กล่องควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกในขณะตรวจด้วยเครื่องฟลูออโรสโคปี
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ดาหวัน หลอยถวิล, รุ่งนภา บัวสุวรรณ, อาภรณ์ ชูศรีวัน, รัชฎาวรรณ เจือจันทร์ (2564). กล่องควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกในขณะตรวจด้วยเครื่องฟลูออโรสโคปี. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79457
Title
กล่องควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกในขณะตรวจด้วยเครื่องฟลูออโรสโคปี
Alternative Title(s)
Housing keep temperature for fluoroscopy
Other Contributor(s)
Abstract
การตรวจฟลูออโรสโคปี (Fluoroscopy) เป็นการตรวจวินิจฉัยทางรังสีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้เห็นภาพเอกซเรย์ของโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายแบบเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น การตรวจทางเดินอาหาร การตรวจการกลืนการตรวจลำไส้ และ การตรวจกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น (Sweta, Stephane,Lisa, Nima & Brenton, 2015, p. 228-234) สำหรับทารก (Infant) การตรวจด้วยฟลูออโรสโคปีมีประโยชน์ในการวนิจฉัย โดยมากผู้ป่วยที่มารับการตรวจวินิจฉัยที่หน่วยตรวจพิเศษทางรังสี (ตึก 72 ปีชั้น 2) มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะตีบของลำไส้ (Colonic stricture) อาการท้องอืดและสงสัยโรค Hirschsprung’s disease หรือ ในรายที่ต้องการประเมินลำไส้หน้าท้องหลังผ่าตัด เป็นต้น อีกทั้งการตรวจยังเป็นแบบ noninvasiveและไม่ต้องดมยาสลบระหว่างตรวจ (American College ofRadiology, 2019) จึงยังคงมีความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยในทารกที่มีปัญหา แต่ในระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วยฟลูออโรสโคปีทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำมาก และในระหว่างการเคลื่อนย้ายมายังห้องตรวจฟลูออโรสโคปี ทารกมักมาในตู้อบ (Radiant warmer) เมื่อเริ่มการตรวจวินิจฉัยต้อง
นำทารกออกจากตู้อบมาสู่อุณหภูมิห้องที่อุณหภูมิต่ำถึง 22 องศาเซลเซียสเนื่องจากเครื่องฟลูออโรสโคปีต้องทำในห้องที่อุณหภูมิต่า โดยในปี 2562 มีทารกที่คลอดก่อนกำหนดมารับการตรวจวินิจฉัยตรวจฟลูออโรสโคปีที่หน่วย
ตรวจมากถึงร้อยละ 20 ของทารกทั้งหมด ซึ่งการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในทารก องค์การอนามัยโลก (The world health organization, 2019) ได้กำหนดอุณหภูมิที่น้อยว่า 36.5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสเกิดอันตรายต่อทารกเป็นอย่างมาก ได้แก่ ภาวะหายใจลำบาก (respiratorydistress) ภาวะเป็นกรดในเลือด (metabolic acidosis) หรือ ภาวะดีซ่าน(Jaundice) เป็นต้น การป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในทารกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ควรต้องจัดอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายในห้องให้อยู่ระหว่าง 25 ถึง 28
องศาเซลเซียส และรักษาอุณหภูมิร่างกายทารกอยู่ระหว่าง 36.8 ถึง 37.2 องศาเซลเซียส (Stavis, 2019) ดังนั้นในปี 2561 หน่วยตรวจพิเศษทางรังสี(ตึก 72 ปีชั้น 2 ) จึงตระหนักถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia) ในทารก โดยระยะเริ่มแรกใช้เครื่องเป่าลมร้อนเป็นเบาะรองนอนระหว่างตรวจ พบว่าทารกยังมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ จึงใช้วิธีการปิดเครื่องปรับอากาศขณะตรวจ ทำให้บุคลากรไม่สุขสบายเนื่องจากต้องสวมใส่เสื้อตะกั่วขณะทำงาน และอาจส่งผลทำให้เครื่องฟลูออโรสโคปีขัดข้องได้ ทางหน่วยงานจึงคิดประดิษฐ์นวัตกรรม
จากกล่องกระดาษ เพื่อใช้ในการรักษาอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและร่างกายทารก
ให้เหมาะสมปลอดภัยระหว่างตรวจฟลูออโรสโคปี โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถรักษาอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและร่างกายของทารกได้ แต่ก็ยังประดิษฐ์จากวัสดุที่ไม่คงทน และมีขนาดเล็ก ทางหน่วยงานจึงคิดค้นพัฒนานวัตกรรมโดยใช้วัสดุอะคลิลิก เพื่อให้สามารถมองเห็นทารกในขณะตรวจได้อย่างชัดเจนใช้งานง่าย ขนาดใหญ่ขึ้น คงทน และสามารถรักษาอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและร่างกายของทารกได้เช่นกัน ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำระหว่างตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องฟลูออโรสโคปีได้
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 87-88