การศึกษาปัญหา ความจำเป็นและความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในโรงเรียนไทย
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฒ, 230 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
เจียง, หย่าเวิน การศึกษาปัญหา ความจำเป็นและความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในโรงเรียนไทย. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93532
Title
การศึกษาปัญหา ความจำเป็นและความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในโรงเรียนไทย
Alternative Title(s)
A study of the problems, needs, and wants of Thai language and culture for Chinese volunteer teachers in Thai schools
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา ความจำเป็นและความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในบริบทโรงเรียนไทย การดำเนินการวิจัยใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของ Hutchinson และ Waters (1987) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย ครูอาสาสมัครชาวจีน ครูชาวไทยและนักเรียนชาวไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เครื่องมือทั้งหมดมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach' alpha) เท่ากับ .98 กระบวนการวิจัยทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าและได้รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติขั้นพื้นฐาน (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และใช้ F-test ในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวแปร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งกลับจากครูอาสาสมัครชาวจีน 72 คน ครูชาวไทย 131 คน และนักเรียนชาวไทย 70 คน พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ 1) ครูอาสาสมัครชาวจีนมีปัญหาความจำเป็นและความต้องการในการใช้ภาษาไทยทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีปัญหาในการใช้ประโยคยาวและซับซ้อน ความจำเป็นในการใช้คำศัพท์และประโยคสั้น ๆ ในการสื่อสารกับครูและนักเรียนชาวไทยในเรื่องเนื้อหาในหนังสือเรียน การบริหารห้องเรียน การสอบและประเมินผล การจัดกิจกรรมภาษจีน รวมถึงมีความต้องการใช้ภาษาไทยเพื่ออธิบายวัฒนธรรมจีน 2) ครูอาสาสมัครชาวจีนมีปัญหาและความจำเป็นในการทำความเข้าใจลักษณะการเรียนการสอนของไทยและการใช้ภาษาไทยในการแสดงมารยาท นอกจากนี้ ยังต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในหลากหลายด้าน และ 3) ครูอาสาสมัครชาวจีนมีความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อกาจัดการให้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมีลักษณะที่หลากหลายในด้านครูผู้สอน เนื้อหา และวิธีการจัดการเรียนการสอน
The purposes of the study were to identify the problems, needs, and wants of Thai language and culture for Chinese volunteer teachers in Thai schools. This study used the Needs Analysis Theory of Hutchinson and Waters (1987) and the quantitative method. The samples for the research were Chinese volunteer teachers, Thai teachers, and Thai students. A questionnaire was used to collect quantitative data. Cronbach'salpha coefficient of the instrument was .98 for each questionnaire. The research process was scrutinized by three experts and by the Committee for Research Ethics, Mahidol University. The data was statistically analyzed using descriptive statistics (percentages, mean, standard and deviation). An F-test was conducted to analyze differences between participant groups. The results from the returned questionnaires of 72 Chinese volunteer teachers, 131 Thai teachers, and 70 Thai students revealed the following findings: 1) Chinese volunteer teachers had problems, needs, and wants of 4 communication skills: listening, speaking, reading, and writing. They had some problems with the use of long and complex sentences, using vocabulary and short sentences to communicate with Thai teachers and students about textbook content, classroom management, evaluation, and Chinese activities, as well as some wants of explaining Chinese culture in Thai. 2) Chinese volunteer teachers had a problem and needed to understand Thai teaching and learning styles, polite language, and Thai culture in several aspects. 3) The use of Thai language and culture is useful for Chinese teachers to teach Chinese and intercultural communication in the Thai school context. Moreover, Chinese volunteer teachers proposed that teaching and learning the Thai language should use a variety of instructors, contents, and instructional methods.
The purposes of the study were to identify the problems, needs, and wants of Thai language and culture for Chinese volunteer teachers in Thai schools. This study used the Needs Analysis Theory of Hutchinson and Waters (1987) and the quantitative method. The samples for the research were Chinese volunteer teachers, Thai teachers, and Thai students. A questionnaire was used to collect quantitative data. Cronbach'salpha coefficient of the instrument was .98 for each questionnaire. The research process was scrutinized by three experts and by the Committee for Research Ethics, Mahidol University. The data was statistically analyzed using descriptive statistics (percentages, mean, standard and deviation). An F-test was conducted to analyze differences between participant groups. The results from the returned questionnaires of 72 Chinese volunteer teachers, 131 Thai teachers, and 70 Thai students revealed the following findings: 1) Chinese volunteer teachers had problems, needs, and wants of 4 communication skills: listening, speaking, reading, and writing. They had some problems with the use of long and complex sentences, using vocabulary and short sentences to communicate with Thai teachers and students about textbook content, classroom management, evaluation, and Chinese activities, as well as some wants of explaining Chinese culture in Thai. 2) Chinese volunteer teachers had a problem and needed to understand Thai teaching and learning styles, polite language, and Thai culture in several aspects. 3) The use of Thai language and culture is useful for Chinese teachers to teach Chinese and intercultural communication in the Thai school context. Moreover, Chinese volunteer teachers proposed that teaching and learning the Thai language should use a variety of instructors, contents, and instructional methods.
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล