การสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมของชุมชนประวัติศาสตร์ในเกาะรัตนโกสินทร์
dc.contributor.advisor | เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ | |
dc.contributor.advisor | วีรานันท์ ดำรงสกุล | |
dc.contributor.author | ทิพาวรรณ วรรณมหินทร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T08:53:32Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T08:53:32Z | |
dc.date.copyright | 2557 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.description | วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557) | |
dc.description.abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาถึงภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรม ของชุมชนประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ในการลงพื้นที่ภาคสนาม กรณีศึกษาชุมชนท่าเตียน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวโดยผ่านการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนท่าเตียนนั้นยัง ไม่ประสบสำเร็จทางด้านการสื่อสารเท่าที่ควร เนื่องจากรูปแบบการนำเสนอที่ค่อนข้างน้อย ไม่หลากหลาย ขาดความน่าสนใจ เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญบางช่วงขาดหายไป จึงทำให้ผู้รับสารไม่สามารถรับรู้และเข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงของมรดกวัฒนธรรมของชุมชนประวัติศาสตร์ได้ ในขณะเดียวกันก็มีกระบวนการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมในชุมชนซึ่งเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนเอง กระบวนการดังกล่าวเป็ นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการต่อสู้กับการถูกไล่รื้อตามนโยบายรัฐ นอกจากนี้การรับรู้เกี่ยวกับย่านท่าเตียนจากตำนานเรื่องเล่า (Oral storytelling) ต่างๆ ของท่าเตียน เกิดจากการรับสื่อรูปแบบอื่นนอกบริบทการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมในชุมชนคือ สื่อภาพยนตร์ และ เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับท่าเตียน ซึ่งทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและสามารถนำไปพัฒนาเป็ นแนวทางการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ อาทิ ทำให้เกิดการรู้จักและเข้าใจคุณค่า มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนเหล่านี้ให้แก่สาธารณะ ตลอดจนกระตุ้นให้เล็งเห็นความสำคัญและการมีอยู่ของชุมชนเหล่านี้มากขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้กับนโยบายการท่องเที่ยวและแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นเกาะรัตนโกสินทร์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสอดคล้องและสมดุล | |
dc.description.abstract | This research aims to study the destination image by the interpretation content, techniques and tools of historic community sites and the opinions of visitors, villagers and those who have involved in the interpretation techniques and tools in Rattanakosin area. This qualitative study employs in-depth interviews along with observation from the researcher's view point, focusing on the case of the cultural heritage interpretation of Thatian Historic Community located in old Bangkok. The result of the study shows that the perception and interpretation of the destination image of Thatian community's cultural heritage, through the selected communication means, is rather unclear and not successfully presented to visitors due to its limited form and unappealing presentation. Moreover, the presented information does not correspond with historical information, which leads to misunderstanding and misinterpretation of the heritage values of Thatian community. Nonetheless, the communication and interpretation process of what are the heritage values are shared through people within the community. This means the process is viewed as a tool, which the community used to share their story of struggling against eviction. Furthermore, the perception and knowledge about the community's heritage is not limited to the communications means within the community only, but also from others sources including song lyrics and movies. These are examples of unconventional and creative communication methods, which can effectively deliver the message of cultural heritage's values and help to decide the appropriate policy to raise awareness of and inform the public of the importance of the community's existence. Therefore, the concerned organizations promoting the tourism industry can apply appropriate unconventional and creative communication means in Tourism Policy and the Tourism Master Plan to revive Rattanakosin Island. | |
dc.format.extent | [ก]-ญ, 204 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93430 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การสื่อสาร | |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- ท่าเตียน | |
dc.subject | ภาพลักษณ์ | |
dc.subject | ชุมชนท่าเตียน | |
dc.title | การสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมของชุมชนประวัติศาสตร์ในเกาะรัตนโกสินทร์ | |
dc.title.alternative | Heritage interpretation of historic community in Rattanakosin | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5237697.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย | |
thesis.degree.discipline | วัฒนธรรมและการพัฒนา | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |