แนวโน้มที่จะเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพภายหลังเกษียณอายุ : แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี ความเหนื่อยหน่าย และภาระงานของพยาบาล
dc.contributor.advisor | วีณา ศิริสุข | |
dc.contributor.advisor | วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ | |
dc.contributor.advisor | มัลลิกา มัติโก | |
dc.contributor.author | ปรีญานงค์ ดงหงษ์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-16T00:52:52Z | |
dc.date.available | 2024-01-16T00:52:52Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน การ มองโลกในแง่ดีและภาระงานของพยาบาลวัยก่อนเกษียณ เพื่อทำนายแนวโน้มการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพใน 3 มิติ (สุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการมีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต) กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษา คือ พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตร์และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพพยาบาลและ การผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ทำงานประจำในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยเจาะจงเลือกกรอบ ประชากรเฉพาะพยาบาลที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งมีทั้งสิ้น 191 คน แต่มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับและ สมบูรณ์จำนวน 136 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์ สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเหนื่อย หน่ายในการทำงาน จำนวนชั่วโมงในการทำงานโดยเฉลี่ยต่อวัน และแผนกในการทำงาน แต่มีความสัมพันธ์เชิง บวกกับการมองโลกในแง่ดี โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถทำนายแนวโน้มการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ (p < 0.023, p < 0.005, p < 0.026, และ p < 0.044 ตามลำดับ) และร่วมกันทำนายแนวโน้มการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ของพยาบาลวัยก่อนเกษียณได้ร้อยละ 19.7 จากผลการศึกษาครั้งนี้ซึ่งพบว่าปัจจัยความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน รวมทั้งภาระงาน และการมองโลกในแง่ดีมีความสำคัญต่อแนวโน้มในการเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพภายหลัง เกษียณอายุ ดังนั้นในแต่ละแผนกการทำงานควรจัดงานที่มีความเหมาะสมและมีชั่วโมงการทำงานที่ไม่มากหรือ น้อยเกินไปเพื่อลดความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน รวมทั้งควรมีการส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีและภาคภูมิใจใน ตนเอง แก่พยาบาลวัยก่อนเกษียณร่วมด้วย | |
dc.description.abstract | This study aimed to investigate the relationships of burnout, optimism, and workloads of nurses who were retiring and also to predict the trend of 'being active ageing persons' in three dimensions (health, participation and security). The population of the study were nurses who received a nursing degree, registering as a nursing and midwifery entrepreneur. The participants were selected from a population frame of nurses aged 55 years and over working at a tertiary hospital in Bangkok. The total number of target nurses was 191. However, only 136 nurses returned and completed the questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson's correlation, and stepwise multiple regression. The results showed that the trend of 'being active ageing persons' could be negatively significant, predicted by burnout, working hours/day, and the work department, but there was a positively significant association with optimism (p < 0.023, p < 0.005, p < 0.026, and p < 0.044, respectively). The predictive model of 'being active ageing persons' after their retirement could explain 19.7 percent of the total variance of prediction. The findings proved that both burnout, and workloads, together with optimism, were significant for understanding the trend of 'being active ageing persons' in nurses. Therefore, each department should have appropriate workloads in order to reduce burnout. Moreover, nurses should be encouraged to be optimistic and be proud of themselves. | |
dc.format.extent | ก-ฏ, 209 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92890 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) | |
dc.subject | การมองโลกในแง่ดี | |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ -- การเกษียณอายุ | |
dc.title | แนวโน้มที่จะเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพภายหลังเกษียณอายุ : แบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี ความเหนื่อยหน่าย และภาระงานของพยาบาล | |
dc.title.alternative | The trend of 'being active ageing persons' after retirement : a delineated model of optimism, burnout, and workloads among nurses | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd496/5436954.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |