การศึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 ของสถานประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฏ, 231 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
รื่นฤดี ชอบผล การศึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 ของสถานประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91878
Title
การศึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 ของสถานประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
A study of compliance with section 35 of persons with disabilities empowerment ACT 2007 of companies in Bangkok
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ ความเข้าใจเข้าใจของสถานประกอบการและคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการที่มีต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 มาตรา 3 5 (2) ศึกษาลักษณะเฉพาะของสถานประกอบการและคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการต่อระดับ การรับรู้ ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 มาตรา 35 (3) ศึกษาแนวโน้มการเชื่อมโยงแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Cooperate social responsibility) กับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 มาตรา 35 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนสถานประกอบการ และคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 124 สถานประกอบการ และ 207 คน ตามลำดับ เลือกแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นตามกรอบทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรม ส่งไปยังไปยังสถานประกอบการและคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ ตามที่กำหนดทางไปรษณีย์ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 39 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ ตัวแทนจากสถานประกอบการ จำนวน 9 คน คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 8 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องจากตัวแทนภาครัฐ เอกชน องค์กรคนพิการทุกประเภทความพิการ จำนวน 22 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามกรอบคิดที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตามประเด็นที่กำหนด ผลการวิจัย พบว่า สถานประกอบการและคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 มาตรา 35 อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ลักษณะเฉพาะของคนพิการซึ่งได้แก่ประเภทความพิการทั้ง 7 ประเภท และระดับการศึกษาของคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับระดับความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 มาตรา 35 โดยคนพิการประเภทร่างกายและการเคลื่อนไหว และพิการทางการเห็น มีการรับรู้เข้าใจได้ ครอบคลุมมากกว่าคนพิการประเภทอื่น ๆ ส่วนลักษณะเฉพาะของสถานประกอบการซึ่งได้แก่ จำนวนลูกจ้าง ประเภทของสถานประกอบการ ระยะเวลาที่สถานประกอบการดำเนินกิจกรรมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติกับการรับรู้เข้าใจต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 นอกจากนี้พบว่า สถานประกอบการประเภท ให้บริการและสถานประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุณภาพคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 กับความรับผิดชอบต่อสังคมในการส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพคนพิการได้ ในขณะที่สถานประกอบการขนาดเล็กไม่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ กล่าวคือ ควรสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยการประชาสัมพันธ์ เรื่องคนพิการ/ความพิการ สิทธิประโยชน์ ให้สถานประกอบการ และคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีพและการจ้างงานโดยผ่านช่องทางบริการสื่อสาธารณะ และองค์กรภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขระเบียบปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
This mixed methods research composing of quantitative and qualitative study aims to (1) investigate perception of companies and persons with disabilities (PWDs)/their caregiver towards Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007, (2) investigate association between characteristics of companies as well as PWDs/caregivers, and their perception towards section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 and (3) investigate the association between a CSR trend and the enforcement of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 in Bangkok area. In terms of quantitative study, participants were 124 representatives of companies and 207 PWDs or their caregivers selected by stratified random sampling. Questionnaires regarding Section 35 of Person with Disabilities Empowerment Act 2007 were sent to those participants via postal mail. For qualitative study, participants were 39 participants including 8 PWDs/caregivers, 9 representatives of companies, 22 other stakeholders (government organizations, disabled people organizations, professionals) selected by purposive sampling. In-depth interview guidelines were obtained data from those particular participants. The study reveals that perception or knowledge of companies and PWDs/caregivers towards Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 is moderate level. Moreover, characteristics of disabilities and the education levels of PWDs are associated with the perception of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 at a statistical significance of 0.05. Persons with physical and visual disabilities similarly showed a higher perception level than other disability groups. However, the companies' characteristics including a number of employees, categories of companies, period of activity performances are not associated with the perception of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007. The study also reveals that only some hospitality businesses and big companies are able to provide the corporate social responsibility activities promoting employment for PWDs according to the Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007, while most companies have not provided corporate social responsibility programs. Based on study results, it would be recommended that further promotion and public relations regarding the legal rights of PWDs and their caregivers should be established through public service broadcastings, especially the rights of occupation and employment. Finally, government sectors should allow all relevant parties to get involved in revising related laws and regulations in order to make an appropriate and effective policy implementation.
This mixed methods research composing of quantitative and qualitative study aims to (1) investigate perception of companies and persons with disabilities (PWDs)/their caregiver towards Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007, (2) investigate association between characteristics of companies as well as PWDs/caregivers, and their perception towards section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 and (3) investigate the association between a CSR trend and the enforcement of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 in Bangkok area. In terms of quantitative study, participants were 124 representatives of companies and 207 PWDs or their caregivers selected by stratified random sampling. Questionnaires regarding Section 35 of Person with Disabilities Empowerment Act 2007 were sent to those participants via postal mail. For qualitative study, participants were 39 participants including 8 PWDs/caregivers, 9 representatives of companies, 22 other stakeholders (government organizations, disabled people organizations, professionals) selected by purposive sampling. In-depth interview guidelines were obtained data from those particular participants. The study reveals that perception or knowledge of companies and PWDs/caregivers towards Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 is moderate level. Moreover, characteristics of disabilities and the education levels of PWDs are associated with the perception of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007 at a statistical significance of 0.05. Persons with physical and visual disabilities similarly showed a higher perception level than other disability groups. However, the companies' characteristics including a number of employees, categories of companies, period of activity performances are not associated with the perception of Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007. The study also reveals that only some hospitality businesses and big companies are able to provide the corporate social responsibility activities promoting employment for PWDs according to the Section 35 of Persons with Disabilities Empowerment Act 2007, while most companies have not provided corporate social responsibility programs. Based on study results, it would be recommended that further promotion and public relations regarding the legal rights of PWDs and their caregivers should be established through public service broadcastings, especially the rights of occupation and employment. Finally, government sectors should allow all relevant parties to get involved in revising related laws and regulations in order to make an appropriate and effective policy implementation.
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล