การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาบริเวณชุมชนริมคลอง เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 199 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ปฐมพงษ์ จงศักดิ์สวัสดิ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาบริเวณชุมชนริมคลอง เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92716
Title
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาบริเวณชุมชนริมคลอง เทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม
Alternative Title(s)
People participation in Chedi Bucha canal conservation, Nakhon Pathom municipal, Nakhon Pathom province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ติดบริเวณริมคลองเจดีย์บูชา ในเขตเทศบาลนครนครปฐมจังหวัดนครปฐม จำนวน 380 ครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาอยู่ในระดับน้อย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่รายได้เฉลี่ยของ ครอบครัวต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และระยะทางจากที่อยู่อาศัยถึงคลองเจดีย์บูชา ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา ปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา ที่สำคัญได้แก่ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาจากหน่วยงานภาครัฐอย่างทั่วถึง ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชา เนื่องจากประชาชนคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเองโดยตรง การขาดการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาร่วมกัน เนื่องจากประชาชนไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายหน่วยงานในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ ควรมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาให้ประชาชนได้รับทราบเพิ่มขึ้น ควรส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้า มามีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์คลองเจดีย์บูชาร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน
This quantitative study aims at studying the level of people participation, examining the differences of factors affecting people participation in Chedi Bucha canal conservation, and its problems and limitations. Data was collected sing questionnaires from 380 people who stayed near the Chedi Bucha canal, and descriptive statistics, t-test, and One-way ANOVA were employed for analyzing the data. The results were showed the sample had participated in conservation at the low level., factors affecting people participation in the canal conservation were age (Significant differences at the level of 0.05), monthly household income (Significant differences at the level of 0.01), duration of staying in the community (Significant differences at the level of 0.01), distance from the household to the canal (Significant differences at the level of 0.01), and perception of information about Chedi Bucha canal conservation (Significant differences at the level 0.001). The problems and limitations in participating in the canal conservation included people not receiving any information related with canal conservation from governmental organizations, not participating and volunteering for activities at the Chedi Bucha canal conservation, thinking though that they did not have any duty to be responsible for the Chedi Bucha canal conservation, lack of collaboration between governmental organizations and the community, not having ability to directly participate in the Chedi Bucha canal conservation when compared with the ability of governmental organizations. Recommend from the results, it is that related organizations should increasingly promote and distribute information about the canal conservation, promote people participation in collaborating with governmental organizations and also, governmental organizations should give the chance for the people to participate and give the is opinion for improving the Chedi Bucha canal conservation
This quantitative study aims at studying the level of people participation, examining the differences of factors affecting people participation in Chedi Bucha canal conservation, and its problems and limitations. Data was collected sing questionnaires from 380 people who stayed near the Chedi Bucha canal, and descriptive statistics, t-test, and One-way ANOVA were employed for analyzing the data. The results were showed the sample had participated in conservation at the low level., factors affecting people participation in the canal conservation were age (Significant differences at the level of 0.05), monthly household income (Significant differences at the level of 0.01), duration of staying in the community (Significant differences at the level of 0.01), distance from the household to the canal (Significant differences at the level of 0.01), and perception of information about Chedi Bucha canal conservation (Significant differences at the level 0.001). The problems and limitations in participating in the canal conservation included people not receiving any information related with canal conservation from governmental organizations, not participating and volunteering for activities at the Chedi Bucha canal conservation, thinking though that they did not have any duty to be responsible for the Chedi Bucha canal conservation, lack of collaboration between governmental organizations and the community, not having ability to directly participate in the Chedi Bucha canal conservation when compared with the ability of governmental organizations. Recommend from the results, it is that related organizations should increasingly promote and distribute information about the canal conservation, promote people participation in collaborating with governmental organizations and also, governmental organizations should give the chance for the people to participate and give the is opinion for improving the Chedi Bucha canal conservation
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล