กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค : กรณีศึกษาอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
Issued Date
2567
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 118 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ภัทรา ทองสุข กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค : กรณีศึกษาอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92075
Title
กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค : กรณีศึกษาอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
Alternative Title(s)
The process of participation in the development of integrated malaria services, the Office of Disease Prevention and Control 2 Phitsanulok, Department of Disease Control : a case study of Tha Song Yang district, Tak province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้รับผิดชอบงานมาลาเรียของแต่ละหน่วยงาน และกลุ่มประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรีย ในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และ 2) เพื่อศึกษาเทคนิคหรือวิธีการในการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มระดับนโยบาย/ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มระดับภาคีเครือข่ายในชุมชน และกลุ่มประชาชน มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการแบบบูรณาการโรคมาลาเรียเป็นไปตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของ Cohen และ Uphoff ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผน และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ในการสนับสนุนเรื่องต่างๆ ได้แก่ บุคลากร ทรัพยากร การบริหารจัดการ และการประสานงาน 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยทุกภาคส่วนมุ่งเน้นการลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ และ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ซึ่งทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบการดำเนินในทุกกิจกรรม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ โดยมีการดำเนินงานที่สอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียวระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชน เทคนิคหรือวิธีการในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ คือ การสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน การพบปะพูดคุยแบบไม่เป็นทางการจะได้รับความร่วมมือในการทำงานมากว่าแบบทางการ การสร้างความไว้ใจ เชื่อใจซึ่งกันและกันจะช่วยให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การสร้างให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจกรรมการดำเนินงาน จะทำให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น นอกจากนี้ การมีระบบข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน และการนาเทคโนโลยีที่ดีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย จะช่วยให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าเชื่อถือ
This qualitative research used in-depth interviews to collect data from locals and personnel responsible for malaria work in each public sector in Tha Song Yang district, Tak province. The objectives were 1) to study the participation process in developing integrated malaria services and 2) to study successful implementation techniques and approaches in malaria prevention and control in Tha Song Yang district, Tak province. The research findings revealed that administrators and policy makers, community party network, and locals were involved in the participation process in developing integrated malaria services in alignment with Cohen and Uphoff's forms of participation: 1) participation in deciding, planning, and implementing activities, 2) participation in the implementation to support personnel, resources, management, and coordination, 3) participation in direct and indirect benefits - every sector focused on decreasing malaria illness and mortality rates in the area, and 4) participation in follow-up and evaluation - every sector participated in monitoring the implementation of every activity to propel forward the work of malaria prevention and control in the area. The public sectors and people coordinated harmoniously. Techniques or approaches of the successful implementation in malaria prevention and control in the area were to establish good relationship amongst each other. Informal meetings and talks would contribute more to work participation than formal manners. Establishing trust and reliability in one another would help in creating work participation. Establishing locals' sense of ownership in implementing activities would give them pride, thus they would participate more. In addition, having one data system and applying good technology in diagnosis would help the implementation succeed, resulting in continual and creditable development.
This qualitative research used in-depth interviews to collect data from locals and personnel responsible for malaria work in each public sector in Tha Song Yang district, Tak province. The objectives were 1) to study the participation process in developing integrated malaria services and 2) to study successful implementation techniques and approaches in malaria prevention and control in Tha Song Yang district, Tak province. The research findings revealed that administrators and policy makers, community party network, and locals were involved in the participation process in developing integrated malaria services in alignment with Cohen and Uphoff's forms of participation: 1) participation in deciding, planning, and implementing activities, 2) participation in the implementation to support personnel, resources, management, and coordination, 3) participation in direct and indirect benefits - every sector focused on decreasing malaria illness and mortality rates in the area, and 4) participation in follow-up and evaluation - every sector participated in monitoring the implementation of every activity to propel forward the work of malaria prevention and control in the area. The public sectors and people coordinated harmoniously. Techniques or approaches of the successful implementation in malaria prevention and control in the area were to establish good relationship amongst each other. Informal meetings and talks would contribute more to work participation than formal manners. Establishing trust and reliability in one another would help in creating work participation. Establishing locals' sense of ownership in implementing activities would give them pride, thus they would participate more. In addition, having one data system and applying good technology in diagnosis would help the implementation succeed, resulting in continual and creditable development.
Description
สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
สาธารณสุขศาสตร์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล