แนวทางพัฒนาน้ำตาลมะพร้าวปลอดภัยสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงคราม
Issued Date
2550
Copyright Date
2550
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-จ, 183 แผ่น : ภาพประกอบสี
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
Suggested Citation
วชิรา จิตต์ปราณี แนวทางพัฒนาน้ำตาลมะพร้าวปลอดภัยสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93071
Title
แนวทางพัฒนาน้ำตาลมะพร้าวปลอดภัยสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงคราม
Alternative Title(s)
The development of guidelines for safe coconut sugar as part of an alternative public policy, Samutsongkhram province, Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาแนวทางพัฒนาน้ำ ตาลมะพร้าวปลอดภัยสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการผลิตและบริโภคน้ำตาลมะพร้าวของจังหวัดสมุทรสงคราม และศึกษาแนวทางสร้างความปลอดภัยในการผลิตและบริโภคน้ำตาลมะพร้าวของจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพัฒนาสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การจัดเวทีระดมความคิดเห็น การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ประกอบกับการสำรวจเอกสาร รวมทั้งการศึกษาในการวิเคราะห์ปัญหา และการเสนอทางเลือกนโยบายสาธารณะในพื้นที่ศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์การผลิตน้ำตาลมะพร้าวของจังหวัดสมุทรสงครามทั้งด้านพื้นที่การเพาะปลูกมะพร้าวตาล และปริมาณการผลิตน้ำตาลมะพร้าวมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด เนื่องจากใน ช่วงแรกพื้นที่สวนมะพร้าวตาลถูกรุกล้ำจากน้ำทะเล ประกอบกับการขาดแคลนแรงงานในกระบวนการผลิตการลดลงของปริมาณการผลิตน้ำตาลในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีสูงทำให้มีการเพิ่มทดแทนของน้ำตาลหลอมออกสู่ตลาดแทนน้ำตาลแท้และน้ำตาลผสมในสัดส่วน 70:30 สาเหตุเหล่านี้ร่วมกับความไม่ปลอดภัยจากกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการใช้สารฟอกขาวกลุ่มซัลไฟต์จนทำให้เกิดการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในน้ำตาลมะพร้าวสูงเกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม การศึกษาแนวทางสร้างความปลอดภัยในการผลิตและบริโภคน้ำตาลมะพร้าวเพื่อพัฒนาสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงครามได้ข้อสรุปว่า แนวทางที่ควรได้รับการพัฒนาสู่ทางเลือกนโยบายสาธารณะจังหวัดสมุทรสงคราม คือ การนำระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) น้ำตาลมะพร้าวสู่การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดร่วมกับการสนับสนุนการรวมกลุ่มการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไปจากกลุ่มผู้ผลิต มผช.ต้นแบบ โดยใช้กระแสสังคมเป็นแรงผลักดันเพื่อให้เกิดการขยายเครือข่ายการผลิตน้ำตาลมะพร้าวปลอดภัยในระดับที่กว้างขึ้นต่อไป
The study developed guidelines for safe coconut sugar as part of an alternative public policy, Samutsongkhram Province, Thailand. The study investigated unsafe factors in coconut sugar production and consumption to find better ways of production and consumption, with cooperation of stakeholders to develop guidelines for alternative public policy. The fieldwork data gathered by in-dept interview, group interview, and nonparticipatory observation. The study included a content scope of problems analysis and local public policy alternative analysis in the area of Samutsongkhram Province. The results of the study revealed that the situation of Samutsongkhram Province coconut sugar production was continuously decreasing because of salt water intrusion and lack of labour. While the natural coconut sugar volume was decreasing, the counterfeit sugar was increasing to cope with market demand. It is expected that ratio of counterfeit and natural sugar in Samutsongkhram Province is about 70:30. The counterfeit sugar leads to contamination of food from the addition of a bleaching agent (Sodium hydrosulphite) which is illegal, unsafe and over the standard limit. The study concluded that the appropriate guidelines are the upgrading of product standards according to the Thai Community Product Standard and coconut sugar group cooperation. This guideline should be run under support of community organizations, and provincial governmental agencies. Social support should be employed to generate effective cooperation expansion among producers to produce safe coconut sugar in the future
The study developed guidelines for safe coconut sugar as part of an alternative public policy, Samutsongkhram Province, Thailand. The study investigated unsafe factors in coconut sugar production and consumption to find better ways of production and consumption, with cooperation of stakeholders to develop guidelines for alternative public policy. The fieldwork data gathered by in-dept interview, group interview, and nonparticipatory observation. The study included a content scope of problems analysis and local public policy alternative analysis in the area of Samutsongkhram Province. The results of the study revealed that the situation of Samutsongkhram Province coconut sugar production was continuously decreasing because of salt water intrusion and lack of labour. While the natural coconut sugar volume was decreasing, the counterfeit sugar was increasing to cope with market demand. It is expected that ratio of counterfeit and natural sugar in Samutsongkhram Province is about 70:30. The counterfeit sugar leads to contamination of food from the addition of a bleaching agent (Sodium hydrosulphite) which is illegal, unsafe and over the standard limit. The study concluded that the appropriate guidelines are the upgrading of product standards according to the Thai Community Product Standard and coconut sugar group cooperation. This guideline should be run under support of community organizations, and provincial governmental agencies. Social support should be employed to generate effective cooperation expansion among producers to produce safe coconut sugar in the future
Description
การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
Degree Discipline
การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและชนบท
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล