การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิค แบนด์ ระดับมัธยมศึกษาเพื่อการประกวด
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 267 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิค แบนด์ ระดับมัธยมศึกษาเพื่อการประกวด. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93628
Title
การฝึกซ้อมวงซิมโฟนิค แบนด์ ระดับมัธยมศึกษาเพื่อการประกวด
Alternative Title(s)
Symphonic Band rehearsal in high school level for competition
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการด้านการวางแผนการฝึกซ้อมและการฝึกซ้อมเทคนิคด้านการบรรเลงของวงซิมโฟนิคแบนด์ ระดับมัธยมศึกษา เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกวด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ วงซิมโฟนิค แบนด์ จำนวน 5 วง ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในประเทศไทย และเป็นการประกวดประเภทนั่งบรรเลง (Concert Band) ผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์ผู้ควบคุมวงซิมโฟนิค แบนด์ และครูผู้ฝึกซ้อมกลุ่มย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า วงซิมโฟนิค แบนด์ ได้มีการวางแผนการฝึกซ้อมโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเปิดและปิด ภาคเรียน ซึ่งครูได้จัดให้มีการฝึกซ้อมทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ โดยเฉพาะในช่วงเปิดภาคเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ ได้ทำการฝึกซ้อมในช่วงเย็นหลังเลิกเรียน-ช่วงค่ำ ส่วนช่วงปิดภาคเรียน ครูได้จัดช่วงเวลาของการฝึกซ้อมตั้งแต่ช่วงเช้า-ช่วงค่ำ โดยมีรูปแบบของการฝึกซ้อมต่าง ๆ เช่น การฝึกซ้อมรวมวง การฝึกซ้อมกลุ่มย่อย และการฝึกซ้อมส่วนตัวให้ครอบคลุมอยู่ในวันเดียวกัน สำหรับการวางแผนการฝึกซ้อม ได้มุ่งเน้นเนื้อหาในด้านของการฝึกซ้อมบรรเลงบทเพลงประกวด, การแก้ไขปัญหาและปรับรายละเอียดของบทเพลงให้มีความสมบูรณ์ และ การคัดเลือกนำเอาเทคนิคที่สำคัญจากแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับบทเพลงประกวดมาใช้ในการฝึกซ้อมด้านเทคนิคการบรรเลงบทเพลงประกวด ได้คำนึงถึงหลักการของการฝึกซ้อมในเรื่องขององค์ประกอบดนตรีที่เป็นเกณฑ์การตัดสินและการให้คะแนน โดยมีการฝึกซ้อมจากการฟังเสียงต้นแบบ โดยการฟังจากสื่อซีดี (CD), ดีวิดี (DVD), ตัวอย่างเสียงการบรรเลงจากครู และนักเรียนรุ่นพี่ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม การฝึกซ้อมเรื่องของการหายใจจากการใช้ลมที่ถูกต้อง โดยใช้แรงและพลังของลม (Power) ในการเป่าพื่อควบคุมเสียงที่ออกมาให้มีคุณภาพ การฝึกซ้อมเรื่องการฟังเสียงหลักจากกลุ่มเครื่องดนตรีต่าง ๆ โดยปรับระดับเสียงดัง-เบา ของตนเองให้มีความกลมกลืนกันทั้งวง ส่วนปัญหาที่พบได้แก่ นักเรียนติดเรียนพิเศษ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยครู จัดประชุมผู้ปกครองและขอความร่วมมือโดยให้นักเรียนเข้าร่วมตารางฝึกซ้อมได้อย่างเต็มที่ และปัญหาที่เกิดจากการฝึกซ้อมการประกวด ที่นักเรียนมีระดับทักษะด้านการบรรเลงที่แตกต่างกัน ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยครูได้กระตุ้นให้นักเรียนให้มีความกระตือรือร้นในการฝึกซ้อม มอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่ที่เป็นนักเรียนหัวหน้ากลุ่มทำการฝึกซ้อมให้
Description
ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
Degree Discipline
ดนตรี
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล