แนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย
dc.contributor.advisor | เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล | |
dc.contributor.advisor | สุณีย์ กัลยะจิตร | |
dc.contributor.advisor | ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล | |
dc.contributor.author | มนตรา งามวาจา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:51Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:51Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินการสงเคราะห์หลังปล่อยต่อไป ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์หลังปล่อย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์หลังปล่อย และผู้พ้นโทษที่เคยได้รับการสงเคราะห์หลังปล่อยจากกรมราชทัณฑ์ หรือกรมคุมประพฤติ จำนวนทั้งสิ้น 22 คน ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย มีดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรเพิ่มงบประมาณที่ใช้ในการสงเคราะห์ด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขอรับการสงเคราะห์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประการที่สอง ควรเพิ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการสงเคราะห์หลังปล่อยให้มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณงานของผู้ขอรับการสงเคราะห์ นอกจากนี้ควรพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดความเชี่ยวชาญในด้านการสงเคราะห์หลังปล่อยโดยเฉพาะ ประการที่สาม ควรจัดตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบในการดูแลและดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือผู้พ้นโทษโดยตรง ประการที่สี่ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการดูแลผู้พ้นโทษมากกว่าเดิม ควรสนับสนุนงบประมาณให้เพิ่มมากขึ้นประการที่ห้า ควรยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบ ต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัดหรือกีดกันผู้พ้นโทษไม่ให้เข้าทำงาน ประการที่หก ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้พ้นโทษได้ทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้พ้นโทษทุกคนมีโอกาสในการขอรับการสงเคราะห์และประการสุดท้าย หน่วยงานในภาครัฐและเอกชน ควรประสานความร่วมมือกัน ในการให้การสงเคราะห์ ผู้กระทำผิดหลังปล่อย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 190 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93685 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | อาชญากร -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ -- ไทย | |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย | |
dc.title.alternative | Guidelines on the delvelopment of after-care service for the offenders | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd470/5336996.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |