ปัจจัยความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาท

dc.contributor.advisorสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
dc.contributor.authorธงไท ไชยหิรัญการ
dc.date.accessioned2024-01-25T01:24:25Z
dc.date.available2024-01-25T01:24:25Z
dc.date.copyright2550
dc.date.created2567
dc.date.issued2550
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ, ระดับความสำเร็จ และปัญหา อุปสรรค ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขในการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาท โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาททั้ง 3 แห่ง จำแนกเป็นแบบสอบถามสำหรับสมาชิก จำนวน 350 คน กรรมการ 45 คน และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย การสนับสนุน สถาบันการเงินชุมชนของ ธ.ก.ส. รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนทั้ง 3 แห่ง จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย พบว่าสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาทมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้าด้านสมาชิก ปัจจัยนำเข้าด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านกระบวนการ อยู่ในระดับสูง ปัจจัยนำเข้าด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยนำเข้าด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ อยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยนำเข้าด้านความรู้ความเข้าใจของกรรมการ พบว่า กรรมการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจของสถาบันการเงินชุมชน ร้อยละ 95.40 ปัจจัยนำเข้าด้านประสบการณ์ในการทำงานของกรรมการ พบว่ากรรมการส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุน หรือกลุ่มต่างๆ ในชุมชน โดยมีกรรมการที่เคยทำงานบริหารกองทุน หรือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนร้อยละ 95.6 ปัจจัยนำเข้าด้านการผ่านการอบรมของกรรมการ พบว่ากรรมการของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาทเคยผ่านการอบรมการบริหารงานกลุ่มหรือกองทุน ต่างๆมาก่อน ร้อยละ 77.8 และระดับความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาท พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง จากการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาท ทั้ง3แห่งมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นน้อย สถาบันฯมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีเงินทุนหมุนเวียนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินงาน ชาวบ้านให้ความร่วมมือกับสถาบันฯเป็นอย่างดี ไม่มีหนี้ค้างชำระ ประธานและกรรมการได้รับการยอมรับจากสมาชิก การบริการของสถาบันฯ เป็นที่พึงพอใจของสมาชิก แต่อย่างไรก็ตามสถาบันฯ ยังมีปัญหาได้แก่ ขาดการการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถาบันฯ น้อย การอบรมเรื่องการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ การเชื่อมโยงการตลาดแก่สมาชิก ของ ธ.ก.ส. และหน่วยงานราชการน้อยและขาดความต่อเนื่อง ความขัดแย้งกับนายทุนในชุมชน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ยังมีไม่มากนัก เวลาการทำงานของกรรมการการและการเชื่อมโยงกันของสถาบันการเงินชุมชน ในระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภออื่นๆน้อย โดยแนวทางแก้ไข ควรสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถาบันฯอย่างจริงจัง อบรมและให้ความรู้กรรมการทุกคนอย่างต่อเนื่องเรื่องการใช้โปรแกรมต่างๆ อย่างถูกต้อง การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์ การเชื่อมโยงการตลาดแก่สมาชิก ธ.ก.ส. โดยประสานกับหน่วยราชการในการมาให้ความรู้กับชาวบ้านให้มากขึ้น องค์ กรส่วนท้องถิ่น หรือ ธ.ก.ส. ควรสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน หรือนำคอมพิวเตอร์มาเพื่อใช้เก็บข้อมูลเพื่อเป็นการลดปริมาณเอกสารได้ เวลาการทำงานของกรรมการ อาจมีการเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่กรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงาน หรือจ้างพนักงานมาช่วยงานในสถาบันฯ และควรมีการเชื่อมโยงกันของสถาบันการเงินชุมชน ในระหว่างหมูบ้าน ตำบล อำเภออื่นๆ ให้มากขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สถาบันฯ สมาชิกและชุมชน มีความเข้มแข็งขึ้น โดยผู้นำเป็นผู้ที่สำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชน
dc.description.abstractThis investigation was to study factors of success, levels of success, problems, limitations and solutions of the Community Financial Institute (CFIs) operation in Chainat Province. Data collection was conducted among 3 CFIs. 350 questionnaires were given to members and 45 questionnaires to the institution workers and several interviews with knowledgeable people were conducted. It was found that the CFIs have high performance in relation to environments, inputs related to members, budget, and processes but moderate performance in material, equipment, and place and low performance in IT. In relation to factors of input on knowledge and understanding, it was found that 95.40% of the worker performed well. In relation to factors of input on work experience, most workers did well in fund administration and 95.6% of the workers worked with fund administration among different community groups. In relation to factors of input on training, 77.8% of workers had been trained in fund administration and their level of success was high. The operations of the 3 CFIs in Chainat have met some minor problems and limitations. The CFIs are firm and self-sustainable with cash flows and do not have any problems in operations and villagers cooperate well without unpaid debt. The chairperson and the workers are accepted by members. However, the CFIs had several problems : lack of modern filing, little use of IT in administration, poor career development, poor marketing to members and government units, inconsistency, conflicts with loan sharks, poor equipment and stationery, long -- hours for workers and little connection of CFIs to villages, tambons, and districts. Solutions are to encourage serious use of IT in administration, to organize training and to spread knowledge to all workers about all programs, to develop careers, products and connections to markets for all BAAC members. There should be support for equipment and stationary or computers to load data in order to reduce paperwork and office hours for workers. Increased remuneration should be provided or more employees hired. There should be more connection of CFIs to villagers, tambons, and districts to exchange their learning. The communities need to be strengthened by the leader as the key co-ordinator among them. Excursions should be organized for workers and common activities should be organized.
dc.format.extentก-ฌ, 211 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93941
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectความสำเร็จ -- องค์ประกอบ
dc.subjectสถาบันการเงิน -- ไทย -- ชัยนาท
dc.subjectสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
dc.titleปัจจัยความสำเร็จของสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยนาท
dc.title.alternativeSuccess factors of community financial institute in Chainat
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4836845.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files