โครงการเรียนรู้เท่าทันภัยยาเสพติด
Issued Date
2546
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
พิทยา จารุพูนผล (2546). โครงการเรียนรู้เท่าทันภัยยาเสพติด. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63535
Title
โครงการเรียนรู้เท่าทันภัยยาเสพติด
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ต้องร่วมแรงร่วมใจเพื่อเอาชนะจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพและสร้างเป็นเครือข่ายถือเป็นยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขที่สำคัญเร่งด่วน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องทันสถานการณ์และมีทักษะในการดำรงชีพ และสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนา ครอบครัว ชุมชนต่อไปอย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม
ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิลด ได้จัดโครงการเรียนรู้เท่าทันภัยยาเสพติด เพื่อพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งสี่ชั้นปีทุกคน จำนวน 449 คน โดยจัดอบรมรุ่นละ 1 ชั้นปี แต่ละรุ่นใช้เวลาในการอบรม 2 วัน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ.2546 โดยมีการนำกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการนันทนาการมาประยุกต์ใช้และสอดแทรกแนวคิดเรื่องการมองศักยภาพด้านดี การสะท้อนประสบการณ์ ทั้งด้านที่ชอบและไม่ชอบ เรียนรู้เท่าทันวุฒิภาวะของตนเองและบุคคลอื่น การพัฒนาทักษะ การวิเคราะห์ปัญหา และเหตุปัจจัย การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างชาญฉลาดและมีเหตุผล การพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ และขยายเครือข่ายไปสู่เพื่อนนักศึกษา ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนโดยรวม และติดตามประเมินผลเพื่อขยายผลต่อในช่วงเดือนตุลาคม 2546
ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีคะแนนความรู้เรื่องยาเสพติดเพิ่มขึ้นวก่าก่นอการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.0001 ในเรื่องการประเมินภาวะสุขภาพจิตด้วย Thai GHO-30 พบว่า ชั้นปีที่ 1,2 และ 4 มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณร้อยละ 40 ส่วนชั้นปีที่ 3 มีปัญหาสุขภาพจิตน้อยสุด คือ ร้อยละ 26.4 โดยมีนักศึกษาที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง (ฆ่าตัวตาย) สอดคล้องกันในอัตราประมาณร้อยละ 8-12 ทั้งนี้หลังจากผ่านกระบวนการนักศึกษามีทัศนคติ แนวคิด วิธีการดูแลตนเองและทีมคณาจารย์ได้จัดกระบวนการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมมือกันในการดูรักษา ส่งเสริมและป้องกันปัญหา ตลอดจนทักษะที่สำคัญในการดูแลตนเองเพื่อสุขภาพสุขภาพกายใจ และหลีกภัยยาเสพติดโดยรวม
ข้อสรุปจากโครงการเรียนรู้เท่าทันภัยยาเสพติด จะเห็นว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีพื้นฐานความรู้ด้านสุขภาพมาเป็นนำและเครือข่ายที่สำคัญ ด้วยกระบวนการกลุ่ม โดยประยุกต์แนวคิด การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด การมองโลกในด้านดี การมีจิตใจเพื่อประโยชน์สาธารณะ การทุ่มเทและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า พร้อมทั้งการประเมินผลด้วยตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน ตลอดจนข้อคิดเห็นที่สะท้อนจากผู้เข้ารับการอบรมถึงผลที่ได้รับถึงผลที่ได้รับซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
Description
ประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง "ความเป็นธรรมด้านสุขภาพกับความมั่นคงของมนุษย์: ความท้าทายในงานสาธารณสุข, วันที่ 17-19 ธันวาคม 2546 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546. หน้า 222.