การเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยสถานภาพตัวตนการเป็นชายรักชายต่อคนในครอบครัว : ปัจจัย รูปแบบ และผลกระทบ

dc.contributor.advisorโธมัส กวาดามูซ
dc.contributor.advisorพิมพวัลย์ บุญมงคล
dc.contributor.authorพาณิชย์ เอี่ยมอาษา
dc.date.accessioned2024-01-15T04:07:44Z
dc.date.available2024-01-15T04:07:44Z
dc.date.copyright2559
dc.date.created2567
dc.date.issued2559
dc.descriptionสังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบของการเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย สถานภาพชายรักชายต่อครอบครัวในบริบทประเทศไทย และศึกษาปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยสถานภาพชายรักชายต่อครอบครัวในบริบทประเทศไทย วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาข้อมูลฐุติยภูมิ และการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ วัยรุ่นชายรักชาย อายุระหว่าง 18-21 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย โดยผู้ให้ข้อมูลจะอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน การสัมภาษณ์ทั้งหมดจะถูกบันทึกเทปและนำมาถอดเทปรวมไปถึงกระบวนการคัดแยกข้อมูลเพื่อนำมาตอบคำถามการวิจัยโดยผ่านแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัยครังนี้ ผลการศึกษา: รูปแบบในการเปิดเผยสถานภาพการเป็นชายรักชายต่อคนในครอบครัวเป็นไปในลักษะรูปแบบของการไม่ถามไม่บอก (don't ask don't tell) ซึ่งเป็นวิธีการที่วัยรุ่นชายรักชายส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้วิธีการนี้เพราะว่าเป็นวิธีการที่ไม่ต้องการพูดคุยหรือบอกโดยตรงไม่มีการปะทะสังสรรค์กันระหว่างวัยรุ่นชายรักชาย (Homosexual) กับผู้ปกครอง (Heterosexual) ปัจจัยที่สนับสนุนการเปิดเผยสถานภาพตัวตนนั้นคือลักษณะรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่ทำให้วัยรุ่นชายรักชายรู้สึกปลอดภัยและรู้สึกถึงความเป็นอิสระที่จะพูดคุย, ปรึกษาและแสดงความคิดเห็นต่อคนในครอบครัว ทำให้พื้นที่บ้านเป็นพื้นที่ที่วัยรุ่นชายรักชายรู้สึก ปลอดภัยในส่วนปัจจัยที่สนับสนุนการไม่เปิดเผยคือรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่ให้วัยรุ่นชายรักชายรู้สึกกลัว ยกตัวอย่างเช่น กลัวว่าจะได้รับผลกระทบ (ความรุนแรงทางกาย, วาจา, และจิตใจ), กลัวที่จะทำให้คนในครอบครัวผิดหวังและเสียใจสำหรับผลกระทบของการเปิดเผยคือวัยรุ่นชายรักชายได้รับผลกระทบทั้งทางกาย (ความรุนแรง) และจิตใจ (คำพูดและการกระทำของผู้ปกครองที่แสดงออกเมื่อรับรู้) ส่วนผลกระทบของการไม่เปิดเผยคือมีความเกี่ยวข้องต่อความรู้สึกอึดอัด, วิตกกังวล, เครียด, ซึมเศร้า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องต่อปัญหาสุขภาพทางด้านจิตใจในอนาคต
dc.description.abstractObjective: in this research. we try to understand the patterns of disclosure or non-disclosure of sexual orientation of homosexuals to family members. We also include factors and consequences of disclosure or non-disclosure of sexual orientation to family members. Method: we used secondary data analysis and also included the data from in-depth interviews and focus group discussions (FGDs) which were conducted among 18 young gays who were between 18-21 years old, currently in high school or university and residing in Bangkok, Thailand. All interviews/FGDs were audio- recorded and transcribed. Thematic analysis was then conducted and characterised into 3 major domains of disclosure: factors, patterns, and consequences. Results: consequences of disclosure included physical harm (e.g., kick, slap) and emotional harm (e.g., not speaking, verbal attacks). Three patterns of disclosure were found: tell, ask, and don't ask don't tell. The theme of the pattern of disclosure was predominantly centralised around a common Thai practice of don't ask, don't tell when it comes to sexuality issues. While gays reported that their parents know that they are homosexual, the parents and young gays do not talk about it. Reasons for non-disclosure include fear and worry about the consequences that may follow. Therefore, the reasons for disclosure were feeling safe and free to confide in family members. At the same time, young gays have different ways of confiding and different people to whom they confide. For example, some gays choose to disclose to non-parents in the family like aunts and sisters, or to their close friends. Others choose to disclose to others when they enter university. For those who disclose to their parents, they choose to disclose more often to mothers than fathers.
dc.format.extentก-ฌ, 88 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92799
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเปิดเผยตนเอง
dc.subjectเกย์ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว
dc.titleการเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยสถานภาพตัวตนการเป็นชายรักชายต่อคนในครอบครัว : ปัจจัย รูปแบบ และผลกระทบ
dc.title.alternativeDisclosure or non-disclosure of being homosexual to family members : factors, patterns and consequences
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/507/5637717.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์และสุขภาพ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files