การศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
Issued Date
2554
Copyright Date
2554
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 192 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554
Suggested Citation
จิตติ ชนะฤทธิชัย การศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการทางการกีฬา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93745
Title
การศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
Alternative Title(s)
A Study of the stadium nanagement of Phrae provincial administration organization
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ภายหลังการรับถ่ายโอนภารกิจจากการกีฬาแห่งประเทศไทย และศึกษาผลการดำเนินงานในการรับบริการของผู้มาใช้ บริการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ปฏิบัติงานบริหารสนามกีฬา องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จำนวน 4 คน และใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้มาใช้บริการสนามกีฬาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดแพร่ จำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ศึกษาด้วยตนเอง ในการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ได้นำมา สรุปเป็นความเรียง ส่วนข้อมูลแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ด้านทรัพยากรในการบริหารจัดการ (4M's) ศูนย์กีฬามีจำนวนบุคลากร 36 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 1 คน ลูกจ้างตามภารกิจ 13 คน และลูกจ้างรายวัน 22 คน โดยบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดเกี่ยวกับการดูแลรักษา อาคารสถานที่ การดูแลความสะอาด และทัศนียภาพโดยรอบ และดำเนินการจัดเตรียมสนามกีฬาและอุปกรณ์สำหรับ ผู้มาใช้บริการ โดยได้รับการจัดสรรเงินในการบริหารจัดการสนามกีฬาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเงิน งบประมาณอุดหนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั้งในเรื่องของสถานที่ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความ สะดวก ให้มีความพร้อมและเพียงพอต่อการให้บริการผู้มาใช้บริการออกกำลังกายและเล่นกีฬา 2. ด้านกระบวนการบริหารจัดการ (POSDCoRB) มีการวางแผน นโยบาย และกำหนดกรอบแผนการ ปฏิบัติงานโดยระดับหัวหน้า และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามลำดับสายงานการบังคับบัญชา สั่งงานและ มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถของบุคลากร มีการวางแผนกำลัง สรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และส่งเสริมพัฒนาบุคลากรโดยจัดฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอก ศึกษาดูงาน และสร้าง ขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรในการปฏิบัติงาน มีการประสานงานที่ดีทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก 3.ด้านความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก
Description
การจัดการทางการกีฬา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2554)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
การจัดการทางการกีฬา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล