สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล
Issued Date
2567
Copyright Date
2563
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 178 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563
Suggested Citation
สาวินี ตันติวุฒิคุณ สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92011
Title
สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล
Alternative Title(s)
Association between psychosocial work environment and job stress among non-medical staff in hospital
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กร ที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ของผู้ปฏิบัติงานสังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน สังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 671 คน โดยใช้แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรตามมาตรฐานการจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในองค์กร (Management Standards Indicator Tool : Health and Safety Executive) ที่ประกอบด้วยปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ความต้องการในงาน (Demands) ความสามารถในการควบคุมในงาน (Control) การสนับสนุนทางสังคม (Support) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Relationships) ความชัดเจนของบทบาท (Role) และ การรับรู้การเปลี่ยนแปลงขององค์กร (Change) และ มาตรวัดความเครียดในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์ความถดถอยพหุ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การที่ต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า (Mean = 3.06, SD = 1.03) รองลงมาคือ การมีเวลาไม่เพียงพอสาหรับทำงานในปริมาณมาก (Mean = 3.02, SD = 1.07) และการมีความรู้สึกผิดเมื่อหยุดงาน (Mean = 2.98, SD = 1.20) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยพหุ พบว่าไม่มีตัวแปรด้านประชากรและสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ตัวแปรสิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กร จำนวน 3 ตัว มีผลต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตัวแปรด้านความต้องการในงาน (Demands) (beta = 0.598) ตัวแปรด้านบทบาท (Role) (beta = 0.135) และตัวแปรด้านความสัมพันธ์ (Relationships) (beta = 0.132) ตามลำดับ โดยผู้ปฏิบัติงานที่รับรู้ถึงระดับความต้องการในงานสูง มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีมีแนวโน้มที่จะมีความเครียดจากการปฏิบัติงานในระดับที่สูงกว่า ซึ่งตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อการเกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานสังกัดฝ่ายวิศวกรรมบริการและอาคารสถานที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ถึงร้อยละ 46.4
This cross-sectional study aimed to investigate the relationship of individual characteristics and organizational psychosocial work environment with job stress among nonmedical staff working in a hospital. The sample of the study included 671 non-medical staff members in the department of Division of facilities and environmental management, Siriraj Hospital. Data were collected using the Job Stress questionnaire, and the Health and Safety Executive (HSE) Management Standards Indicator Tool to measure psycho-social characteristics of the organization in terms of job demands (Demands), ability to control own work (Control), social support in the organization (Support), relationships with other members (Relationships), clarity of role (Role) and awareness of organizational change (Change). The study results revealed that the particular stress indicators that had highest ratings from the respondents included: the respondents had been worn out of work (Mean=3.06, SD=1.03), had little time to finish a large volume of work (Mean=3.02, SD=1.07) and felt guilty when they took the days off (Mean=2.98, SD=1.20). The results from multiple linear regression indicated that no individual characteristics were associated with job stress while three organizational psychosocial characteristics, including job demands (( = 0.598), role ( = 0.135) and relationships ( = 0.132), were found to be statistically significantly associated with job stress at a significant level of 0.05. The respondents who perceived a higher level of job demand, perceived a clearer job role, and had a poorer relationship with the others in the organization were more likely to have a higher degree of job stress when compared to their counterparts. The three psychosocial characteristics of the organization could explain 46.4% of the proportion of variance in job stress.
This cross-sectional study aimed to investigate the relationship of individual characteristics and organizational psychosocial work environment with job stress among nonmedical staff working in a hospital. The sample of the study included 671 non-medical staff members in the department of Division of facilities and environmental management, Siriraj Hospital. Data were collected using the Job Stress questionnaire, and the Health and Safety Executive (HSE) Management Standards Indicator Tool to measure psycho-social characteristics of the organization in terms of job demands (Demands), ability to control own work (Control), social support in the organization (Support), relationships with other members (Relationships), clarity of role (Role) and awareness of organizational change (Change). The study results revealed that the particular stress indicators that had highest ratings from the respondents included: the respondents had been worn out of work (Mean=3.06, SD=1.03), had little time to finish a large volume of work (Mean=3.02, SD=1.07) and felt guilty when they took the days off (Mean=2.98, SD=1.20). The results from multiple linear regression indicated that no individual characteristics were associated with job stress while three organizational psychosocial characteristics, including job demands (( = 0.598), role ( = 0.135) and relationships ( = 0.132), were found to be statistically significantly associated with job stress at a significant level of 0.05. The respondents who perceived a higher level of job demand, perceived a clearer job role, and had a poorer relationship with the others in the organization were more likely to have a higher degree of job stress when compared to their counterparts. The three psychosocial characteristics of the organization could explain 46.4% of the proportion of variance in job stress.
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Degree Discipline
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล