ความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมประเภทหัตถกรรมท้องถิ่น ศึกษากรณี : การอนุรักษ์มีดอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 155 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
เกศริน ธารีเทียน ความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมประเภทหัตถกรรมท้องถิ่น ศึกษากรณี : การอนุรักษ์มีดอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91921
Title
ความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมประเภทหัตถกรรมท้องถิ่น ศึกษากรณี : การอนุรักษ์มีดอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Alternative Title(s)
Factors of awareness, problems and recommendations towards conservation of cultural heritage handicraft : a case study of Aranyik knives conservation, Pha Nakhon Sri Ayutthaya province
Author(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตระหนัก ปัจจัยที่ผลต่อความตระหนัก รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการเสริมสร้างความตระหนักของประชาชนต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ประเภทหัตถกรรมท้องถิ่น ศึกษากรณี: การอนุรักษ์มีดอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุไม่ต่ำ กว่า 18 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นระยะเวลาไม่ต่ำ กว่า 5 ปี จำนวน 355 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) ในระดับน้อย และเมื่อทาการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักพบว่า ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) และการให้คุณค่าต่อมรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ การขาดความร่วมมือของประชาชนในการที่จะสืบสานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) จากคนรุ่นเก่าไปยังคนรุ่นใหม่ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตมีดอรัญญิก และการขาดแหล่งสื่อสารที่หลากหลายในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม (มีดอรัญญิก) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ หน่วยงานภาครัฐและประชาชนในชุมชนควรร่วมกันกำหนดแนวทางและมาตรการในการเชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้มีการดูแล รักษาและฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการจัดตั้งศูนย์หัตถกรรม (มีดอรัญญิก) ที่มีการนำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน มีการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ในชุมชน
The objectives of this research are to study level of awareness, factors of awareness, problems and recommendations towards conservation of cultural heritage handicraft: a case study of Aranyik knives conservation, Pha Nakhon Sri Ayutthaya Province. Quantitative research was employed. A questionnaire survey was conducted with 355 respondents who were above 18 years old and lived in Tha Chang sub-district, Nakhon Luang District, Pha Nakhon Sri Ayutthaya Province for at least 5 years. The quantitative analysis included descriptive statistics, t-test, and one way ANOVA. The study result found that the awareness of the respondents towards Aranyik knives conservation was low. The factors significantly related to people awareness towards conservation of cultural heritage (Aranyik knives) included duration of stay (p-value = 0.05) as well as knowledge and valuation of cultural heritage (p-value = 0.01). The problems of Aranyik knives conservation included lack of inheritance to the next generation, lack of production technology, and lack of communication. This research recommends the collaboration between government agencies and local people to indicate supporting measures to conserve local cultures. The handicraft center (Aranyik knives) should be established to present origin, culture, tradition, local way of life, and local wisdom. Marketing strategies should be applied to promote the identity of local products. In addition, the activities should be set up with young generation in the community to increase awareness towards cultural heritage conservation.
The objectives of this research are to study level of awareness, factors of awareness, problems and recommendations towards conservation of cultural heritage handicraft: a case study of Aranyik knives conservation, Pha Nakhon Sri Ayutthaya Province. Quantitative research was employed. A questionnaire survey was conducted with 355 respondents who were above 18 years old and lived in Tha Chang sub-district, Nakhon Luang District, Pha Nakhon Sri Ayutthaya Province for at least 5 years. The quantitative analysis included descriptive statistics, t-test, and one way ANOVA. The study result found that the awareness of the respondents towards Aranyik knives conservation was low. The factors significantly related to people awareness towards conservation of cultural heritage (Aranyik knives) included duration of stay (p-value = 0.05) as well as knowledge and valuation of cultural heritage (p-value = 0.01). The problems of Aranyik knives conservation included lack of inheritance to the next generation, lack of production technology, and lack of communication. This research recommends the collaboration between government agencies and local people to indicate supporting measures to conserve local cultures. The handicraft center (Aranyik knives) should be established to present origin, culture, tradition, local way of life, and local wisdom. Marketing strategies should be applied to promote the identity of local products. In addition, the activities should be set up with young generation in the community to increase awareness towards cultural heritage conservation.
Description
สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์
Degree Discipline
สิ่งแวดล้อม
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล