การคุ้มครองพยานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
dc.contributor.advisor | สุณีย์ กัลยะจิตร | |
dc.contributor.advisor | เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล | |
dc.contributor.advisor | ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล | |
dc.contributor.author | ภควดี ประดับเพชรรัตน์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:51Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:51Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองพยานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อนำ มาตรการการคุ้มครองพยานมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลโดยเก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เกี่ยวข้องในการคุ้มครองพยานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน ผู้บริหาร และผู้ให้ถ้อยคำหรือผู้แจ้งเบาะแสของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม จำนวนทั้งสิ้น 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองพยานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าการคุ้มครองพยานเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากพยานเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบและได้รับอันตรายจากการให้ถ้อยคำ ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสให้แก่หน่วยงานภาครัฐ สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อนำ มาตรการการคุ้มครองพยานมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เนื่องจากจำนวนบุคลากรและงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐไม่เพียงพอต่อการให้ความคุ้มครอง และการขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือในการให้ความคุ้มครองพยานโดยตรง ประกอบกับการขาดระเบียบปฏิบัติที่เป็นแนวทางสำหรับการคุ้มครองพยานของเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง รวมทั้งขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระเบียบมาตรการคุ้มครองพยาน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ดังนั้นการคุ้มครองพยานจึงเป็นมาตรการที่ควรนำ มาปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วและชัดเจน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พยาน และเป็นการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ความร่วมมือป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตภาครัฐอีกด้วย | |
dc.format.extent | ก-ซ, 135 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93681 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง | |
dc.subject | พยานบุคคล -- การคุ้มครอง | |
dc.title | การคุ้มครองพยานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ | |
dc.title.alternative | Witness protection of the public sector anti-corruption unit | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd469/5336992.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |