แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรเพื่อความยั่งยืน : กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ณัฏฐณิชย์ ศรีมาเสริม, Natthanit Srimaserm (2561). แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรเพื่อความยั่งยืน : กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72118
Title
แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรเพื่อความยั่งยืน : กรณีศึกษาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
งานวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน
ปัญหา อุปสรรคและความต้องการในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล 2) ศึกษาอนาคตภาพในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของสถาบันฯ และ 3) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการ
บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของสถาบันฯ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ
ผสม ได้แก่การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจกับกลุ่มประชากรของสถาบันฯ
จำนวน 146 คน และการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR ด้วยการสัมภาษณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันฯ จำนวน 15 คน เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์
ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าการบริหารจัดการทรัพยากร
มนุษย์ในด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยของระดับความคาดหวังเท่ากับ 4.36 ด้าน
การสรรหา 4.49 ด้านการพัฒนา 4.55 และด้านการธำรงรักษา 4.62 ส่วนการ
วิเคราะห์เชิงอนาคตผ่านการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ สามารถสรุป
เป็นความคิดเห็นร่วมเชิงฉันทามติที่เป็นแนวทางที่ส่งผลต่อระดับความมี
ประสิทธิผลขององค์ประกอบอนาคตภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร
มนุษย์ของสถาบันฯ
ผลการวิเคราะห์เพื่อนำมาพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
ประกอบด้วย 1) การวางแผนจำนวนบุคลากรที่ต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
อย่างมีประสิทธิผล ตอบสนองพันธกิจของการดำเนินการ เพื่อเพิ่มศักยภาพ
และขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายโดยการมุ่งเน้นผลลัพธ์ในสิ่งที่ทำได้ดีเป็นพิเศษหรือมีความโดดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่ง 2) การสรรหาจากผู้ที่มีความ
เหมาะสมทั้งการศึกษา ประสบการณ์และสมรรถนะที่เป็นคุณลักษณะที่
ต้องการกับทุกตำแหน่ง ที่มีแนวคิดและมุมมองใหม่ ๆ มานำเสนอในการ
ปรับปรุงระบบการทำงานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับสถาบันฯ 3) การ
พัฒนาให้บุคลากรให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีจิตบริการ มีการสร้างสรรค์ เพื่อ
ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและพันธกิจของสถาบัน
4) การธำรงรักษาที่มีกระบวนการในการดึงดูดและจูงใจโดยการให้
ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี ส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 175-176