่วมซึมทั่วบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและเอกสารเป็นจำนวนมากทางหน่วยซ่อมบำรุงจึงได้ศึกษาและค้นคว้าระบบการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินชนิดอื่นที่สามารถทราบเหตุการณ์ได้ทีเมื่อเกิดเหตุ และพบว่ามีอุปกรณ์ การแจ้งเตือนที่สามารถแจ้งเตือนมายังแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์สมาร์โฟนได้ จึงได้จัดหาอุปกรณ์พร้อมจัดหาอุปกรณ์เซนเซอร์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้ และสำรวจอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉินระบบอื่น ๆ พัฒนาวงจรควบคุมให้สามารถใช้งานการแจ้งเตือนรวมทั้งเขียนโปรแกรมการแจ้งเตือนเพิ่มขึ้น โดยนำร่องที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 ปีก่อน หลังการติดตั้งอุปกรณ์พบว่าเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ อาทิระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน เจ้าหน้าที่หน่วยซ่อมบำรุงทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการรับทราบเหตุการณ์ได้เพื่อที่เข้าระงับเหตุการณ์ได้ทันที แม้ไม่อยู่ในบริเวณอาคารเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นหลังจากการใช้งานระบบมาระยะหนึ่ง ทางหน่วยซ่อมบำรุงได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน จึงได้เลือกแอปพลิเคชัน บลิงค์ (Blynk) มาต่อยอดใช้งานจากเดิมที่มีการแจ้ง เตือนผ่านระบบไลน์เพียงอย่างเดียว โดยแอปพลิเคชันนี้จะสามารถแสดงผลได้หลากหลายตามความเหมาะสมของค่าที่จะน ามาแสดง ทางหน่วยซ่อมบำรุงได้ต่อยอดจากการแจ้งเตือนสำหรับระบบฉุกเฉินมาเป็นการอ่านค่าต่าง ๆ และสถานะของอุปกรณ์นั้น ๆ เช่นกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ระดับน้ำสถานะการทำงานของเครื่องจักร การวัดอุณภูมิภายในตู้แช่แข็งเป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้หลายชนิดเนื่องจากระบบมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือระบบประกอบอาคารรวมถึงเพื ่อการ ประหยัดพลังงานอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    เตรียมเอกสารประเมินการสอนในชั้นต้นด้วยเทคนิค Mail Merge
    (2564) ณิชาภัทร เพ็ชร์อินทร์; อารี บัวแพร; พิชญาภัค ประจวบกลาง; จันนภา ด้วงจู; สมพร งามศิริสมสกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. สำนักงานบริหารการศึกษา
    สำนักงานบริหารการศึกษา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจสนับสนุนพันธกิจหลักด้านการศึกษา ยุทธศาสตร์ ที่ 2 การศึกษามุ่งผลลัพธ์ระดับสากลและได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเรื่อง การขอรับประเมินการสอนในชั้นต้นให้แก่ อาจารย์ เพื่อประกอบการขอ ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ซึ่งเป็นลูกค้าที่สำคัญของสำนักงานบริหาร การศึกษา ดังนั้นจึงได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าว โดยการใช้เทคนิค Mail Merge ใน Microsoft Word และจัดทำฐานข้อมูลอาจารย์/รายวิชา ไว้ ใน Microsoft Excel file เพื่อดึงข้อมูลมาจัดทำเอกสารแบบฟอร์มประเมิน การสอนในชั้นต้นสำหรับคณะอนุกรรมการ (ม.ม.004/1, ม.ม.006/1, ม.ม. 008/1) พร้อมทั้งจัดทำบันทึกข้อความโปรดลงนามเสนอคณบดีเพื่อโปรดลง นามในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หนังสือ แจ้งผลประเมินการสอนในชั้นต้น และได้นำแนวคิดแบบการลดกระบวนการ (Lean) เพื่อสร้างคุณค่าโดยมุ่งขจัดความสูญเปล่า (Creating value by eliminating waste) เพื่อสร้างความพึงพอใจของลูกค้า เพิ่มคุณค่าในการ บริการ และความสำเร็จในระยะยาว สิ่งที่ลดน้อยลงคือ ความสูญเปล่า, วงรอบเวลา, การใช้แรงคน เวลา และค่าใช้จ่าย ผลจากแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด ได้แก่ ความพึงพอใจด้านคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจด้าน เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ผลรวมของค่าคะแนนที่ได้จากการประเมินความพึงพอใจระดับมาก-มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 99.52
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Nurturing Research Culture Towards the World Class Tropical Medicine Research Institute
    (2564) เจตสุมน ประจำศรี; พรพิมล อดัมส์; พิชชาภา วุฒิเกษ; สุเมธ สืบตระกูล; วิจักขณ์ อโณวรรณพันธ์; บุษรีฐิ ตาภิวัฒนกุล; ไอลดา อังอัจฉะริยะ; ศิวาพร สามัง; ณัฐพร คชสีห์; มนตรี หนูจันทร์; ปัณณวิช ปรางอำพร; ไพริน บุญประเสริฐ; บัวรัน นิละภา; วิรงค์รอง เจียรกุล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    การหล่อหลอมวัฒนธรรมและค่านิยมของการเป็นนักวิจัยของ บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีพัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับแต่ เริ่มก่อตั้งคณะฯ ด้วยการมุ่งมั่นในพันธกิจและวิสัยทัศน์ในการจะไปสู่ สถาบันวิจัยด้านโรคเขตร้อนระดับโลก ผู้นำและบุคลากรของคณะฯ ในแต่ละ ช่วงของการพัฒนา จึงต้องมีกลยุทธ์และการปรับปรุงกระบวนงานสร้าง ทีมงานเพื่อให้การปลูกฝังเสริมสร้างนักวิจัยและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ให้เอื้อ ต่อการทำงานวิจัยอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องมีการขยายทีมงานจนเป็น ระบบที่มีความเข้มแข็งในปัจจุบัน กระบวนการพัฒนาดังกล่าวนี้ แบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะ (ปี 2503) จนถึงปี 2532 (ก้าวแรก แห่งการบุกเบิก และก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ) มุ่งโครงสร้างพื้นฐานและสรร หาบุคลากร สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระยะที่ 2 ปี 2533 จนถึงปี 2542 (ก้าวสู่การพัฒนาอย่างมั่นคง) เสริมสร้างนักวิจัย มีมาตรฐานจริยธรรม ให้ทุนสนับสนุน ระยะที่ 3 ปี 2543 จนถึงปี 2552 (ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ ภูมิภาค) วางระบบมาตรฐานความปลอดภัย จริยธรรม ทีมสนับสนุนการ เผยแพร่งานวิจัย ระยะที่ 4 ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน (ก้าวสู่ความเป็นเลิศ) อบรม บุคลากรให้เข้าสู่การปฏิบัติลงมือทำวิจัยได้เร็วขึ้น เป็นนักวิจัยคุณภาพ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Tropmed Blood Bank ambassador
    (2561) วราภรณ์ สมวงษ์; ปานจิต โพธิ์ทอง; เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล; ฉัตรนภา ดวงดี; เสาวภา จังอินทร์; ฐิติพร แก้วรุณคำ; สมพิศ สุวรรณบูล; ปิยธิดา รุ้งมัจฉา; กองแก้ว ย้วนบุญหลิม; วารินทร์ กลิ่นนาค; ขนิษฐา เขียวแสวง; รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม; มาลี ดูศรีเทพประทาน; ศรีวิไล แสงเลิศศิลปชัย; สถาพร โอสถสมบูรณ์; ดวงรัตน์ มีอารี; มะลิ นาคสมพันธุ์; เนาวรัตน์ เจริญสุข; พยอม นิ่มนวล; พรชนนี โพธิ์ไพศาล; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    โครงการ Tropmed Blood Bank ambassador ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ภายในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งจุดประสงค์หลักของกลุ่มเพื่อก่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับเลือดและ/หรือส่วนประกอบของเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับเลือดและส่วนประกอบที่ปลอดภัยและรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็น การส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในงานบริการโลหิตแก่บุคคลากรทาง การแพทย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียม การจัดหา การรักษาและ กระบวนการนำส่งเลือด วิธีการให้เลือดแต่ละชนิด การพัฒนาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับการดูแลรักษาผู้ป่วย นอกจากนั้นโครงการยังเสริมสมาชิก ภายในกลุ่มให้นำเสนอผลงานวิชาการ เข้าร่วมการอบรม ประชุมวิชาการด้าน งานบริการโลหิตอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมกลุ่มที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีการจัดกิจกรรม Blood Bank ambassador meeting ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรม Blood Bank on tour แจก คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ให้กับหอผู้ป่วยต่าง ๆ จัดทำคู่มือการขอใช้เลือดและ ส่วนประกอบ คู่มือการให้เลือดและส่วนประกอบ ในรูปแบบอิเล็กโทนิกส์โดย ใช้โปรแกรม e book โดยติดตั้งตามคอมพิวเตอร์หอผู้ป่วยต่าง ๆ นำเสนอ ผลงานกลุ่มในการประชุมวิชาการงานโลหิตระดับชาติ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2561 และงานมหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาล ประจำปี 2561 จัดโดยสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย กรมอุตสาหกรรม
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    อุปกรณ์ช่วยประคับประคองข้อมือ-แขนระหว่างการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
    (2564) จุฑามาศ จันทร์รัตนา; สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ; เบญจวรรณ แขวงแดง; ไปรยา นะวะมวัฒน์; พัชริดา พบถาวร; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    จากปัญหาการเลื่อนหลุด หัก พับงอ ของสายให้สารน้ำก่อให้เกิด ปัญหาเครื่องinfusionที่ใช้สำหรับกำหนดอัตราการไหลของสารน้ำเกิดalarm ทำให้พยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำจากกลุ่มอาการ PUI หรือผู้ป่วย โรคโควิด-19 ซึ่งอยู่ในระหว่างรอผล swab เพื่อแยกโรคต้องทำงานเพิ่มขึ้นและเข้าดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยบ่อยขึ้น เกิดการสัมผัสในสิ่งแวดล้อมหรืออุปกรณ์ที่ใช้ กับผู้ป่วยบ่อยครั้ง ทำให้การเว้นระยะห่าง (Social Distencing)ไม่ปลอดภัยต่อ ผู้ปฎิบัติงาน จึงได้นำปัญหาที่เกิดขึ้น มาปรับปรุง แก้ไขและได้สร้างเป็นนวัตกรรมจากผ้าที่อาจช่วยในการดูแลผู้ป่วยและผู้ปฎิบัติงานได้ปลอดภัยมากขึ้นในระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและรอผลการตรวจหาเชื้อ RT PCR sars-cov2 เพื่อแยกโรคและจากการทำแบบประเมินความพึงพอใจพบว่าพยาบาลมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมค่อนข้างมากคิดเป็นร้อยละ75-100 และรายข้อ ด้านความเหมาะสมในการใช้งานกับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ100 ผู้ช่วยพยาบาล มีความพึงพอใจค่อนข้างมากคิดเป็นร้อยละ75-100 ส่วนรายข้อด้านความ เหมาะสมในการใช้งานกับผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 87.5 ซึ่งผู้ป่วยมีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ87.5-100 และรายข้อด้านความเหมาะสมด้านการใช้งาน กับผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ100
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เอกสารเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต
    (2561) พาวิกร จำปาบุรี; ชนกพร ไศลบาท; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    เนื่องจากหอผู้ป่วยสามัญหญิง รับผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ และส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ บางคนเป็นคนไข้ฝากเลี้ยงที่ญาติต้องการฝากไว้กับโรงพยาบาล จนถึงวาระสุดท้ายจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีผู้ป่วยหลายรายเสียชีวิตที่หอผู้ป่วยทั้งนอกเวลาราชการและในเวลาราชการ และพบปัญหาของการใช้ เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต พยาบาลส่วนใหญ่ประสบการณ์ทำงานน้อยในหอผู้ป่วย และยังไม่มีความเข้าใจในการใช้เอกสาร ทำให้การทำงานล่าช้า และเกิดการผิดพลาดเรื่องการลงข้อมูลไม่ครบ เตรียมเอกสารไม่ครบ พยาบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้จัดทำคู่มือเล่มนี้ขึ้น เพื่อความสะดวก เข้าใจง่าย และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ที่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อมีเหตุการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตขึ้น ทำให้ญาติผู้เสียชีวิตมีความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ผลการดำเนินงานพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจไปในแนวเดียวกัน ในการจัดการเอกสารต่างๆเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 95
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    เจลเย็นลดไข้ลดปวด
    (2561) จินตภัทร์ เขมรัตน์ตระกูล; ฉวีวรรณ เพ็งรักษา; ภัสดาภรณ์ ต่อมแก้ว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    ผู้ป่วยที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยสามัญหญิงโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มักมาด้วยไข้เป็นหลัก ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมารับดูแลผู้ป่วยที่มาด้วยไข้จำนวน 223 รายทุกรายจะมีไข้ อาจมีปวดศีรษะร่วมด้วยและบางรายมีข้อจำกัดในการรับยาแก้ไข้ ลดปวด นอกจากใช้การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ พยาบาลจะใช้เจลเย็นเพื่อลดปวด/ลดไข้ และอาจวางตามจุดต่างๆของร่างกายเช่นที่รักแร้ ข้อพับแขน ขา ซอกคอ เพื่อช่วยลดไข้ เดิมทางหอผู้ป่วยต้องจัดหาเจลเย็นด้วยเงินส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ แต่เนื่องจากเจลเย็นที่ซื้อจากร้านค้ามีราคาแพงจึงไม่สามารถจัดหามาให้เพียงพอแก่ความต้องการใช้งานกับผู้ป่วยได้ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาหาข้อมูล คิดประดิษฐ์ ทดลองทำเจลประคบเย็นขึ้นใช้กับผู้ป่วย ภายหลังการทดลองใช้งาน 2 เดือน ทำให้มีเจลประคบเย็น เพียงพอที่จะใช้ลดไข้ลดปวดให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการใช้เจลประคบเย็นที่ประดิษฐ์ขึ้น ร้อยละ 96
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของบุคลากร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
    (2561) วชรสร เพ่งพิศ; ชุติมา ปฐมกำเนิด; วรรณเฉลิม ชาววัง; ประไพพร เตียเจริญ; ฐิติพร แก้วรุณคำ; เกศินี บูชาชาติ; น้ำฝน เอกสนธิ; อรสา เอมโกษา; จุฑามาศ ประเสริฐศรี; อมร เหล็กกล้า; เนตรฟ้า รักมณี; ธีระวัฒน์ แซ่ซือ; ปณิธี มาเอี่ยม; โสมประภา พยัคฆพันธ์; นพดล ตั้งภักดี; สันติ มณีวัชระรังษี; ธีระ กุศลสุข; พรพรรณ ภูมิรัตน์; สุรพล ยิ้มสำราญ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    คณะทำงานการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของบุคลากร ดำเนินการภายใต้นโยบายของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เกี่ยวกับความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ได้ริเริ่มทำการ ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์แก่บุคลากรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ แบบทดสอบมาตรฐานสากลเป็นเครื่องมือประเมิน เริ่มจากการใช้แบบ ตรวจวัดดัชนีความผิดปกติ (Abnormal Index หรือ AI) ตรวจคัดกรอง บุคลากรจำนวน 517 จากทั้งหมด 811 คน (ร้อยละ 63.7) พบว่า ส่วนใหญ่มี ปัญหาเล็กน้อยพอทนได้ ร้อยละ 48.4 (250 คน) และมีเพียงร้อยละ 2.7 (14 คน) เท่านั้นที่ไม่มีปัญหาอะไรเลย, บุคลากรร้อยละ 38.1 (197 คน) อยู่ใน เกณฑ์ต้องระมัดระวังเอาใจใส่ และร้อยละ 10.4 (จ านวน 54 คน) อยู่ในกลุ่มที่ มีปัญหาจนทนไม่ได้ กับอีกร้อยละ 0.4 (จ านวน 2 คน) ที่มีปัญหาต้องแก้ไข โดยด่วน ดังนั้น คณะทำงานฯ จึงจัดการบรรยายพิเศษเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญด้านการยศาสตร์ขึ้น 1 ครั้ง ต่อจากนั้นได้ เชิญผู้ที่พบว่ามีปัญหาจากการประเมินดัชนีความผิดปกติ รวม 56 คน เข้าร่วม โครงการประเมินโดยวิธีทางการยศาสตร์ที่แม่นยำขึ้นได้แก่ ROSA, RULA และ REBA เพื่อจะได้ทราบที่มาของปัญหาหรืออาการผิดปกติจากการทำงานนั้น จะเกี่ยวข้องกับท่านั่งในการปฏิบัติงาน สถานีงาน (Work station) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุและหาวิธีแก้ไข ปรับปรุงต่อไป ในการนี้ได้ส่งแบบฟอร์มแสดงความจำนงในการร่วมโครงการ ทางอีเมล มีผู้ต้องการเข้าร่วมโครงการในส่วนนี้เพียง 3 คนจาก 56 คน (ร้อย ละ 5.4) แต่อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานยืนยันว่า มีบุคลากรของคณะฯ ป่วยมี อาการ Office Syndrome อยู่เป็นจำนวนมากพอสมควร คณะทำงานฯ จึง ผลิตสื่อวิดิทัศน์ส่งเสริมการออกกำลังกายป้องกัน Office Syndrome ออก เผยแพร่ในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิของแผ่นประคบร้อนที่สัมพันธ์กับความหนาของผ้าห่อแผ่นประคบร้อนในช่วงเวลา 20 นาที
    (2561) วรรณเฉลิม ชาววัง; ชุมพูนุช ศรีไกรยุทธ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    ศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิแต่ละช่วงเวลาต่อความหนาของผ้าห่อ แผ่นประคบร้อนที่ความหนา 4 cm. และ 2 cm. โดยนำแผ่นประคบร้อนแช่ ใน Hydrocollator อุณหภูมิไม่เกิน 80 °C โดยห่อด้วยผ้าขนหนูที่ทำด้วยผ้า ฝ้าย 100 % ขนาด 27 X 54 นิ้ว ที่ถูก me ให้ได้ความหนา 4 cm. และ 2 cm. โดยใช้ digital thermometer แล้วใช้นาฬิกาจับเวลา ทำการวัดอุณหภูมิตั้งแต่ นาทีที่ 1ถึงนาทีที่ 20 ชุดละ 25 ครั้ง เปรียบเทียบอุณหภูมิ ผลการศึกษาหม้อ ต้มที่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ 76.71±0.90 ความหนาของผ้าห่อ 4 cm. ช่วงนาทีที่ 1 ถึง 20 อุณหภูมิเฉลี่ย 22.86±0.63 °C ถึง 39.64 ±2.47 °C อุณหภูมิเฉลี่ย 31.24±5.80 C0 ความหนาของผ้าห่อ 2 cm. ช่วงนาทีที่ 1 ถึง 20 อุณหภูมิ เฉลี่ย 23.92 ±1.18 °C ถึง 48.69 ±1.64 °C พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 41.45 ±7.88°C อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงนาที 3 ถึง 15 ตามเวลาที่ เปลี่ยนไปที่อุณหภูมิ 30.25±3.02°C ถึง 47.80±2.27 °C เมื่อเปรียบเทียบ ความหนาของผ้า พบว่าผ้าห่อแผ่นประคบร้อนมีความแตกต่างกันที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ (p- value< 0.01)
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ฉับไว ปลอดภัย แม่นยำ ด้วย QR code
    (2561) วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ; รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม; มาลี คูศรีเทพประทาน; เสาวลักษณ์ ป้อมบ้านต้า; พิชญวดี เทพสุริ; สุรีย์ภรณ์ แสนทวีสุข; สุพัตรา ยอดปัญญา; ส้มแป้น ศรีหนูขำ; อลิสา มิฆเนตร; เดชา ชุมภูอินทร์; เพชรชมพู พึ่งประสพ; นัฐพงศ์ เข็มทอง; อารีรัตน์ ต่างศรี; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้ QR code ในการบริหารจัดการระบบข้อมูลครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง และความพึงพอใจในการใช้งานของเจ้าหน้าที่ไตเทียมและหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการปรับกระบวนการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เปลี่ยนจากการค้นหาข้อมูลในแฟ้มเอกสาร นำมาสู่การสร้างโปรแกรม และลงข้อมูลครุภัณฑ์การแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยการลงข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลประวัติของเครื่องประวัติการใช้งานการซ่อมบำรุง ราคาซ่อม ชนิดของอะไหล่ที่เปลี่ยน เป็นต้น คุรุภัณฑ์ทางการเเพทย์ที่จัดเก็บข้อมูลครั้งนี้เช่น เครื่องไตเทียม เครื่องฟอกเลือดต่อเนื่อง (CRRT) และเครื่องล้างตัวกรอง เครื่องช่วยหายใจ (respirator) ซึ่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ได้รับอนุญาติ และมีรหัสจะสามารถใช้โทรศัพท์มือถือ scan QR code เข้าไปตรวจสอบข้อมูลได้ และผลจากการใช้งานพบว่าสามารถลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลของเครื่องคุรุภัณฑ์ใช้เวลา 17.4 ± 7.5 2 วินาที เมื่อเปรียบเทียบจากเเบบเดิมลดลงมากกว่า 9.6 เท่า เมื่อวัดความพึงพอใจในการใช้งานทั้ง 5 ด้าน ทั้งในด้านการจัดเก็บข้อมูล การค้นหาข้อมูล ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ลดระยะเวลาในการค้นหาข้อมูลเเละความพึงพอใจโดยรวม พบว่า เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจ 97.1 % เเละในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ประสิทธิภาพของการใช้ QR code มีความน่าเชื่อถือ สามารถป้องกันการสูญหายของข้อมูลโดยมีการ Back up ข้อมูลลงใน server เเละลดภาระงาน ทั้งในด้านการจัดเก็บเอกสารรวมถึงการค้นหาข้อมูลได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Sideline lab
