การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM
Issued Date
2555
Copyright Date
2555
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 238 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555
Suggested Citation
ปิรัญญา วงศ์ขัติย์ การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93613
Title
การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM
Alternative Title(s)
An analysis of conversational structures of the 94.0 EFM radio hosts
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุและเพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาของนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุประเภทบันเทิง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการสนทนาทั้งหมด 15 บทสนทนา จากการสนทนาของนักจัดรายการวิทยุทั้งหมด 5 คู่ จานวนคู่ละ 3 ครั้ง และจาก 3 รายการ ผู้วิจัยใช้แนวคิดของแซกส์ เชกลอฟ และเจฟเฟอร์สัน (Sacks, Schegloff, & Jefferson, 1974) เป็นแนวคิดหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักจัดรายการวิทยุนิยมใช้การทักทายในการเปิดการสนทนา การปิดการสนทนาสามารถแบ่งออกเป็นการปิดการสนทนาชั่วคราวและการปิดการสนทนาถาวร การเปลี่ยนผลัดการพูดและการแสดงว่ารับฟังอยู่มีการใช้รูปภาษาหลายรูปแบบ การพูดซ้อนกันและการขัดจังหวะการพูดนั้นมีหน้าที่หลายหน้าที่ ส่วนการปรับแก้นอกจากจะใช้ในการให้ความกระจ่างแก่บางสิ่งแล้ว ยังพบว่ามีการใช้การปรับแก้เพื่อให้เกิดความตลกด้วย นอกจากจะมีการใช้รูปภาษาในการบ่งชี้การเปลี่ยนหัวข้อแล้ว การไม่ใช้รูปภาษาใดหรือตัวบ่งชี้ใดในการเปลี่ยนหัวข้อการสนทนาก็ยังคงทาให้คู่สนทนาเข้าใจและดาเนินการสนทนาได้อย่างปกติ ผลการศึกษากลวิธีการใช้ภาษาของนักจัดการวิทยุคลื่น 94.0 EFM พบว่านักจัดรายการวิทยุมีการใช้กลวิธีทั้งหมด 7 กลวิธี คือ การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้ภาษาไทยถิ่น การใช้คาแสลง การใช้คาไม่สุภาพ การเล่นคาหรือเสียง การเลียนแบบลักษณะการพูด และการใช้อักษรย่อ สาหรับภาษาต่างประเทศนั้นมีทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่อยู่ในสังคมไทยในช่วงนั้น ผลการศึกษาโครงสร้างบทสนทนาระหว่างนักจัดรายการวิทยุคลื่น 94.0 EFM พบว่ามีโครงสร้างบทสนทนาที่คล้ายกับการสนทนาในชีวิตประจาวัน ส่วนกลวิธีส่วนใหญ่ที่นักจัดรายการวิทยุใช้ก็เพื่อทาให้เกิดความบันเทิงและเพื่อดึงดูดผู้ฟังให้ติดตามฟังรายการวิทยุ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเป็นสื่อวิทยุ นักจัดรายการวิทยุต้องใช้ความระวังและใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม สาหรับหัวข้อการสนทนาของนักจัดรายการวิทยุมักเป็นเรื่องที่กาลังได้รับความสนใจในสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงเวลานั้นสังคมไทยกาลังให้ความสนใจเรื่องอะไร
Description
ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล