การจำลองค่ารักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลอำเภอของประชาชนชาวชนบท
dc.contributor.author | พงษ์ศักดิ์ มานะศิริสุข | en_US |
dc.contributor.author | เสริมพันธุ์ นิตย์นรา | en_US |
dc.contributor.author | สำเริง แหยงกระโทก | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยอนามัยชนบทสูงเนิน | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-30T06:54:18Z | |
dc.date.accessioned | 2021-09-15T15:51:29Z | |
dc.date.available | 2015-09-30T06:54:18Z | |
dc.date.available | 2021-09-15T15:51:29Z | |
dc.date.created | 2558-09-30 | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.description | การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 2: บทคัดย่อ, 10-12 พฤษภาคม 2525 ณ หอประชุมราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2525. หน้า 5-6. | en |
dc.description.abstract | ในช่วงกรกฎาคม ถึง พฤศจิกายน 2523 คณะสาธารณสุขศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานงานวางแผนครอบครัวชุมชน ได้ร่วมกันดำเนินการวิจัยเรื่อง “การจัดตั้งสหกรยาและการประกันสุขภาพ” ขึ้น โดยเฉพาะส่วนประกันสุขภาพ จะดำเนินการที่อำเภอสูงเนิน ซึ่งมีหลักการเบื้องต้นว่า “สมาชิกผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกัน 1,000 บาท/ครอบครัว/ปี และโครงการจะสมทบอีกครอบครัวละ 1,000 บาท โดยตั้งเป้าหมายว่าสมาชิกผู้เอาประกันจะมีเพียง 100 ครอบครัว และกำหนดระยะเวลาประกัน 1 ปี” จากการปรึกษาหารือระหว่างนักวิจัยโรงพยาบาลสูงเนินและกลุ่มเป้าหมายที่จะชักชวนเป็นสมาชิก พบปัญหาหลายประการ ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งคือ ฝ่ายกลุ่มเป้าหมายเกรงว่าเงิน 1000 บาท ที่ต้องจ่ายเป็นเบี้ยประกัน จะไม่คุ้มกับการเอาประกันเพราะอาจจะป่วย และเสียค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่าเงินที่ต้องจ่ายจริง และโรงพยาบาลอำเภอเองในฐานะของผู้รับการรักษาก็มีปัญหาเกรงว่าเป็นเงินทุนรวม 200,000 บาท จะไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในช่วง1 ปี ที่รับประกัน ซึ่งโรงพยาบาลไม่อยู่ในฐานะที่จะสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากเงินทุนได้ ผลการสรุปเพื่อหาคำตอบนี้ นักวิจัยจึงตัดสินใจจำลองการเกิดป่วยของประชาชนในชนบท ตามสถิติข้อมูลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานอำเภอสูงเนิน ปี พ.ศ.2520 ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยอนามัยชนบท และสถิติผู้ป่วยของโรงพยาบาลสูงเนินในปีเดียวกัน แยกตามประเภท และกลุ่มอาการของโรค จำนวน 90 กลุ่มอาการ 5 ประเภท โดยมีการกำหนดข้อสมมุติพื้นฐานไว้เป็นเงื่อนไข และข้อกำหนดในการจำลอง 10 ประการ และได้ผลสรุปดังนี้ การจำลองได้ทำทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งจำลอง 100 รอบ มีผู้ป่วยเชิงกลุ่มรอบละ 500 คน ผลการจำลองทั้ง 3 ภาค ครั้งสรุปได้ ดังนี้ ครั้งที่ ค่าประมาณจำนวนครั้งที่ป่วย/คน/ปี (เฉลี่ย) ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย/ คน/ปี ความคลาดเคลื่อน 1 2.499 216.92 16.12 2 2.889 251.13 16.54 3 3278 286.12 16.92 และจากการวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยเชิงสุ่ม พบว่า จำนวนการป่วย จะป่วยตั้งแต่ 0 ถึง 12 ครั้งต่อปี และส่วนใหญ่ป่วยปีละ 2 – 3 ครั้ง | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63521 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจำลองค่ารักษา | en_US |
dc.subject | ชนบท | en_US |
dc.subject | ประชาชน | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลอำเภอ | en_US |
dc.title | การจำลองค่ารักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลอำเภอของประชาชนชาวชนบท | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |
Files
License bundle
1 - 1 of 1