การประเมินการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองราชบุรี
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 130 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
เมธี ชุ่มศิริ การประเมินการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองราชบุรี. สารนิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92548
Title
การประเมินการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองราชบุรี
Alternative Title(s)
Evaluation of food canteen according to local administration regulation compliance : a case study in Ratchaburi Municipality
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารตามข้อกำหนดท้องถิ่น ด้านการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติของผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และเทศบัญญัติเทศบาลเมืองราชบุรี เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในสถานที่ เอกชน พ.ศ.2542 เก็บข้อมูลด้วยวิธีเลือกทุกรายที่เปิดทำการขณะเก็บข้อมูล (Purposive Sampling) จากแหล่งต่างๆที่กำหนดไว้จำนวน 123 ราย สามารถเก็บข้อมูลได้ 97 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสังเกต ลักษณะของการตอบแบบสอบถามเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.3 อายุระหว่าง 30 ถึง 49 ปี ร้อยละ 54.9 ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการช่วง 1-5 ปี มากที่สุด เป็นจำนวนร้อยละ 43.9 การศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 42.7 การประเมินโดยภาพรวมระดับการรับรู้ด้านกฎหมายและเทศบัญญัติเทศบาลเมืองราชบุรี ของผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร ทั้งเรื่องหลักสุขาภิบาลอาหารและกฎหมาย อยู่ในระดับปานกลาง (X̄ = 2.24 S.D.= 0.700) สำหรับความรู้ด้านกฎหมายและ เทศบัญญัติฯ ผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหารมีความรู้ อยู่ในระดับน้อย (X̄ = 1.48 S.D.= 0.500) ผ่านเกณฑ์ความรู้เพียงร้อยละ 30.5ในส่วนการสังเกตการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดไว้ในเทศบัญญัติอยู่ในระดับดีมาก (X̄ = 3.44 S.D.= 0.366) มีข้อที่ต้องปรับปรุง คือ เรื่องการแสดงใบอนุญาตซึ่งถือเป็นเงื่อนไขข้อกำหนดด้านกฎหมาย พบว่าไม่มีการแสดงแม้แต่รายเดียว (X̄ = 1.00 S.D.= 0.000) สรุปการประเมินในภาพรวมแล้วพบว่า ผู้ประกอบการรับรู้และมีความรู้ ในเรื่องกฎหมายและเทศบัญญัติเทศบาลเมืองราชบุรีอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย สำหรับการปฏิบัติตามเทศบัญญัติด้านสุขาภิบาลอาหารจะทำได้ดีมาก ถูกต้องตามที่กำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์ แต่จะไม่ได้ปฏิบัติในกรณีที่เป็นเงื่อนไขข้อกำหนดด้านกฎหมายข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย เจ้าพนักงานท้องถิ่นเทศบาลเมืองราชบุรีควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินการตามกฎหมายให้มากขึ้น ร่วมกับการสำรวจการประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารอยู่เป็นประจำ รวมทั้งเน้นการแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ชัดเจน ณ สถานประกอบการ เพื่อสร้างจิตสำนึกของ ผู้ประกอบการให้รับรู้กฎหมายและสร้างเกณฑ์ จำแนกรายเก่ารายใหม่ได้ง่าย ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ เพื่อยกระดับความรู้ด้านกฎหมายของผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The objective of this survey research was to evaluate administration regulation using local compliances. The compliances include apprehension, knowledge, and practices of entrepreneurs. The scope of the entrepreneurs were stated in the Public Health Act, B.E. 2535 and defined in the Ratchaburi municipal laws, the regulation for private food canteens and storage B.E. 2542. The survey technique was purposive sampling. The research population was 97 samples out of a total of 123 defined sources. Data collection includes rating scale questionnaires and observation methods. This research selected descriptive statistics and analyzed data by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. The result shows that canteen entrepreneurs were mostly female, 68.3%, and aged between 30- 49 years old, 54.9%. The operational periods were mostly 1-5 years, 43.9%. The educational background of the entrepreneurs was mostly high school, 42.7%. Based on the public health laws and the Ratchaburi municipal laws, the apprehension score of food sanitation was medium, x̅= 2.24±0.700, the knowledge score about laws was small, x̅= 1.48±0.500, however the sanitation practice score was high x̅= 3.44±0.366. The suggested improvement was in that none of the entrepreneurs demonstrate their permit publicly, x̅= 1.00±-0.000. The summary of this research is that the entrepreneurs who acknowledge and are knowledgeable about the public health laws and Ratchaburi municipal laws are medium to small. The level of practice was high only in terms of sanitation, whereas the practice in term of laws was disobedient. This research suggested that the local officials of Ratchaburi municipality should publicize the regulation control and regularly survey the canteens. In order to create awareness in the entrepreneurs to acknowledge laws and build a classification criteria to demonstrate their permits. Hence the customers can easily check the permits, which leads to an upgrading of the entrepreneurs knowledge and a higher efficiency in law enforcement.
The objective of this survey research was to evaluate administration regulation using local compliances. The compliances include apprehension, knowledge, and practices of entrepreneurs. The scope of the entrepreneurs were stated in the Public Health Act, B.E. 2535 and defined in the Ratchaburi municipal laws, the regulation for private food canteens and storage B.E. 2542. The survey technique was purposive sampling. The research population was 97 samples out of a total of 123 defined sources. Data collection includes rating scale questionnaires and observation methods. This research selected descriptive statistics and analyzed data by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation. The result shows that canteen entrepreneurs were mostly female, 68.3%, and aged between 30- 49 years old, 54.9%. The operational periods were mostly 1-5 years, 43.9%. The educational background of the entrepreneurs was mostly high school, 42.7%. Based on the public health laws and the Ratchaburi municipal laws, the apprehension score of food sanitation was medium, x̅= 2.24±0.700, the knowledge score about laws was small, x̅= 1.48±0.500, however the sanitation practice score was high x̅= 3.44±0.366. The suggested improvement was in that none of the entrepreneurs demonstrate their permit publicly, x̅= 1.00±-0.000. The summary of this research is that the entrepreneurs who acknowledge and are knowledgeable about the public health laws and Ratchaburi municipal laws are medium to small. The level of practice was high only in terms of sanitation, whereas the practice in term of laws was disobedient. This research suggested that the local officials of Ratchaburi municipality should publicize the regulation control and regularly survey the canteens. In order to create awareness in the entrepreneurs to acknowledge laws and build a classification criteria to demonstrate their permits. Hence the customers can easily check the permits, which leads to an upgrading of the entrepreneurs knowledge and a higher efficiency in law enforcement.
Description
สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สาธารณสุขศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล