การบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

dc.contributor.advisorเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล
dc.contributor.advisorฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล
dc.contributor.authorกันยภัทร ทองมา
dc.date.accessioned2024-01-16T00:52:57Z
dc.date.available2024-01-16T00:52:57Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstract"การบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดประจวบคีรีขันธ์" เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) ได้แก่ ผู้กำกับ การตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 15 สถานี เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายสอบสวน และฝ่ายปราบปราม ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่า 5 ปี และเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 20 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ เชิงลึก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆเพื่อ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่องและดำเนินการตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในแนวทางการดำเนินการและกฎหมายยังขาดการเชื่อมโยงกันและส่งผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินการบังคับใช้ 2) ด้านปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ ความร่วมมือ ดำเนินการระหว่างหน่วยงาน ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ การรับรู้เรื่องการค้ามนุษย์และความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประชาชน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์นอกจากปัญหาด้านการบริหารจัดการทั่วไป (บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์) ยังมีปัญหาและอุปสรรคด้านภูมิ ประเทศของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ มีทางเข้าออกหลายด้านและการเป็นเส้นทางผ่านขึ้นลง การขาดความรู้ความเข้าในบทบัญญัติทางกฎหมาย การใช้ดุลพินิจ การขาดความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ การจัดอบรมความรู้และทักษะการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง การวางแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่อ เร่งรัดการประสานงานการส่งต่อให้รวดเร็ว จัดทำระบบฐานข้อมูลให้ทันสมัยแก้กฎหมายที่มีช่องโหว่ กำหนดบทบาทเจ้าหน้าที่ชัดเจนและจัดทำคู่มือ ข้อเสนอสำหรับการศึกษาวิจัยต่อไป ควรมีการศึกษาการนำเทคโนโลยี เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (GIS) มาใช้ในการดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ความต้องการของผู้เสียหายหรือเหยื่อจากกระบวนการค้ามนุษย์
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study law enforcement by the police in human trafficking and to delineate factors related with law enforcement against human trafficking and to analyze the problems and obstacles in enforcing of the law against human trafficking in Prachuap Khiri khan province in a Thailand. Fifteen heads of Police stations and five immigration police officers of immigration police boxes in Prachuap Khiri khan province were the key informants in this study. The structural interviewing guideline was a tool for data collecting. The content analysis with a descriptive approach were the methods in delineating. The results were as follows: 1.) As for the law enforcement against human trafficking, there was an integration between the inter-agencies to take action against the current and the proceedings according to the guidelines and as assigned by the government. However, the sharing of knowledge and understanding in the operation and the lack of links affected the decisions in the action enforcement. 2.) The factors involved in law enforcement against trafficking included, cooperation actions between inter-agencies, knowledge and understanding in the operation of legal officials, awareness about trafficking and the cooperation in the prevention and suppression of trafficking of people. 3) In term of problems and obstacles in enforcing the law against trafficking, in addition to the general problems on management issues (personnel, budget, materials), there were still geographical barriers in the affected areas, many aspects and access was through land routes, lack of knowledge of the legal provisions, the use of discretion including lack of knowledge and understanding and the cooperation of the people. 4) Recommendations from this study were to continuously train in practical skills, orientation of the victims, coordination among the related agencies, fast forwarding of information, setting up an the update database, amend the legal loopholes, determine a clear cutting role of the authorities and make the manuals. The proposal for future research a study should be done in information technology systems (GIS) in action against human trafficking, the participation of the public in the prevention and suppression of human trafficking, and another study should focus on the needs of the victim or victims of the trafficking processes.
dc.format.extentก-ฌ, 222 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92925
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการบังคับใช้กฎหมาย -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.subjectการค้ามนุษย์ -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.subjectตำรวจ -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์
dc.titleการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
dc.title.alternativeLaw enforcement for the prevention and suppression of human trafficking : a case study of the police officers in the Prachuap Khiri Khan province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/507/5638563.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files