การสร้างสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

dc.contributor.advisorธันยาภรณ์ โพธิกาวิน
dc.contributor.advisorปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล
dc.contributor.authorกุลทรัพย์ ทองปาน
dc.date.accessioned2024-07-09T02:07:29Z
dc.date.available2024-07-09T02:07:29Z
dc.date.copyright2563
dc.date.created2563
dc.date.issued2567
dc.descriptionดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง การใช้สื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยโดยมีเนื้อหาแยกตามประเภทเครื่องดนตรี ได้แก่ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า สำหรับนักเรียนชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) การสังเกตแบบมีเค้าโครง (Structured Observation) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ({u1D465}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมติฐานแบบ t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1)การสร้างสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างขึ้นตามทฤษฎีและขั้นตอนการสร้างสื่อการเรียนรู้ โดยแบ่งรายละเอียดเนื้อหาเป็น 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องที่ 1 ประเภทและเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด เรื่องที่ 2 ประเภทและเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี เรื่องที่ 3 ประเภทและเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เรื่องที่ 4 ประเภทและเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า 2)สื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยมีประสิทธิภาพ 89.9/92.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนผ่านสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractThis research purposes were 1) to produce Thai classical music learning media for Kindergarten level 3 at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Primary Department) 2) to find out the effectiveness of Thai classical music learning media for Kindergarten level 3 at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Primary Department) and 3) to compare learning achievement before and after using Thai classical music learning media for Kindergarten level 3 at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Primary Department). The sample in this research was 30 students in kindergarten level 3, 2nd semester educational year 2019 by simple random sampling. The research tools were 1) Thai classical music learning media categorized by kinds of feature which are flicking, rubbing, beating, and blowing for Kindergarten level 3 at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Primary Department) 2) learning achievement form both before and after class 3) structure observation. Statistics in data analysis were average (x), Standard Derivation, and t-test dependent. Results showed that Thai classical music learning media, 1) designing and producing Thai classical music learning media for kindergarten level 3 at Srinakharinwirot Prasarnmit Demonstration School (Primary Department) had been done following theory and learning media progress by categorizing as 4 lessons namely: 1) features and sounds of flicking instruments 2) features and sounds of rubbing instruments 3) features and sounds of beating instruments 4) features and sounds of blowing instruments 2) Thai classical music learning media is effective as 89.9 that right to the defined criteria 75/75 3) learning achievement of students who studied through Thai classical music learning media which resulted to an average score in post-test which was higher than the average score in pre-test which had a significant difference at .05.
dc.format.extentก-ฌ, 168 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationสารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99551
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectดนตรีไทย -- การศึกษาขั้นอนุบาล
dc.titleการสร้างสื่อการเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
dc.title.alternativeProduction of Thai classical music learning media for kindergarten level 3 at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Primary Department)
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/564/6138295.pdf
thesis.degree.departmentวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
thesis.degree.disciplineดนตรี
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files