Biosynthesis study of natural polyisoprenes : initiation step of rubber formation
dc.contributor.advisor | Tanaka, Yasuyuki | |
dc.contributor.author | Dararat Mekkriengkrai | |
dc.date.accessioned | 2023-08-25T06:18:53Z | |
dc.date.available | 2023-08-25T06:18:53Z | |
dc.date.copyright | 2005 | |
dc.date.created | 2005 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาโครงสร้างของหมู่ที่ตำแหน่งปลายเริ่มต้นที่เรียกว่าปลายโอเมก้าในโมเลกุลยางธรรมชาติที่ได้จากต้นพาราโดยการวิเคราะห์โครงสร้างทางโมเลกุลของยางโมเลกุลต่ำและโพลีพรีนอลที่ได้จากยางพารา ร่วมด้วยการศึกษาทางชีวเคมีเกี่ยวกับสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ยาง จากการศึกษาการสังเคราะห์ยางในหลอดทดลองจากส่วนล่างสุดของการปั่นยางด้วยการเติมสารทรานส์-ทรานส์-ฟาร์เนซิลไดฟอสเฟตจำนวนต่างๆ พบว่าเปอร์เซ็นต์การเกิดยางโมเลกุลใหม่น้อยลงแต่เกิดการเข้าร่วมของไอโซเพนทีนิลไดฟอสเฟตที่ติดฉลากในส่วนของโพลีพรีนอลมีมากขึ้น เมื่อจำนวนของสารฟาร์เนซิลไดฟอสเฟตมากขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการเกิดยางโมเลกุลใหม่จะถูกเริ่มต้นจากฟาร์เนซิลไดฟอสเฟต จากการวิเคราะห์โครงสร้างของโพลีพรีนอลที่สกัดได้จากยางของต้นที่งอกใหม่และส่วนล่างสุดของการปั่นยางพารา อีกทั้งยางโมเลกุลต่ำที่สุดที่แยกได้จากยางที่ปั่นล้างด้วยสารลดแรงตึงผิว ด้วยเทคนิค 1H-, 13C-NMR and2D-COSY พบว่าที่ปลายโอเมก้าประกอบด้วยหมู่ไดเมทิลแอลลิลและทรานส์ไอโซพรีนสองหมู่ แสดงให้เห็นว่าสารเริ่มต้นของการสังเคราะห์ยางในต้นพาราคือ ทรานส์-ทรานส์-ฟาร์เนซิลไดฟอสเฟตเหมือนในกรณีของโพลีพรีนอลชนิดสองทรานส์ไอโซพรีน อย่างไรก็ดีปลายโอเมก้านี้ไม่สามารถตรวจวัดได้ในยางที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำของยางที่ปั่นล้างและยางที่มีโมเลกุลสูงที่ได้จากส่วนต่างๆ ของต้นยางพาราและยางที่สกัดโปรตีนออกทั้งนี้เนื่องมาจากการดัดแปลงที่หมู่ไดเมทิลแอลลิล จากการวิเคราะห์จำนวนไนโตรเจนอะตอมต่อหนึ่งสายโซ่ของยางที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างๆ ของยางที่ปั่นล้างพบว่ามีความเป็นไปได้ต่ำที่โอลิโกเปปไทด์จะต่อกับหมู่ไดเมทิลแอลลิลซึ่งสามารถสนับสนุนผลที่ได้จากการวัด FTIR อีกทั้งได้ศึกษายางจากขนุนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำและสูงพบว่าปลายโอเมก้าประกอบด้วยหมู่ไดเมทิลแอลลิล-ทรานส์-ทรานส์ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาเอนไซม์ฟาร์เนซิลไดฟอสเฟตซินเทสซึ่งแยกได้จากเห็ด ซึ่งเป็นครั้งแรกในการศึกษาเอนไซม์พรีนิลทราสเฟอเรสในเห็ด จากงานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าโครงสร้างของหมู่ไดเมทิลแอลลิลทางด้านปลายโอเมก้าของโมเลกุลยางพาราโดยทั่วไปถูกดัดแปลงโดยปฏิกิริยาทางเอนไซม์หรือทางเคมีบนผิวอนุภาคยางในขั้นตอนการต่อเติมสายโซ่ให้ได้โมเลกุลที่ยาวขึ้นและกระบวนการจับตัวน้ำยาง | |
dc.format.extent | xxiv, 240 leaves : ill. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Ph.D. (Polymer Science and Technology))--Mahidol University, 2005 | |
dc.identifier.isbn | 9740462863 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/88697 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Rubber | |
dc.subject | Dimethylallyltranstransferase | |
dc.subject | Hevea | |
dc.title | Biosynthesis study of natural polyisoprenes : initiation step of rubber formation | |
dc.title.alternative | การศึกษาขั้นตอนการสังเคราะห์โพลีไอโซพรีนที่ได้จากยางธรรมชาติ-ขั้นเริ่มต้นของการสังเคราะห์ยาง | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2548/cd378/4436243.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Science | |
thesis.degree.discipline | Polymer Science and Technology | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy |