Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 10 of 113
- Itemปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในงานควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และสาธารณสุขของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข(2565) ชลลดา มีทรัพย์; วัลลีรัตน์ พบคีรี; นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์; ปรารถนา สถิตวิภาวีความร่วมมือในงานควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และสาธารณสุขของบุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข (สวส) กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และหาความสัมพันธ์ ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติ และการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการธำรงรักษาระบบคุณภาพของสถาบันฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสถาบันฯทั้งหมด จำนวน 322 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม อัตราการตอบกลับแบบสอบถาม ร้อยละ 85.6 การวิเคราะห์ ข้ อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรสวส. เกินครึ่งหนึ่ง มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมธำรงรักษาระบบคุณภาพโดยรวมอยู่ ในระดับสูง (ร้อยละ 65.4) บุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับการธำรงรักษาระบบคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.2) และเจตคติที่มีต่ อการธำรงรักษาระบบคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 53.8) และพบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา การดำรงตำแหน่ง ระดับวิชาชีพ การเข้าฝึ กอบรมระบบคุณภาพ มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบัน อย างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ความรู เกี่ยวกับการธำรงรักษาระบบคุณภาพด้านการทบทวนระบบคุณภาพ และด้านการตรวจประเมินแบบเฝ้าระวัง มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบันฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) เจตคติต่อการธำรงรักษาระบบคุณภาพ(ทั้งรายด้านและโดยรวม) มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบันฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) จากผลการวิจัย ควรส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรสถาบัน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการธำรงรักษาระบบคุณภาพให้ อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการจัดทำหลักสูตรที่เน้นการตรวจติดตามคุณภาพภายใน การตรวจประเมินแบบเฝ้าระวังให้ กับบุคลากร ผู้ บริหารควรให้ความสำคัญการบริหารจัดการด้านบุคลากร และงบประมาณ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้กับบุคลากรและองค์กร นำไปสู่การธำรงรักษาระบบคุณภาพให้มีมาตรฐานอย่างยั่งยืน
- Itemปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ ผสมผสาน(2565) กฤษณะ คตสุข; วัลลีรัตน พบคีรี; ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ; ปิ ยะธิดา ขจรชัยกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ อความเชื่อมั่นในการใช้ บริการการแพทย์ แผนไทย ในโรงพยาบาลการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ ผสมผสาน กลุ่ มตัวอย่ างคือประชาชนที่มาใช้ บริการการแพทย์ แผนไทยในโรงพยาบาลการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ ผสมผสาน จำนวน 392 คน โดยใช้ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ สถิติเป นความถี่ ร้อยละ และหาความสัมพันธ์ โดยใช้ สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะทางประชากรของประชาชนที่มาใช้ บริการการแพทย์ แผนไทย พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 เป็ นเพศหญิง อายุมากกว่ า 50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ มีสถานภาพสมรส มีรายได้ เฉลี่ยต่ อเดือนระหว่าง 10,001 – 25,000 บาท ส่วนใหญ่ ไม่ มีโรคประจำตัว และสิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ เป็ นสิทธิข้าราชการ สำหรับระดับความรูู้ เจตคติ ความพึงพอใจ และระดับความเชื่อมั่นในการใช้ บริการการแพทย์ แผนไทย อยู่ ในระดับต่ำ-ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 58.7, 61.7, 60.2 และ 53.1 ตามลำดับ ส วนความสัมพันธ ระหว่างคุณลักษณะทางประชากร ระดับความรู้ เจตคติ และความพึงพอใจ กับระดับความเชื่อมั่นการใช้ บริการการแพทย์ แผนไทย พบว่า คุณลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์ กับระดับความเชื่อมั่นในการใช้ บริการการแพทย์ แผนไทย (p-value < 0.05) ส วนระดับความรู้ เจตคติ และความพึงพอใจกับระดับความเชื่อมั่นในการใช้ บริการการแพทย์ แผนไทยมีความสัมพันธ์ กัน (p-value < 0.001) ข อเสนอแนะจากการวิจัย เห็นว่าผู้ บริหารควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ เข้ามามีส่ วนร่ วมในการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการบริการการแพทย์ แผนไทย และควรปรับปรุงระบบบริการการแพทย แผนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ไว้ วางใจ ต่อการมาใช้ บริการการแพทย์ แผนไทยต่ อไป
- Itemพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ของผู้ ป่วยวัณโรคของพื้นที่ชายแดนไทย - เมียนมา อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก(2565) สุภาพร สารเรือน; ณัฐนารี เอมยงค์; วิศิษฏ์ ฉวีพจน์ กำจรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่แพร่ระบาดของวัณโรค และประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่เชื้อวัณโรคจากประเทศเพื่อนบ าน เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐจึงมีนโยบายการป้องกันโควิด-19 ที่สามารถป้องกันการติดเชื้ออทางเดินหายใจอื่น ๆ รวมทั้งวัณโรคด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป องกันโรคโควิด-19 ของผู้ป่วยวัณโรคพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.อุ้มผาง และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยวัณโรคในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยนำขข้อมูลมาวิเคราะห์จากแบบฟอร์มการบันทึกระบบเฝ้าระวังวัณโรคจากชายแดนไทย-เมียน ชื้ออำเภออุ้มผางจังหวัดตาก และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดระหว่างการระบาดของโควิด-19 ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 34 คนที่มารับการรักษาระหว างปี 2563-2564 พบวว่าพฤติกรรมการป้องกันการแพร ระบาดโควิดที่ไม่เหมาะสม ไม่สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้านร้อยละ 41.2 มีการสวมหน ากกากซ้ำร อยละ 100 ระหว างวันใส่หน้ากากหลุดใต้คางร้อยละ 95 พฤติกกรรมการล้างมือของผู้ป่วยวัณโรคไม่ล้างมือหลังรับของจากผู้อื่นในช่วงสถานกาณ์การระบาดโควิด-19 ร้อยละ 85.3 และมีพฤติกรรมล างมือด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์และอาบน้ำหลังกลับเข้าบ้านระหว่างวันบางครั้งร้อยละ 67.7 พฤติกรรมล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารร้อยละ 85.3 พฤติกรรมการเว้นระยะห างระหว่างบุคคลเมื่อออกนอกบ้านบางครั้งร้อยละ 97.1 ด้านผลกระทบผู้ป่วยโควิดร้อยละ 67.6 คือปัจจัยด้านการรักษา ปัจจัยด้านยา ปัจจัยส วนบุคคล (การขาดรายได้ ช่วงโควิด-19 ระบาด) สรุปควรมีการประชาสัมพันธ และสื่อสารให้ผู้ปป่วยวัณโรค 58 การประชุมวิชาการศูนย์การแพทย กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 10 ประจำปี 2565 ทราบและตระหนักความสำคัญของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการแพร กระจายโรคของผู้ป่วยวัณโรคของอำเภออุ้มผาง เพื่อลดอัตราการแพร ระบาดของเชื้อวัณโรคและโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ รวมถึงโควิด-19
- Itemการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชายแดนไทย - พม่า จังหวัดตาก(2565) โยษิตา ทวดอาจ; ณัฐนารี เอมยงค์; สุคนธา ศิริการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เป็นปัญหาที่สร้างภาระให้กับทุกประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูู่บ้าน (อสม.) กลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในระบบเฝ้าระวังโรคโควิด-19 โดยเฉพาะหมูู่บ้านละแวกใกล้บริเวณชายแดนไทย - พม่า โดยนอกเหนือจากบทบาทในการคัดกรองและระบุผู ที่มีความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 แล้ว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ยังต้องเป็นแบบอย่างให้กับชาวบ้านในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ และการรักษาระยะห่างทางสังคม ดังนั้นข้อมูลการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ชายแดนจึงกลายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับระบบสุขภาพพื้นฐาน การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตากโดยการนำแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างกรอกขข้อมูลด้วยตนเอง จำนวน 222 ราย ในโรงพยาบาลส่วเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 4 แห่ง และใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พบว่าร้อยละ 54.1 ปฏิบัติตามแนวทางป้องกันโรคโควิด-19 และร้อยละ 45.9 ไม่ปฏิบัติตามแนวทางป องกันโรคโควิด-19
- Itemปัจจัยสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 5(2565) ทศพล วัฒนะพันธ ศักดิ์; จารุวรรณ ธาดาเดช; ณัฐกมล ชาญสาธิตพรโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็ นหน่ วยงานปฐมภูมิที่มีบทบาทสำคัญควบคุมและป้องกันการเกิดโรค โดยการติดตามกลุ่มเป้าหมายด้วยตัวชี้วัด เพื่อลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบสุขภาพประชาชนในระยะยาว งานวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 5 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามบุคลากรที่รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังใน รพ.สต. จำนวนทั้งหมด 912 แห่ง อัตราการตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 719 ชุด (ร้อยละ 78.8) จากจำนวนทั้งหมด 912 ชุด ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2560 วิเคราะห์ โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบมีรพ.สต. 238 แห่ง (ร้อยละ33.1) ที่มีผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ การดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากนั้นการวิจัยพบว่าบรรยากาศการทำงานรพ.สต. มีความสัมพันธ์ กับผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) งานวิจัยนี้ได้ ชี้ว่าการดำเนินให้รพ.สต. ได้ ผ่านเกณฑ์ ผู้บริหารควรส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่สนับสนุนช่วยเหลือกัน และสนับสนุนการทำงานเป็นทีมที่เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสารสองทิศทาง วัฒนธรรมที่ให้ความร่วมมือกันจะส่งเสริมให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายผ่านตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดได้
- ItemHeartSound(2564) ปูม มาลากุล ณ อยุธยา; Poom Malakul Na Ayudhya; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์HeartSound เป็นโปรแกรม android mobile app ที่สามารถจำแนกเสียงการเต้นของหัวใจ (Heart sound classification) ได้เป็นสองกลุ่ม คือเสียงผิดปกติ (abnormal) และเสียงปกติ (normal) โดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning โปรแกรมนี้ยังสามารถทำงานได้ในสองลักษณะ คือ วิเคราะห์แบบเรียลไทม์ หรือวิเคราะห์ไฟล์เสียง
- ItemMachine Learning Mobile app เพื่อช่วยการตรวจเชื้อมาลาเรียจากรูปภาพ(2561) ปูม มาลากุล ณ อยุธยา; Poom Malakul Na Ayudhya; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์เทคโนโลยีด้าน Machine Learning ได้ถูกพัฒนาขึ้นมากจนมีความ แม่นยำใกล้เคียงกับความสามารถของมนุษย์ โดยเฉพาะในด้าน Image Classification ขณะที่เทคโนโลยีบนอุปกรณ์มือถือก็มีขีดความสามารถสูงขึ้น มาก การนำเทคโนโลยีทั้งสองมาประยุกต์ในการให้บริการสุขภาพเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย โครงการนี้เป็นตัวอย่างของการนำ เทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ โดยการพัฒนา app บนมือถือ เพื่อสร้าง ระบบอัตโนมัติในการตรวจหาเชื้อมาลาเรียโดยใช้รูปภาพ พบว่าในตัวอย่าง การตรวจแบบ thick smear ระบบอัตโนมัตินี้สามารถตรวจพบเชื้อได้ดี
- Itemการศึกษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดินแดง กรุงเทพฯ รายงานตอนที่ 3 : การแยกเชื้อและการพิสูจน์เอกลักษณ์ของเชื้อแบคทีเรียและไวรัสจากตัวอย่างตรวจ(2531) อนงค์ ปริยานนท์; กานดา วัฒโนภาส; เจตน์สันต์ แตงสุวรรณ; ระวิวรรณ แสงฉาย; สุวณีย์ รักธรรม; ศุภรี สุวรรณจูฑะ; มาลัย วรวิจิต; พนิดา ชัยเนตร; จันทพงษ์ วะสี; พิไลพรรณ พุทธวัฒนะ; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช.สืบเนื่องมาจากการศึกษาวิจัยในชุมชนของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี นั้น เมื่อมีเด็กป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่มีอาการเล็กน้อยหรืออาการปานกลาง ผู้ทำหน้าที่ดูแลอาสาสมัครจะเก็บสิ่งตรวจโดยการดูดเอาน้ำมูกหรือกวาดคอของเด็กป่วย หรือดูดเอาในส่วนนาโซฟาริงค์ เพื่อส่งไปตรวจหาเชื้อไวรัสที่ห้งอปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาลศิริราช ขณะสิ่งตรวจอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำส่งไปแยะเชื้อและพิสูจน์เอกลักษณ์เชื้อแบคทีเรียที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ไวรัส 28.8% พบจากสิ่งตรวจของนาโซฟาริงค์และเป็น RSV 12.2 % Parainfluenzae 1; 2.2% Parainfluenzae 2; 4.4, Influenzae 3.3%, Adenovirus 5.5 % และไวรัสอื่นๆ 1.1 % อย่างไรก็ตามไวรัสส่วนใหญ่พบในคนไข้ที่มีอาการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน สำหรับแบคทีเรียซึ่งแยกได้จากคนไข้ที่มีอาการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนนั้นเป็น S. pneumoniae 26.27 %, H.influenxae non B 18.64 %, H.influenzae B 2.54 %, S.aureus, 13.56%, และแบคทีเรียชนิดอื่ๆประมาณ 12.71 % ส่วนคนไข้ที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนล่างนั้นพบเชื้อ S.pneumoniae เพียง 0.84 % H.fluenzae non B. 2.54 % และ S. aureus 1.69 % เท่านั้น
- ItemAnthemintic effect of albendazone, mebendazone and diethylcarbamazine on Trichinella spiralis in mice(2531) Angoon Keittivuti; องุ่น เกียรติวุฒิ; Boonyiam Keittvuti; บุญเยี่ยม เกียรติวุุฒิ; Mahidol University. Faculty of Public Health. Department of Parasitology.The efficacy of albendazone, mebendazone and diethylcarbamazine on Trichinella spiralis in mice were treated with 50 mg/kg body weight for 3 consecutive days on the beginning of 2nd.day, 10th.day, 21st.day and 28th.day. After 35-42 days infected mice were examined for trichinella larvae. Mebendazone and albendazone eliminated worms in the intestines of mice 99.8% and 99.95% respectively while diethylcarbamazine could not induce any effects to the worms. For the invasive phase, the effect of mebendazone and diethylcarbamazine were nearly the same (76% and 73% respectively) but albendazole showed 36% of larvae decreased. Mebendazole reduced the numbers of the larvae on entering musculature phase and encysted larvae in the muscle 97.9% and 96.7% respectively. Albendazole and diethylcarbamazine decreased the larvae in muscle on entering muscularture phase 50.6% and 16% respectively. For musculature phase albendazole reduced the encysted larvae in muscle 63.8% but diethylcarbamazine could not eliminate the encysted larvae. However mice showed some side effect after treated with mebendazole and albendazole for musculature phase but side effect was subside after 2-3 days following the first day of administration.
- Itemระยะเวลาในการสร้างภูมิต้านพิษคอตีบหลังได้รับวัคซีน ดีที 1 โดส ในนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เขตอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท(2531) วรัญญา แสงเพ็ชร์ส่อง; สุเนตร แสงม่วง; ศุภชัย ฤกษ์งาม; ธวัชชัย วรพงศ์ธร; กานดา วัฒโนภาส; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.การติดตามศึกษาประสิทธิผลของการสร้างภูมิต้านพิษคอตีบในเด็กชั้นประถมปีที่ 1 หลังการได้รับวัคซีน ดีที หนึ่งครั้ง 7 และ 14 วัน ประชากรศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เขต อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ตรวจเลือดจำนวน 525 คน เลือกเฉพาะ ผู้ที่มีระดับภูมิต้านพิษต่ำกว่าที่คุ้มกันได้ (0.5 หน่วยต่อซีซี) ทั้งหมด 136 ราย มีค่ามัชฌิมเรขาคณิตของภูมิต้านพิษเท่ากับ 0.24 ± 0.08 หน่วย ต่อซีซี ภายหลังได้รับวัคซีน ดีที 1 เข็ม ติดตามตรวจเลือดได้ 112 ราย (ร้อยละ 82.3 จากจำนวนทั้งหมด) พบว่าค่ามัชฌิมเรขาคณิตของภูมิต้านพิษคอตีบเท่ากับ 0.76 ± 1.18 และ 2.57 ± 3.34 หน่วย ต่อซีซี หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว 7 วัน และ 14 วันตามลำดับ ภูมิต้านพิษมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (repeat ANOVA test; P = 0.0001) และการเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับวัคซีน 7 วัน กับ 14 วัน มีความแตกต่างกันยอ่างมีนัยสำคัญด้วย (pair t – test; p = 0.0001) อัตราผู้มีภูมิต้านพิษที่เพิ่มขึ้นจนถึงระดับคุ้มกันโรคได้หลังได้รับวัคซีน 7 วันและ 14 วันมีร้อยละ 52.6 และ 86.6 ตามลำดับ ปัจจัยอันได้แก่เพศและการได้วัคซียเมื่ออายุ 1 ปี 6 เดือน มีผลต่อระดับภูมิต้านพิษคอตีบจากการวิเคราะห์ทางสถิติวิธี repeat ANOVA (p = 0.019 และ p = 0.037 ตามลำดับ) กล่าวได้ว่าปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการสร้างภูมิต้านพิษจากได้รับวัคซีนครั้งนี้ ปัจจัยอื่นๆไม่มีผลต่อระดับภูมิต้านพิษคอตีบคือ ภาวะทุพโภชนาการ (p = 0.36) ภาวะเจ็บป่วยในรอบ 12 เดือน (p = 0.40) ประวัติการได้รับวัคซีนช่วงอายุ 0-1 ปี (p = 0.40) และการได้รับวัคซีนกระตุ้นเมื่อ 4-6 ปี (p = 0.17) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า การใช้วัคซีนฉีดเพื่อป้องกันโรคคอตีบในชุมชนเมื่อมีโรคนี้เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้สูงมาก