Factors influencing quality of life among family caregivers of patients with advanced cancer : a causal model
Issued Date
2023
Copyright Date
2013
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiv, 200 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2013
Suggested Citation
Warunee Meecharoen Factors influencing quality of life among family caregivers of patients with advanced cancer : a causal model. Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2013. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89440
Title
Factors influencing quality of life among family caregivers of patients with advanced cancer : a causal model
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
Author(s)
Abstract
Caregiving for advanced cancer patients is an overwhelming task that affects all aspects of caregivers' quality of life (QOL). Most of them reported low QOL and high caregiver burden. Therefore, they should receive specific interventions in order to promote or increase a higher level of their QOL. However, there is a paucity of literature regarding factors predicting QOL among family caregivers of patients with advanced cancer in a Thai context. So, this study aimed to examine the causal relationships among caregiver's age, caregiver's education, caregiver's income, caregiver burden, family hardiness, coping, social support, and caregiver's quality of life (QOL) among Thai family caregivers of patients with advanced cancer. The theoretical framework which was used to guide this study was derived from the stress process model and review of the literature. A sample of 275 caregivers was recruited from two tertiary hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health in Thailand. The instruments used to collect the data were comprised of the demographic questionnaire, the Zarit Burden Interview, the Family Hardiness Index, the Jalowiec Coping Scale, Social Support Questionnaire, and the Quality of Life Index-Cancer Version III. The data were analyzed by descriptive statistics and Path analysis. The findings indicated that the final model fit the empirical data and explained 45% of the variance in caregiver's QOL. The family caregivers of patients with advanced cancer perceived high QOL. Caregiver's age, social support and family hardiness had significant direct positive effects on caregiver's QOL. Caregiver burden had a significant negative direct effect on caregiver's QOL, and had a significant indirect effect on caregiver's QOL through social support, and family hardiness. The results of this study provide information regarding factors influencing QOL among Thai family caregivers of advanced cancer patients and can guide development of an intervention program for this population. The findings suggest that a program for family caregivers of patients with advanced cancer should be focused on maintenance of a high level of QOL and a low level of caregiver burden in the first two years of caregiving. For future study, a longitudinal or experimental study is suggested.
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามเป็นงานที่มีความยุ่งยากเป็นอย่างมาก จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านของญาติผู้ดูแล ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามส่วนใหญ่จะรายงานว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับต่ำ และมีการรับรู้ว่ามีภาระในการดูแลในระดับสูง ซึ่งญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามควรจะได้รับการดูแลที่ เฉพาะเจาะจงเพื่อที่จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าในประเทศไทยยังมีการศึกษาวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ภาระในการดูแล ความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีการเผชิญความเครียด และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กรอบแนวคิดที่ใช้พัฒนามาจาก stress process model และการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 275 คน ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแบกรับภาระ แบบสอบถามความเข้มแข็งของครอบครัว แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียด แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และดัชนีคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์อิทธิพล ผลการศึกษา พบว่า แบบจำลองสุดท้ายที่ปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถ ทำนายความผันแปรของคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้ 45% ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามรับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับสูง อายุ แรงสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งของครอบครัวมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพชีวิต ภาระในการดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อคุณภาพชีวิต และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิต ผ่านแรงสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งของครอบครัวผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในการจัดโปรแกรมการดูแลสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามควรจัดโปรแกรมที่ส่งเสริมให้มีญาติผู้ดูแลยังคงรับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับสูงและมีภาระในการดูแลในระดับต่ำในช่วงสองปีแรกของการดูแล นอกจากนี้ควรจะมีการศึกษาวิจัยในระยะยาวหรืองานวิจัยเชิงทดลองต่อไปใน อนาคต
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามเป็นงานที่มีความยุ่งยากเป็นอย่างมาก จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านของญาติผู้ดูแล ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามส่วนใหญ่จะรายงานว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับต่ำ และมีการรับรู้ว่ามีภาระในการดูแลในระดับสูง ซึ่งญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามควรจะได้รับการดูแลที่ เฉพาะเจาะจงเพื่อที่จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าในประเทศไทยยังมีการศึกษาวิจัยค่อนข้างน้อยเกี่ยวกับปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอายุ ระดับการศึกษา รายได้ ภาระในการดูแล ความเข้มแข็งของครอบครัว วิธีการเผชิญความเครียด และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กรอบแนวคิดที่ใช้พัฒนามาจาก stress process model และการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 275 คน ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการแบกรับภาระ แบบสอบถามความเข้มแข็งของครอบครัว แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียด แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และดัชนีคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์อิทธิพล ผลการศึกษา พบว่า แบบจำลองสุดท้ายที่ปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถ ทำนายความผันแปรของคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้ 45% ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามรับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับสูง อายุ แรงสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งของครอบครัวมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพชีวิต ภาระในการดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อคุณภาพชีวิต และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิต ผ่านแรงสนับสนุนทางสังคม และความเข้มแข็งของครอบครัวผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในการจัดโปรแกรมการดูแลสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามควรจัดโปรแกรมที่ส่งเสริมให้มีญาติผู้ดูแลยังคงรับรู้ว่ามีคุณภาพชีวิตในระดับสูงและมีภาระในการดูแลในระดับต่ำในช่วงสองปีแรกของการดูแล นอกจากนี้ควรจะมีการศึกษาวิจัยในระยะยาวหรืองานวิจัยเชิงทดลองต่อไปใน อนาคต
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University