การเตรียมตัวก่อนการเกษียณเพื่อค่ารักษาพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 99 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
สายทอง เดชะ การเตรียมตัวก่อนการเกษียณเพื่อค่ารักษาพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92887
Title
การเตรียมตัวก่อนการเกษียณเพื่อค่ารักษาพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ
Alternative Title(s)
Retirement preparedness for medical expenditures among registered nurses
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเตรียมตัวก่อนการเกษียณเพื่อค่ารักษาพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่ม ตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร มีอายุ ระหว่าง 22-60 ปี จำนวน 352 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน จำแนกตามแผนกที่ปฏิบัติงาน โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเองช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลตั้งแต่กรกฎาคมถึงตุลาคม 2557และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมตัวก่อนการเกษียณเพื่อค่ารักษาพยาบาลแล้วร้อยละ 81.8 ส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 เลือกรูปแบบการออมเงินด้วยการฝากเงินกับสหกรณ์ รองลงมาร้อยละ 75.0 เลือกการ ทำประกันชีวิต มีระยะเวลาในการออมเงินเฉลี่ย 19 ปี มีการประมาณการใช้จ่ายภายหลังเกษียณแล้วร้อยละ 61.2 ผลจากการประมาณร้อยละ 40.3 พบว่ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ร้อยละ 88.0 เห็นว่าควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มทำงานแหล่งความรู้ในการออมเงินส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 ทราบมาจากผู้ร่วมงาน เหตุผลหลักที่ทำให้มีการเตรียมตัวก่อนการเกษียณร้อยละ 63.1 คาดว่าภายหลังการเกษียณจะมีรายได้ลดลง รองลงมาร้อยละ 60.8 คาดว่าภายหลังเกษียณจะมีค่ารักษาพยาบาลที่ไม่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าควรมีการให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณร้อยละ 98.6 สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.05 พบว่ามี 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ สิทธิการรักษาพยาบาล รายได้ ความเพียงพอของรายได้ และการมีหนี้สิน ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกวิธีการออมเงินด้วยการฝากเงิน ซึ่งเป็นรูปแบบการออมที่มีระยะยาวนาน แต่ได้รับผลตอบแทนต่ำ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายภายหลังการเกษียณได้ ดังนั้นทางองค์กรควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากร มีความรู้ในเรื่องการจัดการทางการเงินการออมเงินในรูปแบบต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มทำงาน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมเงินในหน่วยงาน
The purpose of this exploratory research is the study of the retirement savings strategy in Thai nurses for covering medical expenses throughout retirement. The researcher-designed questionnaire was answered by 352 registered nurses, age 22 - 60 years, working in a university hospital in Bangkok, who were selected by simple randomization. The data collection was done by a single researcher during July 2014 to October 2014, and analyzed with chi-square. The results of the study showed 81.8% have a retirement savings plan for medical expenses. Ninety three percent have retirement savings with a savings cooperative, and 75% also have health insurance. The average savings period is 19 years. Sixty one percent have retirement medical expenses estimation, and 40.3% expected that retirement income may be inadequate for the expenses. Eighty eight percent agreed that retirement savings plan should start at the beginning of their career. Sixty percent got the savings idea from co-workers. The reasons for savings is expected lower income after retirement for 63.1%,and aware of the high-cost of retirement medical expenses for 60.8%. Ninety nine percent need knowledge of financial management for retirement. The significant factors (p < 0.05) for retirement savings awareness included age, healthcare status, income, sufficiency of income, and debt. The study results reflect that most of the subjects selected a co-op savings account as the main method, which is long term savings, but there has been a low yield, which may result in inadequate expenses after the retirement. Therefore, the organization should promote and support personnel with a knowledge of financial management, in various savings formats from the start of the career. This may include a savings campaign in the organization.
The purpose of this exploratory research is the study of the retirement savings strategy in Thai nurses for covering medical expenses throughout retirement. The researcher-designed questionnaire was answered by 352 registered nurses, age 22 - 60 years, working in a university hospital in Bangkok, who were selected by simple randomization. The data collection was done by a single researcher during July 2014 to October 2014, and analyzed with chi-square. The results of the study showed 81.8% have a retirement savings plan for medical expenses. Ninety three percent have retirement savings with a savings cooperative, and 75% also have health insurance. The average savings period is 19 years. Sixty one percent have retirement medical expenses estimation, and 40.3% expected that retirement income may be inadequate for the expenses. Eighty eight percent agreed that retirement savings plan should start at the beginning of their career. Sixty percent got the savings idea from co-workers. The reasons for savings is expected lower income after retirement for 63.1%,and aware of the high-cost of retirement medical expenses for 60.8%. Ninety nine percent need knowledge of financial management for retirement. The significant factors (p < 0.05) for retirement savings awareness included age, healthcare status, income, sufficiency of income, and debt. The study results reflect that most of the subjects selected a co-op savings account as the main method, which is long term savings, but there has been a low yield, which may result in inadequate expenses after the retirement. Therefore, the organization should promote and support personnel with a knowledge of financial management, in various savings formats from the start of the career. This may include a savings campaign in the organization.
Description
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล