พฤติกรรมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฐ, 250 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
ณัฏฐธิดา สุขเสงี่ยม พฤติกรรมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91956
Title
พฤติกรรมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Alternative Title(s)
People behavior of waste reduction at source in Saensuk municipality area, Mueang district, Chonburi province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The objectives of this research are to study people behavior of waste reduction at source, to test for differences in outcome between factors, to explore barriers of waste reduction at source, and to propose recommendations to increase level of people behavior of waste reduction at source in Saensuk Municipality area, Mueang district, Chonburi province. Mixed methods research methodology was applied. For quantitative study, questionnaire survey was conducted with 396 respondents who were heads of the household or authorized representatives, aged 18 years old or over, and resided in the municipality for at least 1 year. The statistical package for social sciences was used to analyze data. The statistics included percentage, frequency, average, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance (ANOVA). For the qualitative study, four informants including municipality executives and community leaders were selected for in-depth interview. The research result found that the behavior of waste reduction at source of most of the respondents was low (67.20 %). Factors influencing behavior of waste reduction at 0.05 level of statistical significance included age, marital status, education level, occupation, household average income per month, position in social/community, housing period, housing characteristics, type of a residential venture, information, as well as knowledge and awareness towards waste reduction at source. The major barriers of waste reduction at source were caused by people, tourists, and municipality. For people, this research found that level of information perception of people was low. People lack knowledge and understanding of waste reduction at source. In addition, there were no people participation in waste reduction activities and projects. For the tourists, this study found that some amount of wastes were generated by the tourists; especially in the coastal area. For the municipality, the frequency of waste collection was insufficient. Some types of waste bins were not covered. The municipality lack technical knowledge, equipment, public relation equipment, budget, and authority. Four recommendations were drawn from this study. Firstly, Saensuk Municipality should give knowledge and conduct activities of waste reduction at source with people; especially people at age 30-39 years old, general employees, people in apartment/ flat/ rental room, and people who did not have business at home since the behavior of waste reduction of these groups were the lowest among other groups. Secondly, the contents of knowledge to be disseminated to people included refuse of un-environmentally friendly products, use of refill products, recycling, repair, reuse, waste separation, and reduce. Third, Saensuk Municipality should increase type and number of waste bins, address actual period for waste collection, and encourage people to separate wastes. Lastly, legislation and social sanction should be enforced to endorse waste reduction at source.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข ไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 396 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและการวิเคราะห์ผันแปรทางเดียว สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป โดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในระดับน้อย ร้อยละ 67.20 โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ สถานภาพในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งในชุมชน/สังคม ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัย ประเภทของกิจการที่อยู่อาศัย การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และความตระหนักต่อปัญหาขยะมูลฝอย สำหรับปัญหาอุปสรรคในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยปัญหาจากประชาชน ปัญหาจากนักท่องเที่ยวและปัญหาของเทศบาล สำหรับปัญหาจากประชาชน พบว่าการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอยู่ในระดับน้อยมาก ประชาชนขาดความรู้และความเข้าใจในการคัดแยกประเภทขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือและไม่มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ส่วนปัญหาจากนักท่องเที่ยว พบว่ามีปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยวและขยะจากเขตชายทะเล สำหรับปัญหาของเทศบาล พบว่ามีการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่ไม่เรียบร้อยและมีจำนวนเที่ยวในการจัดเก็บที่ไม่เพียงพอ ประเภทของถังขยะที่มีไม่ครอบคลุม การขาดแคลนความรู้เชิงเทคนิค อุปกรณ์ สื่อประชาสัมพันธ์ ขาดงบประมาณที่ใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย และเทศบาลไม่สามารถใช้อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดได้อย่างเต็มที่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ เสนอให้เทศบาลเมืองแสนสุขประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และจัดกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดกับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่อายุ 30-39 ปี กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป กลุ่มที่อยู่ในอพาร์ตเมนท์/แฟลต/ห้องเช่า และกลุ่มที่ไม่มีกิจการในที่อยู่อาศัย ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ จุดกำเนิด ในระดับน้อยที่สุด ความรู้ที่ควรเผยแพร่ให้แก่ประชาชน ได้แก่ การปฏิเสธสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สินค้าชนิดเติม การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การซ่อมแซมของใช้ การใช้อย่างคุ้มค่า การแยกขยะ และการลดการใช้หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ นอกจากการให้ความรู้ การศึกษานี้ยังเสนอให้เทศบาลเมืองแสนสุขเพิ่มจำนวนถังขยะให้ครบทุกประเภทและกาหนดวันเวลาในการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยแต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนแยกและทิ้งขยะตามประเภท รวมทั้งบังคับใช้มาตรการทางสังคมและข้อกฎหมายในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดอย่างจริงจัง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนและเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข ไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 396 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติอัตราส่วนร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและการวิเคราะห์ผันแปรทางเดียว สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป โดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในระดับน้อย ร้อยละ 67.20 โดยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ อายุ สถานภาพในครัวเรือน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งในชุมชน/สังคม ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัย ประเภทของกิจการที่อยู่อาศัย การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และความตระหนักต่อปัญหาขยะมูลฝอย สำหรับปัญหาอุปสรรคในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยปัญหาจากประชาชน ปัญหาจากนักท่องเที่ยวและปัญหาของเทศบาล สำหรับปัญหาจากประชาชน พบว่าการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอยู่ในระดับน้อยมาก ประชาชนขาดความรู้และความเข้าใจในการคัดแยกประเภทขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือและไม่มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ ส่วนปัญหาจากนักท่องเที่ยว พบว่ามีปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยวและขยะจากเขตชายทะเล สำหรับปัญหาของเทศบาล พบว่ามีการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่ไม่เรียบร้อยและมีจำนวนเที่ยวในการจัดเก็บที่ไม่เพียงพอ ประเภทของถังขยะที่มีไม่ครอบคลุม การขาดแคลนความรู้เชิงเทคนิค อุปกรณ์ สื่อประชาสัมพันธ์ ขาดงบประมาณที่ใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย และเทศบาลไม่สามารถใช้อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดได้อย่างเต็มที่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ เสนอให้เทศบาลเมืองแสนสุขประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และจัดกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดกับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่อายุ 30-39 ปี กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป กลุ่มที่อยู่ในอพาร์ตเมนท์/แฟลต/ห้องเช่า และกลุ่มที่ไม่มีกิจการในที่อยู่อาศัย ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ จุดกำเนิด ในระดับน้อยที่สุด ความรู้ที่ควรเผยแพร่ให้แก่ประชาชน ได้แก่ การปฏิเสธสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สินค้าชนิดเติม การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การซ่อมแซมของใช้ การใช้อย่างคุ้มค่า การแยกขยะ และการลดการใช้หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ นอกจากการให้ความรู้ การศึกษานี้ยังเสนอให้เทศบาลเมืองแสนสุขเพิ่มจำนวนถังขยะให้ครบทุกประเภทและกาหนดวันเวลาในการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยแต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนแยกและทิ้งขยะตามประเภท รวมทั้งบังคับใช้มาตรการทางสังคมและข้อกฎหมายในการลดปริมาณขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดอย่างจริงจัง
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล