ประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 162 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
สุภาพร แก้วสมนึก ประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92573
Title
ประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Alternative Title(s)
The effectiveness of coping skills training program for lower secondary school students
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดต่อความรู้ในการใช้ทักษะการเผชิญความเครียด ระดับความเครียด และความสุขของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเข้าโปรแกรมจำนวน 49 คน และกลุ่มไม่เข้าโปรแกรมจำนวน 32 คน กลุ่มเข้าโปรแกรมได้รับโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มไม่เข้าโปรแกรมได้รับการทำกิจกรรมปกติตามที่โรงเรียนจัดให้ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินก่อนและหลังการทดลองด้วย แบบวัดวิธีการเผชิญความเครียดและดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย โดยใช้สถิติ t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้สถิติ Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney test ในการวิเคราะห์ ข้อมูลแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย เนื่องจากมีการกระจายของข้อมูลแบบไม่ปกติ ผลการศึกษา นักเรียนกลุ่มเข้าโปรแกรมมีทักษะการเผชิญความเครียดแบบเหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.01 ในด้านการประเมินค่าใหม่ทางบวกและการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาตามลำดับ และกลุ่มเข้าโปรแกรมมีคะแนนทักษะการเผชิญความเครียด ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อ ปัญหาเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มไม่เข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการประเมินระดับความเครียดก่อนและหลังเข้าโปรแกรมพบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการประเมินระดับความสุขก่อนและหลังเข้าโปรแกรมก็พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน สรุปโปรแกรมอบรมทักษะการเผชิญความเครียดนี้สามารถช่วยให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นในการใช้ทักษะการเผชิญความเครียดในด้านการประเมินค่าใหม่ทางบวกและการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหา จึง สามารถนำไปใช้อบรมวัยรุ่นให้มีทักษะการเผชิญความเครียดได้ แต่ยังต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
The aim of this research was to study the effectiveness of Coping skills training program for lower secondary school students in coping with stress, level of stress and happiness. A quasi-experimental research design was used in this study using 81 purposively sampled Mattayom 2 students who were classified into 2 groups forty-nine (49) students in an experimental group and thirty-two (32) students in a control group. The experimental group obtained a one-hour 10 time coping skills training whereas the control group attended regular school activities. The assessments, including Way of Coping Questionnaire, Thai Stress Test, and Thai Happiness Indicators (THI - 15), were used to evaluate at baseline and at the end of the study. Statistical analysis t-test, Wilcoxon signed ranks test and Mann-Whitney test were used. Results, showed that the students in the experimental group had significantly higher stress coping skills after the intervention in positive outcome perception (p<0.001) and problem responsibilities (p<0.01). Stress coping score in the experimental group had significantly increased more than the control group in problem responsibilities (p<0.01). The scores of stress level were not significantly different. The scores of happiness level were also not significantly different. In conclusion,This coping skills training intervention could help students increase their knowledge of stress coping skills in the aspects of problem responsibilities and positive outcome perception, however, it should be improved for better effectiveness in other dimensions.
The aim of this research was to study the effectiveness of Coping skills training program for lower secondary school students in coping with stress, level of stress and happiness. A quasi-experimental research design was used in this study using 81 purposively sampled Mattayom 2 students who were classified into 2 groups forty-nine (49) students in an experimental group and thirty-two (32) students in a control group. The experimental group obtained a one-hour 10 time coping skills training whereas the control group attended regular school activities. The assessments, including Way of Coping Questionnaire, Thai Stress Test, and Thai Happiness Indicators (THI - 15), were used to evaluate at baseline and at the end of the study. Statistical analysis t-test, Wilcoxon signed ranks test and Mann-Whitney test were used. Results, showed that the students in the experimental group had significantly higher stress coping skills after the intervention in positive outcome perception (p<0.001) and problem responsibilities (p<0.01). Stress coping score in the experimental group had significantly increased more than the control group in problem responsibilities (p<0.01). The scores of stress level were not significantly different. The scores of happiness level were also not significantly different. In conclusion,This coping skills training intervention could help students increase their knowledge of stress coping skills in the aspects of problem responsibilities and positive outcome perception, however, it should be improved for better effectiveness in other dimensions.
Description
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Degree Discipline
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล