Legal protection measures for whistleblowers reporting on corruption in Thailand
Issued Date
2024
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 197 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Praparada Pechthong Legal protection measures for whistleblowers reporting on corruption in Thailand. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91663
Title
Legal protection measures for whistleblowers reporting on corruption in Thailand
Alternative Title(s)
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทย
Author(s)
Abstract
This mixed methods study explored the legal process and procedures for protecting whistleblowers reporting corruption in Thailand, Documentary Research (DR) and Delphi technique were used, where (DR) focused on the comparative studies between Thailand Acts and Regulations of the United Nations Convention against Corruption - UNCAC, 2003. The direction on whistleblowing protection measures of Transparency International (TI) and relevant International laws in the preparation of the Thai protection measures were also considered especially where they coincided with the international laws. The Delphi Technique was applied in conducting the feasible study on implementing policies. Data were collected from a group of executives and experts through interviews. The derived data were subjected to statistical analysis to find the Median and Interquartile Range for measuring sample opinions on policy implementation. The findings suggested that whistleblowing protection measures should be based on international laws, which extended to the definition of who a whistleblower on corruption is, whistleblowing on corruption, whereas protection measures related to life safety protection for individual, family and close acquaintances, compensation and confidentiality in protecting the identity of the whistleblower and family including the closure of close acquaintance address, information on corruption with effective protection procedures, release from legal obligation protection from retaliation of the witness in the case. Rewarding measures should comprise praise and acknowledgement certificate, promotion and the prize money. At present, the Anti-corruption Act B.E. 2542 as amended and the Public Sector Anti-corruption Act B.E. 2551 as amended, including the Whistleblower Protection Act B.E. 2546 and relevant regulations are the main Acts followed in Thailand, however, these Acts should be amended further for more sufficient protection as recommended in this research. The Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC), the Office of Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC) and Rights and Liberty Protection Department, Ministry of Justice should oversee the operation as well as collaborate with the other relevant agencies to amend and improve the whistleblowing channels as well as keeping the whistleblower's confidential. The special protection unit, separate from the regular protection, should be established. Allocating enough manpower, budget and resources for the operation, including arranging to inform the public on protection and the campaign to increase public awareness should be instituted for combating corruption. The public should be encouraged to take part in auditing the nation's budget and guarding the nation's benefit of whistleblowing. In addition, the detailed record on whistleblowers of corruption must be kept and separated from the witness protection record. Finally, a comparison study with the country issuing specific laws to protect whistleblowers in order to find advantages and disadvantages, problems and setbacks in this operation should be conducted.
งานวิจัย เรื่อง การศึกษามาตรการทางด้านกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) การวิจัยทางเอกสารเป็นการศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติใน กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทยกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 แนวทางการกำหนดกฎหมายการ คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของ Transparency International -TI และกฎหมายในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำเสนอกรอบมาตรการทาง กฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทยที่สอดคล้องตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานในระดับสากลดังกล่าว หลังจากนั้นจึงเป็นการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำกรอบกฎหมายดังกล่าว ไปกำหนดนโยบาย โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำผลการตอบคำถามในรอบสุดท้ายของกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) เพื่อดูระดับความเห็นด้วยถึงแนวโน้มการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย และความสอดคล้องของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยควรมีกรอบมาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่สอดคล้อง ตามลักษณะมาตรการทางกฎหมายที่ดีในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตในระดับสากล ดังนี้ 1. มาตรการด้านนิยาม 1.1 นิยามผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต และ 1.2 นิยามการแจ้งเบาะแสการทุจริต 2. มาตรการการคุ้มครอง โดยมีรูปแบบการให้ความคุ้มครอง 5 รูปแบบ คือ 2.1 การคุ้มครองความปลอดภัย โดยการให้ความคุ้มครองบุคคลและครอบครัว หรือคนใกล้ชิดด้านชีวิตและความปลอดภัยและการชดเชยความเสียหาย 2.2 การรักษาความลับ ครอบคลุมทางด้านอัตลักษณ์บุคคล สมาชิกครอบครัวและคนใกล้ชิด ที่อยู่ ข้อมูลการทุจริตจากการแจ้งเบาะแส และมีขั้นตอนการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ 2.3 การพ้นจากการรับผิดทางกฎหมาย 2.4 การคุ้มครองจากการแก้แค้นตอบโต้ และ 2.5 การกันไว้เป็นพยาน และ 3. มาตรการด้านรางวัล ประกอบด้วยการยกย่องชมเชยและมอบใบประกาศเกียรติคุณ การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง และการให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการต่อต้านการทุจริต คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ครอบคลุมกรอบมาตรการทางกฎหมายที่ได้นำเสนอเป็นบางส่วน จึงควรมีการปรับแก้กฎหมายให้ครอบคลุมครบถ้วนตามกรอบมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่ได้นำเสนอไว้ในงานวิจัยนี้ โดยหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย คือ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ควรร่วมกันผลักดันให้เกิดการปรับแก้กฎหมายการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของไทย รวมทั้งหารือแนวทางการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับแก้กฎระเบียบภายในหน่วยงานของตนเองและพัฒนาช่องทางในการแจ้งเบาะแสที่หลากหลายและคำนึงถึงการรักษาความลับ นอกจากนั้นยังควรจัดให้มีหน่วยคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเป็นหน่วยเฉพาะ แยกจากการคุ้มครองพยาน และควรจัดสรรอัตรากำลัง งบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ที่เพียงพอในการดำเนินการ และดำเนินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ แจ้งข้อมูลด้านสิทธิการคุ้มครองการแจ้ง เบาะแสการทุจริต รวมทั้งการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ ความกล้าและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต โดยการมีส่วนร่วมในการตรวจตราการ ใช้งบประมาณแผ่นดินและรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมจากทุกภาคส่วน ผ่านการแจ้งเบาะแสการทุจริต อีกทั้ง ยังควรมีการเก็บรวบรวมสถิติการ ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตโดยละเอียด แยกจากสถิติการคุ้มครองพยาน และการศึกษาเปรียบเทียบประเทศที่มีการออกกฎหมาย เฉพาะกับประเทศที่มีกฎหมายหลายฉบับในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต เพื่อทราบถึงข้อดีข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บังคับของ กฎหมายเฉพาะและกฎหมายหลายฉบับดังกล่าว
งานวิจัย เรื่อง การศึกษามาตรการทางด้านกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) การวิจัยทางเอกสารเป็นการศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติใน กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทยกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 แนวทางการกำหนดกฎหมายการ คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของ Transparency International -TI และกฎหมายในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำเสนอกรอบมาตรการทาง กฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของประเทศไทยที่สอดคล้องตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานในระดับสากลดังกล่าว หลังจากนั้นจึงเป็นการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำกรอบกฎหมายดังกล่าว ไปกำหนดนโยบาย โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำผลการตอบคำถามในรอบสุดท้ายของกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) เพื่อดูระดับความเห็นด้วยถึงแนวโน้มการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย และความสอดคล้องของความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยควรมีกรอบมาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่สอดคล้อง ตามลักษณะมาตรการทางกฎหมายที่ดีในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตในระดับสากล ดังนี้ 1. มาตรการด้านนิยาม 1.1 นิยามผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต และ 1.2 นิยามการแจ้งเบาะแสการทุจริต 2. มาตรการการคุ้มครอง โดยมีรูปแบบการให้ความคุ้มครอง 5 รูปแบบ คือ 2.1 การคุ้มครองความปลอดภัย โดยการให้ความคุ้มครองบุคคลและครอบครัว หรือคนใกล้ชิดด้านชีวิตและความปลอดภัยและการชดเชยความเสียหาย 2.2 การรักษาความลับ ครอบคลุมทางด้านอัตลักษณ์บุคคล สมาชิกครอบครัวและคนใกล้ชิด ที่อยู่ ข้อมูลการทุจริตจากการแจ้งเบาะแส และมีขั้นตอนการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ 2.3 การพ้นจากการรับผิดทางกฎหมาย 2.4 การคุ้มครองจากการแก้แค้นตอบโต้ และ 2.5 การกันไว้เป็นพยาน และ 3. มาตรการด้านรางวัล ประกอบด้วยการยกย่องชมเชยและมอบใบประกาศเกียรติคุณ การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง และการให้เงินรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการต่อต้านการทุจริต คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ครอบคลุมกรอบมาตรการทางกฎหมายที่ได้นำเสนอเป็นบางส่วน จึงควรมีการปรับแก้กฎหมายให้ครอบคลุมครบถ้วนตามกรอบมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่ได้นำเสนอไว้ในงานวิจัยนี้ โดยหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของประเทศไทย คือ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ควรร่วมกันผลักดันให้เกิดการปรับแก้กฎหมายการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตของไทย รวมทั้งหารือแนวทางการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปรับแก้กฎระเบียบภายในหน่วยงานของตนเองและพัฒนาช่องทางในการแจ้งเบาะแสที่หลากหลายและคำนึงถึงการรักษาความลับ นอกจากนั้นยังควรจัดให้มีหน่วยคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตเป็นหน่วยเฉพาะ แยกจากการคุ้มครองพยาน และควรจัดสรรอัตรากำลัง งบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ที่เพียงพอในการดำเนินการ และดำเนินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ แจ้งข้อมูลด้านสิทธิการคุ้มครองการแจ้ง เบาะแสการทุจริต รวมทั้งการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ ความกล้าและค่านิยมในการต่อต้านการทุจริต โดยการมีส่วนร่วมในการตรวจตราการ ใช้งบประมาณแผ่นดินและรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมจากทุกภาคส่วน ผ่านการแจ้งเบาะแสการทุจริต อีกทั้ง ยังควรมีการเก็บรวบรวมสถิติการ ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตโดยละเอียด แยกจากสถิติการคุ้มครองพยาน และการศึกษาเปรียบเทียบประเทศที่มีการออกกฎหมาย เฉพาะกับประเทศที่มีกฎหมายหลายฉบับในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต เพื่อทราบถึงข้อดีข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคในการใช้บังคับของ กฎหมายเฉพาะและกฎหมายหลายฉบับดังกล่าว
Description
Criminology, Justice Administration and Society (Mahidol University 2016)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Mahidol University. Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University