    (2561) วิมล ยานพานิชย์; ณัฐพงศ์ อยู่ประดิษฐ์; ฉัตรนภา ดวงดี; ลำดวน เหินสว่าง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรรับผิดชอบดูแลการการเบิกจ่ายวัสดุและแบบฟอร์มให้กับหอผู้ป่วย และหน่วยงานต่างๆ จากการสำรวจพบว่า บางหอผู้ป่วยและบางหน่วยงานมีวัสดุและแบบฟอร์มปริมาณมาก ไม่มีการตรวจสอบวันหมดอายุ และจำนวนคงเหลือจึงมีวัสดุหมดอายุและแบบฟอร์มที่ไม่เป็นปัจจุบันอยู่มากและนำมาส่งคืนทำให้สูญเสียงบประมาณ และสิ้น เปลืองกระดาษ รวมถึงมีขั้นตอนในการเบิกหลายขั้นตอนการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบระบบเบิกจ่ายวัสดุและแบบฟอร์ม ด้วยการนำคิวอาร์โค้ด (QR Code) โดยการทำงานร่วมกันระหว่างงานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรกับงานสารสนเทศของร.พ. ซึ่งจะนำไประบบไปลงที่หอผู้ป่วยและหน่วยงานต่างๆ หากต้องการเบิกสามารถสแกนผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน จากการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการใช้งานพบว่าระบบสามารถลดขั้นตอนการเบิกจ่าย ลดปริมาณการใช้กระดาษได้และ ห้องปฏิบัติการฯยังสามารถช่วยหอผู้ป่วยและหน่วยงานต่างๆ ดูแลจำนวนวัสดุและแบบฟอร์มให้เพียงพอกับการใช้งานและบริหารจัดการวัสดุที่ใกล้หมดอายุได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นเนื่องจากสามารถดึงข้อมูลจากระบบออกมาดูจำนวนการใช้งานของวัสดุ ระหว่างงบประมาณได้ และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้หรือพัฒนาต่อให้สมบูรณ์มากขึ้นได้
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Save Fire Safe Life
    (2561) วรรณเฉลิม ชาววัง; Wanchalorm Chawwang; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    ในการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยเครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้กับผู้ป่วยและผู้ในการรักษา เมื่อมีการใช้กับผู้ป่วยเป็นจำนวนบ่อยครั้งสิ่งที่ตามมาคือ ความชำรุดของอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องมือ สายไฟ สะพานไฟ หรือแม้แต่ปลั๊กไฟจากตัวอาคาร ส่งผลทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นมีโอกาสเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย และช่วงที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ ไฟฟาลัดวงจรขึ้นในโรงพยาบาล อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ลืมปิดและถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกหลังเวลาปฏิบัติงงานหรือหลังเวลาใช้งาน ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดไฟลุกไหม้ในเวลาหลังเลิกงาน ชึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีเจ้าหน้า แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่าช่วงเวลาที่มักเกิดเหตุคือในระหว่างเวลาหลัง 16.00 น. - 08.00 น ของวันถัดไป และเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในสถานที่ราชการและเอกชน หรือแม้แต่บ้านเรื่อนที่อยู่อาศัย หากเกิดแล้วจะพบว่าเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล จากเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา พบว่า เกิดจาก 1.คน หรือผู้ปฏิบัติงาน 2.เครื่องมือและอุปกรณ์ 3.ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม เมื่อนำมาวิเคราะห์และได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยให้ทุกคนในหน่วยงานปฏิบัติเป็นรูปแบบเดี่ยวกัน ดังนี้ 1.สำรวจ 2.ตรวจสอบ 3.ประชุม 4.ดำเนินการ 5.เก็บข้อมูล พบว่าจากผลการดำเนินการ 6 เดือน 1.เหตุการณ์ไฟฟ้าช็อตผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ เท่ากับ 0 อุบัติการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร เท่ากับ 0 เหตุการณ์การลืมถอดปลั๊กหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.029 คือ ไมโคเวฟ
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    หนึ่งเป้าหมายกับหลายความร่วมมือสู่การเป็นห้องปฏิบัติการคุณภาพมาตรฐานสากล
