การรับรู้คุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพคลินิกนวดแผนไทยประยุกต์
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 131 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
ณัฐนันท์ ศรีรักษ์ การรับรู้คุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพคลินิกนวดแผนไทยประยุกต์ . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91954
Title
การรับรู้คุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพคลินิกนวดแผนไทยประยุกต์
Alternative Title(s)
Perception of quality of Thai massage for health at the applied Thai traditional medicine clinic, Faculty of Public Health, Mahidol University
Author(s)
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพที่คลินิกนวดแผนไทยประยุกต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษาจากความคาดหวังบริการ การรับรู้บริการความแตกต่างระหว่างความคาดหวังบริการกับการรับรู้บริการ และปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้มารับบริการการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2559 จำนวน 270 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจงแจกแบบทีชนิดเป็นอิสระต่อกัน (independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังคุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และการรับรู้คุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับระดับมาก มีเพียงด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังต่อคุณภาพบริการและการรับรู้คุณภาพบริการของผู้มารับบริการทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการรับรู้คุณภาพบริการทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าความคาดหวังต่อคุณภาพบริการ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการคาดหวังคุณภาพบริการในภาพรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ จำนวนครั้งที่มารับ บริการ เพศของผู้ให้บริการ ความสามารถของผู้ให้บริการ ความคุ้นเคยกับผู้ให้บริการ สถานะทางสุขภาพแข็งแรง ส่วนรายได้ และชื่อเสียงของร้าน มีผลต่อการคาดหวังคุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ ด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการดูแลเอาใจใส่ ระดับการศึกษา มีผลต่อการคาดหวังคุณภาพบริการในด้านความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ การเคยเข้ารับบริการ มีผลต่อการคาดหวังคุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการด้านความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ ด้านการให้ความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่และคุณภาพบริการโดยรวม ได้แก่ จำนวนครั้งที่มารับบริการ กลุ่มผู้มีภาวะความเครียด ตัวแปรราคาที่เหมาะสม มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ ด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้รับบริการและคุณภาพบริการโดยรวม ตัวแปรอายุ มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตัวแปรอาชีพ มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ ตัวแปรการเคยเข้ารับบริการ มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือ ตัวแปรความคุ้นเคยกับผู้ให้บริการ มีผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการในด้านความรวดเร็วในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพบริการนวดไทยเพื่อสุขภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวัง เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างดีที่สุด
This study was to investigate the perception of quality of Thai massage for health at the Applied Thai traditional medicine clinic. The aim of the study were to investigate the service expectation, the service perception, the differences between the service expectation and the service perception including the factors affecting the service expectation and perception of the recipients for the service quality of the Thai massage for health. The study was conducted from August-October 2016. Two hundred seventy samples were the recipients for the service quality of the Thai massage for health, The data were analyzed using frequency, means, standard deviation, independent sample t-test and One-way ANOVA. The results revealed that the expectation and the perception of the quality of Thai massage for health were at a high level. However the service tangibility was at the highest level. There was a statistical significant difference between the expectation and the perception of the recipients at 0.05 level. The perception of the service quality in all aspects earned the average scores higher than the service expectation. The significant variables and the service expectation which were sex, age, occupation frequency of service visits, sex, capacity, and familiarity of the service providers, strong health condition, income and the clinic fame had impact on their expectation of the quality with regards to the service tangibility. Also, the speed responsive to the recipients, courtesy/caretaking, and educational levels had impact on the service quality with regards to trust and credibility/ reliability. Frequencies for the service had impact on the service quality with regards to service tangibility. The variables significant to the perception of the service quality which were the age, occupation, frequency of visits, the stressful recipient group, price had impact on the perception of the quality service with regards to the service tangibility, the frequency of visits had impact on the perception of the quality service with regards to trust and credibility/reliability The results of this study could be recommended for developing the quality of the Thai massage for cohesive healthcare and to meet the expectation of the recipients by giving from satisfactory service.
This study was to investigate the perception of quality of Thai massage for health at the Applied Thai traditional medicine clinic. The aim of the study were to investigate the service expectation, the service perception, the differences between the service expectation and the service perception including the factors affecting the service expectation and perception of the recipients for the service quality of the Thai massage for health. The study was conducted from August-October 2016. Two hundred seventy samples were the recipients for the service quality of the Thai massage for health, The data were analyzed using frequency, means, standard deviation, independent sample t-test and One-way ANOVA. The results revealed that the expectation and the perception of the quality of Thai massage for health were at a high level. However the service tangibility was at the highest level. There was a statistical significant difference between the expectation and the perception of the recipients at 0.05 level. The perception of the service quality in all aspects earned the average scores higher than the service expectation. The significant variables and the service expectation which were sex, age, occupation frequency of service visits, sex, capacity, and familiarity of the service providers, strong health condition, income and the clinic fame had impact on their expectation of the quality with regards to the service tangibility. Also, the speed responsive to the recipients, courtesy/caretaking, and educational levels had impact on the service quality with regards to trust and credibility/ reliability. Frequencies for the service had impact on the service quality with regards to service tangibility. The variables significant to the perception of the service quality which were the age, occupation, frequency of visits, the stressful recipient group, price had impact on the perception of the quality service with regards to the service tangibility, the frequency of visits had impact on the perception of the quality service with regards to trust and credibility/reliability The results of this study could be recommended for developing the quality of the Thai massage for cohesive healthcare and to meet the expectation of the recipients by giving from satisfactory service.
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล