The effect of hyperbaric oxygen therapy on short-term memory in autism case study : the underwater and aviation medicine division Abhakornkiartiwong Hospital sub-office of Sattahip Naval Base

dc.contributor.advisorTitawee Kaewpornsawan
dc.contributor.advisorMayuree Sampanthavivat
dc.contributor.authorPatchareeya Punjui
dc.date.accessioned2024-02-07T02:14:06Z
dc.date.available2024-02-07T02:14:06Z
dc.date.copyright2013
dc.date.created2013
dc.date.issued2013
dc.descriptionClinical Psychology (Mahidol University 2013)
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีภาวะออทิซึมอายุ 2-15 ปี ไม่มีภาวะปัญญาอ่อน เข้ารับการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูงที่กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส. โดยมีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวแบบ Time series design วัดผลก่อนการบำบัดครั้งที่ 1,10,20,30,40 และหลังการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูงในครั้งที่ 10,20,30,40 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูงต่อความจำระยะสั้น และพัฒนาการในเด็กออทิสติก โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยคะแนนความจำ ระยะสั้นที่วัด จากแบบทดสอบย่อย Bead memory ใน Stanford - Binet Intelligence Scale : Fourth Edition และคะแนนพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ การพูด และการใช้ภาษา การเข้า สังคม สติปัญญาและการรับรู้ และ ด้านพฤติกรรมจากแบบประเมินมาตรฐาน Autism Treatment Evaluation Checklist ในเด็กออทิสติกก่อนและหลังได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูงในช่วงเวลาต่างกัน จากนั้นทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลัง การวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยวิธี Bonferroni ควบคู่กับการดูแนวโน้มจากกราฟ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำระยะสั้นในเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้นหลังได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนความดัน สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความจำ ระยะสั้นเป็นรายคู่พบว่าหลัง การบำบัด ครั้งที่ 20 ,30 และ 40 ทำให้คะแนนเฉลี่ยความจำระยะสั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการทั้ง 4 ด้านในเด็กออทิสติก ได้แก่ การพูด และการใช้ภาษา การเข้าสังคม สติปัญญาและการรับรู้ และด้านพฤติกรรม ลดลงหลังได้รับการบำบัด ด้วยออกซิเจนความดัน สูงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการเป็นรายคู่พบว่าหลัง การบำบัด ครั้งที่ 30 และ 40 ทำให้คะแนนเฉลี่ยของพัฒนาการทั้ง 4 ด้านลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05)
dc.format.extentxi, 69 leaves
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationThesis (M.Sc. (Clinical Psychology))--Mahidol University, 2013
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95143
dc.language.isoeng
dc.publisherMahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderMahidol University
dc.subjectBrain -- Wounds and injuries -- Treatment
dc.subjectAutism in children -- Treatment
dc.subjectAutistic Disorder -- therapy
dc.subjectHyperbaric oxygenation
dc.subjectShort-term memory
dc.titleThe effect of hyperbaric oxygen therapy on short-term memory in autism case study : the underwater and aviation medicine division Abhakornkiartiwong Hospital sub-office of Sattahip Naval Base
dc.title.alternativeผลของการบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูงต่อความจำระยะสั้นในภาวะออทิซึม : การศึกษาเฉพาะกรณีกองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐท. สส.
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd471/5336268.pdf
thesis.degree.departmentFaculty of Medicine Siriraj Hospital
thesis.degree.disciplineClinical Psychology
thesis.degree.grantorMahidol University
thesis.degree.levelMaster's degree
thesis.degree.nameMaster of Science

Files