การสร้างตัวตนความเป็นศิลปินมลายูมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านจิตรกรรมไทยร่วมสมัยในมุมมองหลังอาณานิคม

dc.contributor.advisorวิกานดา พรหมขุนทอง
dc.contributor.advisorณรงค์ อาจสมบัติ
dc.contributor.advisorกรญาร์ เตชะวงศ์เสถียร
dc.contributor.authorจิตติพงศ์ ตะสัย
dc.date.accessioned2024-01-09T01:06:08Z
dc.date.available2024-01-09T01:06:08Z
dc.date.copyright2562
dc.date.created2562
dc.date.issued2567
dc.descriptionวัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการสร้างตัวตนความเป็นมลายูมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ของศิลปินจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ผ่านกรณีศึกษาศิลปินทั้งหมด 6 คน โดยพยายามทำความเข้าใจกับการต่อรองในเชิงอัตลักษณ์และการขับเคลื่อนสังคมผ่านการประกอบสร้างตัวตนระหว่างการศึกษาศิลปะในสถาบันการศึกษา และการสร้างพื้นที่ ศิลปะเพื่อแสดงผลงานในชุมชน ผู้วิจัยใช้แนวคิดหลังอาณานิคม ได้แก่ แนวคิดสภาวะลูกผสม แนวคิดผู้ไร้เสียง และ แนวคิดพื้นที่ที่สาม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มศิลปินบ่มเพาะอัตลักษณ์ผ่านการศึกษาระดับปริญญาตรีกับพิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ ชลูด นิ่มเสมอ ในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากรบุคคลทั้งสองกระตุ้นให้ศิลปินถ่ายทอดอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นผ่านผลงานศิลปะ ผนวกกับงานศิลปกรรมไทยและงานศิลปะต่างประเทศ ชลูดได้กระตุ้นให้ศิลปินแสดงความเป็นตัวตนอย่างเต็มที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านมิติมลายูมุสลิมและเพศสภาพ กล่าวคือศิลปินหญิงสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับวิถีของสตรีมุสลิม การเป็นสตรีที่ดี พื้นที่การเลี้ยงดูเด็กโดยแฝงเรื่องราวเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นฉากหลัง ผลงานของศิลปินชายให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตและพื้นที่ของเพศ ชาย อาชีพประมง มัสยิด บ้านและครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความไม่สงบโดยตรง ผลงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะลูกผสมที่เกิดจากผสมผสานระหว่างอิทธิพลตะวันตก ศิลปะร่วมสมัยไทย ประเด็นท้องถิ่นและการเมืองนอกจากนี้ศิลปินยังสะท้อนให้เห็นภาวะการเป็นผู้ไร้เสียงและการสร้างพื้นที่ที่สามผ่านการจัดแสดงศิลปะ พบว่าศิลปินเผชิญกับภาวะการต้องปรับเปลี่ยนชื่อผลงานที่เปรียบเสมือนการลดทอนเสียงและอัตลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญ สภาวะไร้เสียงนี้ส่งผลให้ศิลปินได้สร้างพื้นที่ศิลปะในบ้านเกิดของตนเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการเล่าเรื่องราวของตน และยังร่วมมือกับนิทรรศการในระดับภูมิภาค นานาชาติ โดยมุ่งหวังให้เกิดเปลี่ยนแปลงภาพจำความเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้จากสื่อกระแสหลัก
dc.description.abstractThis thesis examines the identities of Melayu-Muslim artists in the Southernborder provinces through the case study of six Thai contemporary painters. The study explores the way in which these artists grow up in the deep South with colonial history and political conflicts, express and negotiate the sense of selves through art trainings, creating art works and building their own art spaces in their hometowns. The thesis draws on postcolonial perspectives, namely the notions of hybridity, subaltern and third space to reflect on the way the artists' expressions of selves could be seen as a way to present alternative visions of the deep South that are different from images of violence represented in the mainstream media. Data were collected using in-depth interviews with 6 artists. The study reveals the way in which the artists' identities were significantly shaped during their bachelor's degree programme with Pichet Piaklin at Prince of Songkla University, Pattani Campus and during the master's degree programme by Chalood Nimsamer at Silpakorn University. Both lecturers encouraged the artists to express their local identities through art. Teaching contemporary paintings, Chalood encouraged the artists to express their Melayu-Muslim identities. The sense of selves as male/female Muslims with different gender roles were evident in the early works of the artists. The female artists created works that expressed the ideal of a good Muslim woman. A number of works referred to the role of a mother and spaces for children with the political unrest in the background. The works of male artists emphasized the male work-life including the subject of fishery and images of mosques, houses and families with direct relation to the southern border conflicts. The aspect of hybridity in these artworks was evident through the combination of Western art influences, Thai contemporary arts, local subjects and socio-political conditions. In addition to the focus on the artists' trainings and bodies of works, the thesis also explored the way in which art exhibitions and art spaces could become a place for identity negotiation. One artist in the case study was pressured to alter the title of his work to emphasize that he was both Thai and Melayu-Muslim.This subaltern condition - the way the artist could not keep the original name the work - and the artists' desires to reflect the deep South experiences resulted in the creation of different art spaces in Southern-border provinces. These art spaces hosted regional and international exhibitions, which helped to alter the views of the deep South beyond the conflicts represented in the mainstream Thai media.
dc.format.extentก-ฎ, 177 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92021
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectจิตรกรรมร่วมสมัย
dc.subjectศิลปินมุสลิม -- ไทย
dc.titleการสร้างตัวตนความเป็นศิลปินมลายูมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านจิตรกรรมไทยร่วมสมัยในมุมมองหลังอาณานิคม
dc.title.alternativeThe construction of selves as Melayu-Muslim artists in southern border provinces in Thai contemporary painting through postcolonial perspectives
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/548/5836580.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
thesis.degree.disciplineวัฒนธรรมศึกษา
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files