Prevention measures against human trafficking victims in forced fishery labour : a case study of Samutsakhon, Rayong and Songkla provinces
Issued Date
2023
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 156 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Wicha Jampawan Prevention measures against human trafficking victims in forced fishery labour : a case study of Samutsakhon, Rayong and Songkla provinces. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89805
Title
Prevention measures against human trafficking victims in forced fishery labour : a case study of Samutsakhon, Rayong and Songkla provinces
Alternative Title(s)
มาตรการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จากการบังคับใช้แรงงานประมง : กรณีศึกษาในเขตจังหวัดสมุทรสาคร ระยองและสงขลา
Author(s)
Abstract
Human trafficking is one of the main problems becoming worldwide due to its nature that directly violates human rights degrading human dignity,affecting socio-economic conditions and depriving the world of a peaceful existence of communities. Thailand is often used as a transit and destination country for many human trafficker victims because of its prime geographic location with the border adjacent to the neighboring countries by land, river and sea. This factor enhances the illegal migrants entering the country become prone to forced fishery labor. The purpose of this research was to study the preventive measures against human trafficking in forced fishery work. The sample comprised 12 state officers and 12 officers from private sectors including. Fishing Association Representative, entrepreneurs and owners of fishing vessels in Samutsakhon, Rayong and Songkla. This quantitative study involved the Documentary research and In-depth interview with the key informants, using non-structured questionnaire of unlimited answers as the tools for collecting data. The findings suggested the preventive measures on Human trafficking from forced fishery labors as follows: 1) The establishment of a Central Agency to oversee problems as well as being the channel to distribute news and publicity materials to educate the public and other targeted groups, 2) prosecution of those involved law enforcement in setting up measures to confiscate the acquired assets or interests from human trafficking, a the legal amendment on heavier penalties for those caught violating the Anti-Human Trafficking Act, prohibiting arrival and departure to and from the Kingdom of Thailand third parties involved, the appointment of the Committee for Prosecution and Law Enforcement, 3)victim protection, such as arranging for assistance program for specific victim, establishing the Human Trafficking Victims Welfare Center, particularly for the coastal provinces and the country of origin, extending interview period on the person of interest and potential victim of human trafficking 4) establishing policies and mechanisms leading to the practice, such as systematical migrant labors management and follow-up with all procedures in Memorandum of Understanding and 5) collaborating with other sectors such as coordination between the state and private sectors at the local and international levels. Recommendations made to the private sector as follows: 1) preventive measures such were as arranging activities, training the entrepreneurs, owners of fishing vessels and crews 2) encouraging the private sector to take part in establishing Human Trafficking Welfare Protection Center and 3) setting up the collaborative measures for all sectors to drive and push for Memorandum of Understanding at all levels to prevent and assist in finding solution to problems , including the preparation of the standard for Thai fishery workers.
ปัญหาการค้ามนุษย์ได้รับความสนใจจากทุกประเทศทั่วโลกเนื่องจากเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ มนุษยชนซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม การเมืองของประชาคมโลก สำหรับประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่านของเหยื่อการค้ามนุษย์ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งพื้นดิน แม่น้ำ และทะเลทำให้เอื้ออำนวยให้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากลักลอบเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านขบวนการนายหน้าทำให้มีความสุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการบังคับใช้แรงงานประมง กลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 คน และภาคเอกชน จำนวน 12 คน ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมประมง ผู้ประกอบการ และไต๋เรือ ในจังหวัดสมุทรสาคร ระยอง และสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีแบบแผนหรือไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนโดยการสัมภาษณ์แบบไม่จำกัดคำตอบ ผลการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอแนะมาตรการในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จากการบังคับใช้แรงงานประมงสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 1) ด้านการป้องกัน ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการป้องกันแก้ไขปัญหา การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 2) ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ การพัฒนามาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากการกระทำความผิดการค้ามนุษย์ การแก้ไขเพิ่มโทษสำหรับผู้กระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การห้ามเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักรสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย 3) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ ได้แก่ การจัดทำโปรแกรมการคุ้มครองช่วยเหลือสำหรับเหยื่อเฉพาะราย การจัดตั้งสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเหยื่อการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในจังหวัดชายฝั่งทะเลและในประเทศที่เป็นต้นทางเหยื่อการค้ามนุษย์ การขยายระยะเวลาในการสอบถามปากคำผู้ที่น่าเชื่อว่าจะเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 4) ด้านนโยบายและกลไกการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้แก่ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ การขับเคลื่อนให้มีการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจในทุกระดับ 5) มาตรการด้านความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สำหรับข้อเสนอแนะมาตรการต่อภาคเอกชน 1) มาตรการด้านการป้องกัน ได้แก่ การร่วมจัดกิจกรรม รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ข่าวสาร การร่วมจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ไต๋เรือ และคนประจำเรือ 2) มาตรการด้านการช่วยเหลือคุ้มครอง ได้แก่ การให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเหยื่อจากการค้ามนุษย์ 3) มาตรการด้านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและผลักดันการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทุกระดับเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดทำมาตรฐานแรงงานประมงไทย
ปัญหาการค้ามนุษย์ได้รับความสนใจจากทุกประเทศทั่วโลกเนื่องจากเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ มนุษยชนซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม การเมืองของประชาคมโลก สำหรับประเทศไทยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่านของเหยื่อการค้ามนุษย์ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งพื้นดิน แม่น้ำ และทะเลทำให้เอื้ออำนวยให้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากลักลอบเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านขบวนการนายหน้าทำให้มีความสุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการบังคับใช้แรงงานประมง กลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 12 คน และภาคเอกชน จำนวน 12 คน ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมประมง ผู้ประกอบการ และไต๋เรือ ในจังหวัดสมุทรสาคร ระยอง และสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีแบบแผนหรือไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนโดยการสัมภาษณ์แบบไม่จำกัดคำตอบ ผลการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอแนะมาตรการในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จากการบังคับใช้แรงงานประมงสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 1) ด้านการป้องกัน ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการป้องกันแก้ไขปัญหา การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 2) ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ การพัฒนามาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากการกระทำความผิดการค้ามนุษย์ การแก้ไขเพิ่มโทษสำหรับผู้กระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การห้ามเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักรสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย 3) ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ ได้แก่ การจัดทำโปรแกรมการคุ้มครองช่วยเหลือสำหรับเหยื่อเฉพาะราย การจัดตั้งสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเหยื่อการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในจังหวัดชายฝั่งทะเลและในประเทศที่เป็นต้นทางเหยื่อการค้ามนุษย์ การขยายระยะเวลาในการสอบถามปากคำผู้ที่น่าเชื่อว่าจะเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 4) ด้านนโยบายและกลไกการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้แก่ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ การขับเคลื่อนให้มีการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจในทุกระดับ 5) มาตรการด้านความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สำหรับข้อเสนอแนะมาตรการต่อภาคเอกชน 1) มาตรการด้านการป้องกัน ได้แก่ การร่วมจัดกิจกรรม รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ข่าวสาร การร่วมจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ไต๋เรือ และคนประจำเรือ 2) มาตรการด้านการช่วยเหลือคุ้มครอง ได้แก่ การให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดตั้งสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเหยื่อจากการค้ามนุษย์ 3) มาตรการด้านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและผลักดันการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทุกระดับเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดทำมาตรฐานแรงงานประมงไทย
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University