ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 161 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
อภิรฎี พิมเสน ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน . วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91871
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
Alternative Title(s)
The relationships between attitudes, subjective norms, perceived behavioral control, and intention to complete advance directives in community dwelling older adults
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิด Theory of Planned Behavior กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 88 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน การวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับเจตคติและระดับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.3, Mean = 37.09, S.D.= 8.02 และร้อยละ 42, Mean = 15.84, S.D. = 4.36 ตามลำดับ) ระดับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.4, Mean = 21.34, S.D. = 6.87) ระดับความตั้งใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 56.9, Mean = 2.05, S.D.= 1.33) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาพบว่า เจตคติและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .585, p < .01, r = .615, p < .01) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงกับความตั้งใจไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) จากผลการศึกษาครั้งนี้พยาบาลและทีมสุขภาพควรประเมินเจตคติและความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมการความตั้งใจในการทำหนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในระยะท้ายของชีวิตผู้สูงอายุ
This descriptive research study aimed at investigating the relationships between attitudes, subjective norms, perceived behavioral control and intention to complete advance directives in community-dwelling older adults based on the concept of Theory of Planned Behavior. The study sample consisted of 88 older adults, aged 60 years and above. Data were collected using an interview questionnaire. Data were analyzed by means of descriptive statistics and Spearman's rank correlation coefficient. The results revealed that the subjects had a moderate level of attitudes and subjective norms (52.3%, Mean = 37.09, S.D.= 8.02 42%, Mean = 15.84, S.D. = 4.36, respectively). The levels of their perceived behavioral control was good (61.4%, Mean = 21.34, S.D. = 6.87), and their intention level was low (56.9%, Mean =2.05, S.D.= 1.33). Furthermore, it was found that attitudes and perceived behavioral control were positively related to intention (r = .585, p < .01, r = .615, p < .01, respectively), while there was no relationship between subjective norms and intention. The findings indicate that nurses and health care providers should assess attitudes and perceived behavioral control of older adults in order to promote their intention to complete advance directives.
This descriptive research study aimed at investigating the relationships between attitudes, subjective norms, perceived behavioral control and intention to complete advance directives in community-dwelling older adults based on the concept of Theory of Planned Behavior. The study sample consisted of 88 older adults, aged 60 years and above. Data were collected using an interview questionnaire. Data were analyzed by means of descriptive statistics and Spearman's rank correlation coefficient. The results revealed that the subjects had a moderate level of attitudes and subjective norms (52.3%, Mean = 37.09, S.D.= 8.02 42%, Mean = 15.84, S.D. = 4.36, respectively). The levels of their perceived behavioral control was good (61.4%, Mean = 21.34, S.D. = 6.87), and their intention level was low (56.9%, Mean =2.05, S.D.= 1.33). Furthermore, it was found that attitudes and perceived behavioral control were positively related to intention (r = .585, p < .01, r = .615, p < .01, respectively), while there was no relationship between subjective norms and intention. The findings indicate that nurses and health care providers should assess attitudes and perceived behavioral control of older adults in order to promote their intention to complete advance directives.
Description
การพยาบาลผู้สูงอายุ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลผู้สูงอายุ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล