Molecular epidemiology of high-risk human papillomavirus genotypes in Thai women with abnormal cervical screening cytology
Issued Date
2024
Copyright Date
2019
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xii, 62 leaves : ill
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Clinical Pathology))--Mahidol University, 2019
Suggested Citation
Rujira Yamnuan Molecular epidemiology of high-risk human papillomavirus genotypes in Thai women with abnormal cervical screening cytology. Thesis (M.Sc. (Clinical Pathology))--Mahidol University, 2019. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92150
Title
Molecular epidemiology of high-risk human papillomavirus genotypes in Thai women with abnormal cervical screening cytology
Alternative Title(s)
ระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัสจีโนไทป์ชนิดความเสี่ยงสูงในหญิงไทยที่มีผลการตรวจทางเซลล์วิทยาผิดปกติ
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
Cervical cancer is the second most common type of cancer in Thailand. Human papillomavirus (HPV) infection is the major causal factor in the development of cervical cancer, with high-risk HPV types account for approximately 99.7% of all cervical cancers. This study was designed to investigate the distribution of high-risk HPV genotypes in a group of Thai women diagnosed with abnormal cytology test, which provide an appropriate strategy for the development of HPV vaccination programs in Thailand. Participants of the study were Thai women who underwent cervical cancer screening program at Ramathibodi Hospital, Bangkok and collected the cervical specimens. Liquid-based cytology (LBC) cervical specimens were performed for both liquid-based cytology test and 14 high-risk HPV DNA testing. The high-risk HPV genotype abled samples with 14 types, the overall high-risk HPV prevalence was 41.78%. The most prevalent of high-risk HPV genotypes were HPV 56/59/66 (n=44 22%), followed by HPV 33/58 (n=37 18.5%), HPV 16 (n=35 17.5%), HPV 52 (n=29 14.5%), HPV 35/39/68 (n=18 9%), HPV 51 (n=17 8.5%), HPV 18 (n=7 3.5%), HPV 31 (n=7 3.5%) and HPV 45 (n=6 3%). In addition, the high-risk HPV infection with type 16 was statistically significantly associated with abnormal cytological findings (P-value = 0.033, 95%CI). As for the potential vaccine for the highest prevention was a nine-valent HPV vaccine (9vHPV) against HPV type 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 and 58, which could prevent 110 of 160 (68.75%) women with abnormal cervical cytology in this study. These findings provide essential data for development of HPV prophylactic vaccine in Thailand.
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในประเทศไทย ซึ่งการติดเชื้อฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัสเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยประมาณ 99.7% ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของสายพันธุ์เชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงในกลุ่มหญิงไทยที่มีผลการทดสอบทางเซลล์วิทยาที่ผิดปกติ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นหญิงไทยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและได้ทำการเก็บตัวอย่างที่บริเวณปากมดลูก จากนั้นนำ ไปทดสอบทั้งทางด้านเซลล์วิทยาและทดสอบจีโนไทป์ ของเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ จากตัวอย่างที่สามารถจีโนไทป์เชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ได้ พบว่าความชุกของการติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง คือ 41.78% สายพันธุ์ของเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงที่พบบ่อยที่สุด คือ เชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 56/59/66 (n=44; 22%) ตามด้วยเชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 33/58 (n=37; 18.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 (n=35; 17.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 52 (n=29; 14.5%), เชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 35/39/68 (n=18; 9%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 51 (n=17; 8.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 18 (n=7; 3.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 31 (n=7; 3.5%) และ เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 45 (n=6; 3%) นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงสายพันธุ์ 16 มี ความสัมพันธ์กันกับผลการตรวจทางเซลล์ที่ผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.033, 95%CI) ในการศึกษานี้พบว่าวัคซีนเอชพีวีชนิดไนน์วาเลนท์ (9vHPV) สามารถป้องกันเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ได้ 68.75% จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะช่วยนำไปสู่ การจัดหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการใช้และการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวีในประเทศไทยต่อไป
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในประเทศไทย ซึ่งการติดเชื้อฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัสเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยประมาณ 99.7% ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของสายพันธุ์เชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงในกลุ่มหญิงไทยที่มีผลการทดสอบทางเซลล์วิทยาที่ผิดปกติ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นหญิงไทยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและได้ทำการเก็บตัวอย่างที่บริเวณปากมดลูก จากนั้นนำ ไปทดสอบทั้งทางด้านเซลล์วิทยาและทดสอบจีโนไทป์ ของเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ จากตัวอย่างที่สามารถจีโนไทป์เชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง 14 สายพันธุ์ได้ พบว่าความชุกของการติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูง คือ 41.78% สายพันธุ์ของเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงที่พบบ่อยที่สุด คือ เชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 56/59/66 (n=44; 22%) ตามด้วยเชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 33/58 (n=37; 18.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 (n=35; 17.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 52 (n=29; 14.5%), เชื้อเอชพีวีกลุ่มสายพันธุ์ 35/39/68 (n=18; 9%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 51 (n=17; 8.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 18 (n=7; 3.5%), เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 31 (n=7; 3.5%) และ เชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 45 (n=6; 3%) นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อเอชพีวีชนิดความเสี่ยงสูงสายพันธุ์ 16 มี ความสัมพันธ์กันกับผลการตรวจทางเซลล์ที่ผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.033, 95%CI) ในการศึกษานี้พบว่าวัคซีนเอชพีวีชนิดไนน์วาเลนท์ (9vHPV) สามารถป้องกันเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ได้ 68.75% จากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะช่วยนำไปสู่ การจัดหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการใช้และการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวีในประเทศไทยต่อไป
Description
Clinical Pathology (Mahidol University 2019)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Degree Discipline
Clinical Pathology
Degree Grantor(s)
Mahidol University