    (2561) พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์; พารณ ดีคำย้อย; องอาจ มหิทธิกร; บุษรี ฐิตาภิวัฒนกุล; รื่นฤทัย อุดรโสม; นันทรัตน์ จันทวัต; วีณา เจนวิทยานันท์; วัลลภ ภักดี; ธวัชชัย เกตุบุญลือ; บุญถิน มาลัยทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    โครงการบริการวิชาการของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นโครงการที่ เปิดให้บริการตามภาควิชาแต่ยังไม่เคยมีการขอรับรองมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและยกระดับการดำเนินงานให้เป็น มาตรฐานสากล คณะฯ จึงได้จัดตั้ง“ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโรคเขตร้อน” โดยนำงานตรวจโรคเขตร้อนที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออกเด็งกี่ โรคทอก โซพลาสโมซิส โรคพยาธิตัวจิ๊ด โรคมาลาเรียและโรคฉี่หนูและบุคลากรจาก ภาควิชาต่างๆ มาทำงานร่วมกัน เริ่มจากการขอรับมาตรฐานการตรวจ วิเคราะห์โรคไข้เลือดออกเด็งกี่และได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003 จากสำนักมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการ ต้นแบบด้านมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL และรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่นในการยกระดับความ ปลอดภัยห้องปฏิบัติการในระดับภูมิภาค: ภาคกลาง ทำให้หน่วยงานหลาย แห่งมาดูงานและขอให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการทำแผนการทดสอบ ความชำนาญให้กับโรงพยาบาลทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นห้องปฏิบัติการฯ จึงเป็นตัวอย่างการร่วมมือของบุคลากรจากต่างหน่วยงาน มารวมกันเพื่อ พัฒนาให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    ความพึงพอใจต่อการใช้งานแบบประเมินผลออนไลน์ของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาหลักสูตรอายุรศาสตร์เขตร้อน คลินิกมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
    (2561) อัจจิมา ทรัพย์สุนทร; อารี บัวแพร; Augjima Sapsunthorn; Aree Bauprae; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    การสร้างแบบประเมินผลออนไลน์ทางเลือกใหม่ที่ทันสมัย รวดเร็ว ประหยัด และสะดวกในการส่งแบบประเมินผลการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเวลาอันสั้นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานแบบประเมินผลออนไลน์ของอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาหลักสูตรอายุรศาสตร์เขตร้อนคลินิกมหาบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน จำนวน 28 ท่าน และได้ข้อมูลป้อนกลับคิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจออนไลน์ ( Google forms) ประกอบด้วยคำถาม 4 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านความเป็นมัลติมีเดีย 3) ความพึงพอใจโดยภาพรวม และ 4) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้แบบประเมินผลออนไลน์ ข้อเสนอแนะในการพัฒนา สรุปความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (คะแนนเต็ม 5)
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    การพัฒนากระบวนทัศน์งานสอนภาคปฏิบัติการวิจัยทางชีววิทยาโมเลกุล
    (2561) สันติ มณีวัชระรังษี; มัลลิกา อิ่มวงศ์; เพียงจันทร์ สนธยานนท์; หวัง หงุ่ยตระกูล; อุษา บุญยืน; เนาวรัตน์ ศรลัมพ์; ศุภชัย โตภาณุรักษ์; มัทธิว พันชนะ; พาณี จักรแสงชัยโชติ; ทิพรัตน์ เที่ยงตรงจิตต์; ฐิติลักษณ์ สว่างศรี; นงลักษณวรรณ ฤทธิสุนทร; ศิริรัตนา วงศ์กิตติตระกูล; อรภัค เรี่ยมทอง; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    การพัฒนากระบวนทัศน์งานสอนภาคปฏิบัติการวิจัยทางชีววิทยาโมเลกุล เป็นผลงานจากงานสอน วขชพ ๕๐๔: เทคนิคชีววิทยาระดับโมเลกุลทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคเขตร้อนและพันธุศาสตร์ รวม ๕ ปี (๒๕๕๕-๒๕๖๐) เพื่อปรับปรุงกระบวนงานให้มีประสิทธิภาพ สอนได้ครบ ไว ตรงเวลา มีประสิทธิผล ผู้เรียนนำความรู้และทักษะไปใช้ได้จริงในรายวิชาอื่นและงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ โดยได้พัฒนารูปแบบการสอน สื่อ คู่มือปฏิบัติการ กิจกรรมภาคปฏิบัติ และใช้กระบวนงานสอนที่ระบุไว้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(มคอ.) ร่วมบูรณาการเป็นโมเดลงานสอนโรคเลปโตสไปโรสิส (ไข้ฉี่หนู) เพื่อการโคลนยีนและการผลิตโปรตีนริคอมไบแนนลิบแอลสามสิบสองของเชื้อเลปโตสไปราโดยใช้เทคนิคพื้นฐานทางชีว โมเลกุลอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ ผู้สอนได้สอดแทรกความรู้ในวิทยาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆรวมถึงฝึกทักษะที่จำเป็นอื่นๆให้ผู้เรียน กระบวนทัศน์นี้ ได้นำไปใช้บูรณาการงานสอน วขชพ ๕๑๐: ปฏิบัติการวิจัยทางชีววิทยาโมเลกุล หลักสูตร วท.ม. และ ปร.ด. อายุรศาสตร์เขตร้อน (นานาชาติ) ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ และจะเปิดสอนในภาคการศึกษา ๒/๒๕๖๑
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    Learn more here via QR code
    (2561) เบญจมาภรณ์ วงษ์พันธุ์; พุทรา ชลสวัสดิ์; Benjamaporn Wongphan; Putza Chonsawat; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    เนื่องจากการศึกษาดูงานและการฝึกงานของนักศึกษาในงานห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและจุลทรรศนศาสตร์คลินิกส่วนใหญ่จะใช้ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถอธิบายการตรวจวิเคราะห์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการได้อย่างครบถ้วนทันเวลาได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ทางห้องปฏิบัติการจึงได้จัดทำ QR Code เพื่อใช้สแกน ศึกษาวีดีโอสาธิตการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก โดยจัดทำ QR Code ติดไว้ใกล้เคียงกับการทำการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ใน ห้องปฏิบัติการฯ เพื่อให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงานและนักศึกษา ได้นำความรู้ที่ได้จากวีดีโอสาธิตไปใช้ในการปฏิบัติงานการตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและจุลทรรศนศาสตร์คลินิก ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
  • Thumbnail Image
    ItemOpen Access
    พัฒนากระบวนการรับสิ่งส่งตรวจและส่งผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร (Fast receive – Fast send)
    (2561) ฉัตรนภา ดวงดี; วิมล ยานพานิชย์; จันทวรรณ สัตยารักษ์; สมนึก สังข์หอย; สุรีย์มาศ จันทร์เด่นแสง; สุปราณี วงค์ดี; ชุมพล คล้ายทองคำ; กิตติเทพพิทักษ์ จันทร์น้อย; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
    งานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตรได้รับข้อร้องเรียนเรื่องผลการตรวจวิเคราะห์ที่ล่าช้า 10 – 20 ครั้งต่อปี เมื่อวิเคราะห์กระบวนการทางห้องปฏิบัติการทั้งหมดพบว่า กระบวนการรับสิ่งส่งตรวจและการส่งใบรายงานผลเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับผลล่าช้า ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของงานห้องปฏิบัติการฯ จึงได้ร่วมกันพัฒนากระบวนการรับสิ่งส่งตรวจและการส่งผลการตรวจวิเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาของกระบวนการข้างต้น จากการประชุมผู้ปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางและได้ทดลองปฏิบัติเป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนพ.ย. 2560 – เม.ย.2561) พบว่า สามารถลดขั้นตอนได้ 1 ขั้นตอนในแต่ละกระบวนการ ทำให้ลดเวลาสูญเสียรวมทั้งหมด 406 ชั่วโมง 27 นาที ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานได้ 1 คน หน่วยงานสามารถลดการใช้กระดาษได้ 995 แผ่น ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่าย 876 บาท และท าให้ผู้ปฏิบัติงานลดระยะทางการเดินได้ถึง 14.6 กิโลเมตร ซึ่งการพัฒนากระบวนการทั้งหมดนี้นอกจากจะทำให้ผู้รับบริการได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่รวดเร็วขึ้น ยังทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นอันเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติงานที่ยั่งยืน
  • Item
    The impact of water resources development on the health of the communities and preventive measures for adverse effects : abstracts [held on]
    (1988) SEAMEO. Regional Tropical Medicine and Public Health; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine
  • Item
    Proceedings of the workshop on development of early diagnosis and management of cholangiocarcinoma associated with opisthorchiasis
    (1990) Santasiri Sornmani; Thanongsak Bunnag; Mahidol University. Faculty of Tropical Medicine