ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบลของประเทศไทย พ.ศ. 2534
Issued Date
2534
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
รำไพ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (2534). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบลของประเทศไทย พ.ศ. 2534. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63543
Title
ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับตำบลของประเทศไทย พ.ศ. 2534
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลของประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบ Statified single stage sampling ได้ตัวอย่าง 5 จังหวัด ได้ตัวอย่าง 5 จังหวัด คือ ตราด ราชบุรี ปัตตานี สุโขทัย ร้อยเอ็ด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลจำนวน 1,721 คน เก็บข้อมูลทางไปรษณีย์ผ่านสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ได้คำตอบกลับจำนวน 822 คน คิดเป็นร้อยละ 47.8 ของตัวอย่าง ผลการวิจัยได้ดังนี้
ความพึงพอใจรวมทุกด้านเป็นบวก ค่อนข้างต่ำ คือมีค่าเฉลี่ย 3.6 ± 0.7 ถ้าพิจารณาความพึงพอใจด้านต่างๆ พบว่าเป็นบวกค่อนข้างสูงเพียงด้านเดียว คือความพึงพอใจในผลงานของคนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.2 ± 0.7 นอกนั้นเป็นบวกค่อนข้างต่ำ คือ ค่าเฉลี่ยด้านรายได้ 3.1±1.0 สภาพงาน 3.6 ± 0.8 ความก้าวหน้าของตนเอง 3.9 ± 0.9 ผลรวมความพึงพอใจเกี่ยวกับตนเองมีค่าเฉลี่ย 3.7 ± 0.7 ความพึงพอใจอุปกรณ์การทำงานมีค่าเฉลี่ย 2.7 ± 1.1 ความพึงพอใจในผู้บังคับบัญชามีค่าเฉลี่ย 3.7 ± 0.8 และความพึงพอใจในเพื่อนร่วมงานมีค่าเฉลี่ย 3.9 ± 0.8
มีความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของเบี้ยเลี้ยงในช่วงปี พ.ศ. 2533 กับสภาพการทำงานของตนเอง (r=0.1312) และกับผลรวมของความพึงพอใจของตนเอง (r=0.1322)
สรุปโดยภาพรวมแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลของประเทศไทย มีระดับความพอใจในงานเป็นบวกค่อนข้างต่ำในแทบทุกเรื่อง ดังนั้นจึงเห็นควรปรับปรุงสภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในแทบทุกเรื่อง
Description
เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 241.