ประสิทธิผลของนวัตกรรม “ ผ้ากันยุ่ง ” ต่อระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความพึงพอใจของพยาบาล

dc.contributor.authorสุนันทา ตั้งปนิธานดีen_US
dc.contributor.authorอรดี จริตควรen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายการพยาบาลen_US
dc.date.accessioned2018-04-26T10:02:49Z
dc.date.available2018-04-26T10:02:49Z
dc.date.created2561-04-26
dc.date.issued2556
dc.descriptionหนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 216-234en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานวัตกรรมที่พยาบาลคิดค้นขึ้น เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานประจำวันให้มีประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ต่อระยะเวลาการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจและความพึงพอใจของพยาบาล ที่หน่วยตรวจโรคทั่วไป 1 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัย มหิดล ทำการศึกษาในผู้รับบริการผู้ป่วยนอกที่ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2555 และกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เป็นผู้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยจำนวน 10 ราย เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยแต่ละราย หลังการใช้นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ( = 281.80, S.D. = 15.978) ลดลงกว่าก่อนพัฒนานวัตกรรม ( = 349.94, S.D. = 18.537) เมื่อทดสอบด้วยสถิติที (t-test) พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สำหรับระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาลต่อการใช้นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” พบว่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังการพัฒนา ( = 4.40, S.D. = .516) เพิ่มมากกว่าก่อนพัฒนา ( = 3.10, S.D. = .568) และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุป นวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง” ที่พยาบาลคิดค้นขึ้น เพื่อจัดเก็บสายอิเลคโทรดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่อง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถลดระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเพิ่มความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งาน ผลงานนี้ช่วยกระตุ้นบุคลากรในหน่วยงานทุกระดับให้เห็นขั้นตอนการทำ R2R ซึ่งไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นการแก้ปัญหางานประจำที่ทำทุกวันให้ดีขึ้น ผลงาน “ผ้ากันยุ่ง” เป็นแรงกระตุ้นให้พยาบาลคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยเสริมการดูแลผู้รับบริการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และรู้สึกภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11022
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectนวัตกรรม “ผ้ากันยุ่ง”en_US
dc.subjectระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจen_US
dc.subjectความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาลen_US
dc.titleประสิทธิผลของนวัตกรรม “ ผ้ากันยุ่ง ” ต่อระยะเวลาการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความพึงพอใจของพยาบาลen_US
dc.title.alternativeEfficacy of Pa-gun-yung Innovation on the Time Spent for 12 – lead ECG and Nursing Staff Satisfactionen_US
dc.typeProceeding Articleen_US
mods.location.physicalLocationFaculty of Physical Therapy, Surasak Srisuk Library
mods.location.physicalLocationResearch Institute for Languages and Cultures of Asia
mods.location.physicalLocationSiriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
mods.location.physicalLocationCentral Library
mods.location.physicalLocationASEAN Institute for Health Development Library
mods.location.physicalLocationFaculty of Nursing Library
mods.location.physicalLocationFaculty of Pharmacy Library
mods.location.urlhttp://www.gj.mahidol.ac.th/th/social-and-academic/anual-academic-conference/#confer-56
mu.identifier.callnoW3 ก482ม ครั้งที่ 1 2556 [ LIPT, LILC, LISI, LICL, LIAD, LINS, LIPY]

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
gj-pc-sunanta-2556.pdf
Size:
350.57 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: