ความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ชุณหคล้าย
dc.contributor.authorวรรณรัตน์ ยาทิพย์
dc.date.accessioned2024-01-25T01:24:22Z
dc.date.available2024-01-25T01:24:22Z
dc.date.copyright2550
dc.date.created2567
dc.date.issued2550
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ใช้แนวคิดการพัฒนาองค์การให้เป็น "องค์การเอื้อการเรียนรู้" โดยได้นำเสนอแนวการฝึกปฏิบัติ 5 ประการที่สามารถสร้างนวัตกรรมทางพฤติกรรมของสมาชิก ได้แก่ ความรอบรู้บุคลากรการสร้างต้นแบบความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและการใช้หลักการเป็นพื้นฐานสร้างความคิดให้เป็นระบบวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อความเป็นองค์การเอื้อการ เรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อศึกษาความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี 3 ) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบรรยากาศองค์การกับความเป็น องค์การเอื้อการเรียนรู้ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับข้าราชการประจำระดับ 4-9 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 70 คน และใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีด้านการบริหารงานด้านวัฒนธรรมองค์การและด้านความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้มาเป็นส่วนประกอบในการอภิปรายผล ผลการวิจัย พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีมีบรรยากาศองค์การที่เอื้อต่อความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับสูง และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีโดยรวมอยู่ในระดับสูง และพบว่า ปัจจัยบรรยากาศองค์การด้านแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการความรู้ต่อทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์การต้องปรับปรุงและ พัฒนา เพื่อนำไปสู่การสร้างความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ องค์การควรวางกลยุทธ์การพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ในเรื่องของความรู้ของบุคลากรทั้งในระดับบุคคลระดับกลุ่มและ ระดับองค์การและควรปลูกฝังค่านิยมที่ช่วยผลักดันให้องค์การบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกัน ส่วนแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้องค์การควรทำความเข้าใจและสร้างวัฒนธรรมหลักขององค์การเพื่อให้บุคลากรทุกคนมีวัฒนธรรมองค์การไปในทิศทางเดียวกัน และควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่อกัน
dc.description.abstractThis study dealt with the concept of developing a "Learning Organization" through 5 practical guidelines that encourage behavioral innovation in its members; namely, the knowledge of personnel, the creation of idea models, team-based learning, joint vision creation, and the use of principles as the basis of creating positive thinking. The objectives of this study were: 1) to study the organizational climate factors contributing to the "learning organization" of the Prachinburi Provincial Administrative Organization; 2) to examine the existing "learning organization" of the Prachinburi Provincial Administrative Organization; and 3) to study relationships between organizational climate factors and a functional learning organization. This study primarily involved quantitative research collected through a questionnaire distributed to 70 Class 4-9 government officers working for the Prachinburi Provincial Administration Organization supplemented by an interview with the president of the Prachinburi Provincial Administration Organization about the management, organizational culture, and general concept of a "learning organization." The study revealed that the Prachinburi Provincial Administration Organization's strong organizational climate had a moderately positive correlation to factors qualifying it as a learning organization, but that certain aspects of its organizational climate concerning practical guidelines towards human resource knowledge management and the learning culture in this organization could be improved. The study suggests that a three-step organizational development strategy of human resources should be established by improving personnel knowledge at the 1) personal, 2) group, and 3) organizational levels and by clarifying, for each employee, the values which drive the organization towards its shared vision. The learning culture of successful learning organizations usually consists of moral value systems - for example, encouraging every employee to understand the organization's core culture in the same way or ensuring that specialized personnel disclose their knowledge, information, and accumulated experience to less-experienced personnel.
dc.format.extentก-ช, 130 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93918
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเรียนรู้องค์การ
dc.subjectสภาพแวดล้อมการทำงาน
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัด -- ไทย -- ปราจีนบุรี
dc.titleความเป็นองค์การเอื้อการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
dc.title.alternativeLearning organization of Prachinburi Provincial Administration Organization
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4736777.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files