การเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มีแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก
dc.contributor.author | เบญจวรรณ สุขอ่วม | en_US |
dc.contributor.author | สุนิษา เตือประโคน | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-31T16:05:32Z | |
dc.date.available | 2022-08-31T16:05:32Z | |
dc.date.created | 2565-08-31 | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.description | ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 102-103 | en_US |
dc.description.abstract | จากการทำงานพัฒนาคุณภาพ (CQI) ของหอผู้ป่วยพิเศษสิริกิตย์9/3 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพการ ดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัด ที่มีแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลือง ออก” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ในการดูแล แผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก มากกว่าร้อยละ 95 2) ผู้ป่วยและ ญาติมีความมั่นใจในการดูแลแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก มากกว่าร้อยละ 95 3) ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจการให้บริการของหอ ผู้ป่วยพิเศษศูนย์การแพทย์สิริกิติ์9/3มากกว่าร้อยละ 95 โดยผลงานดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากจากโคงการ Home call 4.0 ( เริ่มดำเนินการปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ) โดยมีตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา(ความรู้) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยพิเศษสิริกิติ์9/3 โรงพยาบาลรามาธิบดี ในช่วง มกราคม2563-กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ทำงานพัฒนาคุณภาพ คือ แบบสอบถามวัดระดับความรู้ของผู้ป่วยและญาติ แบบสอบถามวัดระดับความมั่นใจของผู้ป่วยและญาติ และแบบสอบถามวัด ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแล แผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก และระดับความมั่นใจของผู้ป่วย และญาติในการดูแลแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก ไม่เป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วน ที่สูงอายุ และผู้ที่เรียนรู้การดูแลแผลไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับบุคลที่ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อาจส่งผลต่อการเรียนรู้และการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และมีข้อเสนอแนะจาก ผู้รับบริการ ให้จัดทำเป็นวีดีโอสอนการดูแลแผล จึงได้มีการปรับปรุงแผ่นพับ โดยเพิ่ม QR code ของวีดีโอที่สอนการดูแลแผลเข้าไปในแผ่นพับด้วย เพื่อให้ ผู้ป่วยและญาติได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมความมั่นใจในการ ดูแลแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก แล้วนำไปใช้ในระยะที่ 2และ ระยะที่ 3 ของโครงการ จึงทำให้ระดับความรู้ของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแล แผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก และระดับความมั่นใจของผู้ป่วย และญาติในการดูแลแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออกเป็นไปตาม เป้าหมายที่กำหนด ส่วนระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการ ให้บริการของหอผู้ป่วยพิเศษสิริกิติ์9/3นั้น บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79479 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | แผล off drain | en_US |
dc.subject | Home call | en_US |
dc.subject | แผลผ่าตัด | en_US |
dc.subject | Mahidol Quality Fair | en_US |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มีแผลเอาสายระบายเลือดหรือน้ำเหลืองออก | en_US |
dc.type | Proceeding Abstract | en_US |