การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับไขมันในเลือดกับการตายในกลุ่มของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3,499 คน
Issued Date
2546
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ปริศนา ปทุมอนันต์, กุลยา นาคสวัสดิ์, อมรรัตน์ โพธิพรรค, ปิยะมิตร ศรีธรา, รัตนา พากเพียรกิจวัฒนา (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับไขมันในเลือดกับการตายในกลุ่มของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3,499 คน. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63579
Title
การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับไขมันในเลือดกับการตายในกลุ่มของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 3,499 คน
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันในเลือดกับการตายจากสาเหตุต่างๆในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 3499 คน (ชาย 2702 คน, หญิง 797 คน) เก็บข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ตัวแปรต้นคือระดับไขมันในเลือด (Total cholesterol (TC), High density lipoprotein cholesterol (HDL-C), Low density lipoprotein cholesterol (LDL-C) และ Triglyceride (TG)) ตัวแปรควบคุมได้แก่ เพศ อายุ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ค่าดัชนีมวลกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการออกกำลังกาย ตัวแปรตามคือการตายจากทุกสาเหตุและเฉพาะสาเหตุ ติดตามการตายย้อนหลังเป็นเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี 2528-2543 สาเหตุการตายที่สำคัญในเพศชายคือ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และในเพศหญิงคือโรคมะเร็ง อัตราตายปรุงปรับจากทุกสาเหตุ ในช่วงอายุ 35-64 ปี 4.02 ต่อ 1000 และเพศหญิง 1.75 ต่อ 1000
ผลการวิเคราะห์เชิงซ้อนเพื่อหาความหนักแน่นของความสัมพันธ์ พบความสัมพันธ์ทางลบระหว่าง TC และ LDL-C กับการตายจากโรคตับแข็ง ซึ่งการที่ระดับไขมันในเลือดต่ำอาจเนื่องมาจากพยาธิสภาพของโรคตับแข็ง พบว่าระดับของ HDL-C ที่เพิ่มขึ้น 1 มิลลิโมลต่อลิตร จะลดความเสี่ยงต่อการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (RR=0.35, 95%CI=0.14-0.87) โรคหลอดเลือดหัวใจ (RR=0.27, 95%CI=0.08-0.90) และการตายจากทุกสาเหตุ (RR=0.60, 95%CI=0.38-0.94) นอกจากนี้ยังพบว่า เพศชาย (RR=4.88, 95%CI=1.50-15.89) อายุที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ปี (RR=3.04, 95%CI=1.90-4.86) มีความดันโลหิตสูง (RR=2.57, 95%CI=1.59-4.17) และโรคเบาหวาน (RR=3.02, 95%CI=1.73-5.27) เพิ่มเสี่ยงต่อการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้ไม่มีปัจจัยเหล่านี้ การส่งเสริมสุขภาพโดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น การรณรงค์ให้ออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับ HDL-C ซึ่งจะสามารถลดการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และการตายจากทุกสาเหตุ
Description
ประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง ความเป็นธรรมด้านสุขภาพกับความมั่นคงของมนุษย์: ความท้าทายในงานสาธารณสุข, วันที่ 17-19 ธันวาคม 2546 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546. หน้า 235.