ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง
Issued Date
2558
Copyright Date
2558
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 189 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
Suggested Citation
อนัญฐ์ณิศา มณีวงศ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92651
Title
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง
Alternative Title(s)
Factors influencing research competency among public health nurses in central region, Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิและมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จากหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตภาคกลางจำนวน 447 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราค ด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.767 ปัจจัยจูงใจ 0.757 ปัจจัยค้ำจุน 0.877 และสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขเท่ากับ 0.872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation) และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะด้านการวิจัยโดยรวม อยู่ในระดับกลาง (x̄ = 54.9, S.D.= 9.3) โดยมีสมรรถนะด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยสูงที่สุด (x̄ = 3.0, S.D.= 0.6) และสมรรถนะด้านความสามารถในการทำวิจัยต่ำที่สุด (x̄ = 2.6, S.D.= 0.4) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่าความรู้เกี่ยวกับการวิจัย ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย ความสนใจที่จะทำงานวิจัยและงบประมาณที่สนับสนุนการทำวิจัยและค่าตอบแทนจากการทำวิจัยสามารถร่วมพยากรณ์สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขได้ร้อยละ 55.3 ผลการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะในการสร้างสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขให้ดีขึ้น โดยผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานกำหนดนโยบายเพิ่มพูนสมรรถนะด้านการวิจัย รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทำวิจัยและมีค่าตอบแทนจากการทำวิจัยแก่พยาบาลสาธารณสุข
The purpose of this descriptive correlative research was to study factors influencing to research competency among public health nurses in the central region of Thailand. The sample were 362 public health nurses working for primary care units. Data was collected by a set of self-administered questionnaires and were analyzed by descriptive statistics, Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results showed that public health nurses rated their research competency at moderate level with mean score 54.9, ± 9.3. The application of the research results in actual nursing practices is the aspect that shows the highest average score (x̄ = 3.3, S.D. = 0.7), and the ability to conduct research shows the lowest average score (x̄ = 1.9, S.D.= 0.7). Motivating factors and hygiene factors were positively related with research competency at p-value<0.05. The result from stepwise multiple regression analysis revealed that knowledge about the research, research responsibility, presenting research results experience, attention to research, and budgetary support altogether could predict research competency among public health nurses at 55.3 % The study results could be used for policy driven to encourage research competency among public health nurses, especially, research knowledge and budgeting support.
The purpose of this descriptive correlative research was to study factors influencing to research competency among public health nurses in the central region of Thailand. The sample were 362 public health nurses working for primary care units. Data was collected by a set of self-administered questionnaires and were analyzed by descriptive statistics, Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results showed that public health nurses rated their research competency at moderate level with mean score 54.9, ± 9.3. The application of the research results in actual nursing practices is the aspect that shows the highest average score (x̄ = 3.3, S.D. = 0.7), and the ability to conduct research shows the lowest average score (x̄ = 1.9, S.D.= 0.7). Motivating factors and hygiene factors were positively related with research competency at p-value<0.05. The result from stepwise multiple regression analysis revealed that knowledge about the research, research responsibility, presenting research results experience, attention to research, and budgetary support altogether could predict research competency among public health nurses at 55.3 % The study results could be used for policy driven to encourage research competency among public health nurses, especially, research knowledge and budgeting support.
Description
การพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลสาธารณสุข
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล