Battered wife syndrome : legal proceedings in Thailand
Issued Date
2023
Copyright Date
2015
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 187 leaves ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Sureeshine Phollawan Battered wife syndrome : legal proceedings in Thailand. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89777
Title
Battered wife syndrome : legal proceedings in Thailand
Alternative Title(s)
การฆาตกรรมโดยภรรยาที่ถูกทารุณจากสามี : กรณีศึกษามาตรการดำเนินคดีในประเทศไทย
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
This research aims to analyze nature of problems and restrictions of the law concerning protection of the wife murdering her husband as a result of having the battered wife syndrome, so as to seek appropriate and fair legal proceedings. The researcher collected the qualitative information from documents and indepth interviews to 18 qualified people involved in the judicial process and the wife murdering her husband as a result of being battered by her husband as domestic violence and the quantitative information by means of questionnaires to 201 concerned people involved in the judicial process and a survivor of domestic violence. The research results show that the legal proceedings against the wife murdering her husband as a result of having the battered wife syndrome have problems relating to the statutes of law and enforcement engendering unfairness in 4 main issues i.e. 1. The applicable laws have none of statutes covering the case of the offender having battered wife syndrome 2. The process of legal proceedings and performance of duties of personnel in judicial process 3. Inappropriate and unfair application of penalties under the Penal Code 4.Unawareness of rights and duties and attitudes of personnel in the judicial process. The research had suggestions for 5 main issues i.e. 1. To amend the definition of domestic violence in Section 3 of the Protection of Domestic Violence Victims Act B.E.2550 to include an offence relating to life 2. To proclaim the court's ordinance on the guidelines for protection in a domestic violence survivor's case to exercise methods of fact-finding in the case and in case of necessity the court has the power to refer the defendant for physical and mental check-ups and to require testimony of an expert witness in the stages of the court hearing 3. In consideration of proof and judgment in the case of the wife murdering her husband as a result of having battered wife syndrome, the court has the power to take measures of therapy, rehabilitation, probation of the offender's behavior, indemnification of the offender, community work and public service or parole in lieu of inflicting a penalty 4. Dissemination of information about battered wife syndrome, capacity and skill building for personnel in the judicial process in legal proceedings of domestic violence cases 5. Campaigning with the public to adjust attitudes in relation to domestic violence and mythology on gender inequality.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองภรรยาที่ฆ่าสามีขณะที่มีอาการของหญิงที่ถูกทำร้าย (Battered Wife Syndrome) เพื่อหาแนวทางดำเนินคดีให้เหมาะสมและเป็นธรรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และภรรยาที่ฆ่าสามีเนื่องจากถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 18 คน และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 201 คน ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินคดีกับภรรยาที่ฆ่าสามีขณะที่มีอาการของภรรยาที่ถูกทำร้าย มีสภาพปัญหาด้าน บทบัญญัติกฎหมาย และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปัญหาการไม่มีกฎหมายใดบัญญัติครอบคลุมถึงกรณีของผู้กระทำที่มีอาการภรรยาที่ถูกทำร้าย 2. ปัญหากระบวนการดำเนินคดีตามกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม 3. การใช้บทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานฆ่าคนตายไม่เหมาะสมและเป็นธรรมกับข้อเท็จจริงในลักษณะดังกล่าวนี้ 4.ปัญหาการไม่รู้สิทธิและหน้าที่ของประชาชน และทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย มี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ควรแก้ไขคำนิยามความรุนแรงในครอบครัวในมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดต่อชีวิตด้วย 2. การออกระเบียบศาลว่าด้วยแนวปฏิบัติคดีคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ควรใช้วิธีการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงในคดี และเมื่อพบเหตุจำเป็นให้ศาลมีคำสั่งส่งจำเลยเข้ารับการตรวจสุขภาพกายและจิต และในชั้นพิจารณาพยานผู้เชี่ยวชาญต้องมาเบิกความ 3. การพิจารณาพิพากษาคดีที่พิสูจน์ได้ว่าภรรยาฆ่าสามีขณะที่มีอาการของภรรยาที่ถูกทำร้าย ให้ศาลมีอำนาจกำหนดใช้วิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ หรือทำทัณฑ์บนแทนการลงโทษผู้กระทำความผิดตามสมควรแก่ กรณี 4.ควรให้ความรู้เรื่องอาการเจ็บป่วยทางจิตของภรรยาที่ถูกทำร้าย และการสร้างความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลากรใน กระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว 5.ควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนปรับทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและมายาคติเรื่องความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองภรรยาที่ฆ่าสามีขณะที่มีอาการของหญิงที่ถูกทำร้าย (Battered Wife Syndrome) เพื่อหาแนวทางดำเนินคดีให้เหมาะสมและเป็นธรรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และภรรยาที่ฆ่าสามีเนื่องจากถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 18 คน และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว จำนวน 201 คน ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินคดีกับภรรยาที่ฆ่าสามีขณะที่มีอาการของภรรยาที่ถูกทำร้าย มีสภาพปัญหาด้าน บทบัญญัติกฎหมาย และปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปัญหาการไม่มีกฎหมายใดบัญญัติครอบคลุมถึงกรณีของผู้กระทำที่มีอาการภรรยาที่ถูกทำร้าย 2. ปัญหากระบวนการดำเนินคดีตามกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม 3. การใช้บทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานฆ่าคนตายไม่เหมาะสมและเป็นธรรมกับข้อเท็จจริงในลักษณะดังกล่าวนี้ 4.ปัญหาการไม่รู้สิทธิและหน้าที่ของประชาชน และทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย มี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ควรแก้ไขคำนิยามความรุนแรงในครอบครัวในมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดต่อชีวิตด้วย 2. การออกระเบียบศาลว่าด้วยแนวปฏิบัติคดีคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ควรใช้วิธีการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงในคดี และเมื่อพบเหตุจำเป็นให้ศาลมีคำสั่งส่งจำเลยเข้ารับการตรวจสุขภาพกายและจิต และในชั้นพิจารณาพยานผู้เชี่ยวชาญต้องมาเบิกความ 3. การพิจารณาพิพากษาคดีที่พิสูจน์ได้ว่าภรรยาฆ่าสามีขณะที่มีอาการของภรรยาที่ถูกทำร้าย ให้ศาลมีอำนาจกำหนดใช้วิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ หรือทำทัณฑ์บนแทนการลงโทษผู้กระทำความผิดตามสมควรแก่ กรณี 4.ควรให้ความรู้เรื่องอาการเจ็บป่วยทางจิตของภรรยาที่ถูกทำร้าย และการสร้างความเชี่ยวชาญให้แก่บุคคลากรใน กระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีความรุนแรงในครอบครัว 5.ควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนปรับทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและมายาคติเรื่องความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University